คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เกษตรกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินใช้เกษตรกรรมภายใน 5 ปี: การพิจารณาการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย
โจทก์ขายที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมให้แก่ พ. ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับโอนมาจากบิดาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มีดังต่อไปนี้...(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เนื้อความในกฎหมายแสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่า การขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากได้ความว่าเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ถือเป็นการขายที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการ แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ขายภายใน 5 ปีหลังได้มา
การขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ดังนั้น เมื่อที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมซึ่งเป็นที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามความใน (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรมและการพิจารณาเพื่อผลกำไรตาม พ.ร.ก.
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 แสดงโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อจำเลยรับว่าที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่ดินที่ใช้ในเกษตรกรรมต้องตามความใน (5) แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยการขายตามหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดและสืบต่อสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม ผลกระทบจากการยับยั้งการบอกเลิกสัญญา และสิทธิของผู้เช่าสืบแทน
เมื่อการเช่านาพิพาทของ ข. ซึ่งเดิมอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาฯ และต่อมาอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 ครั้นเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้บอกเลิกการเช่านาและ คชก. ตำบล ประจำแขวงบางชัน มีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาพิพาทไว้จำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี จึงมีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลา 2 ปี จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของ ข. ผู้เช่านา ย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว ผู้เช่านาไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไป และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2541 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทน ข. ต่อไป โดยในการเช่าสืบแทนผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าที่มีต่อผู้ให้เช่าตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว และจำเลยไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลย พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ คชก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ อีก เมื่อการเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคม 2543 แล้ว จำเลยยังไม่ยอมออกจากที่นาพิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่นาพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องเป็นการใช้ที่ดินเอง ไม่ใช่ขาย หากขายถือว่าไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำนาไปขาย ซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37 (2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินของผู้เช่าทำนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อมีการโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ เมื่อ ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาให้แก่ผู้ร้องสอด (จำเลยที่ 13) ผู้ร้องสอด ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าว คดีถึงที่สุด ดังนั้น คำพิพากษาในคดีดังกล่าวที่วินิจฉัยว่าโจทก์เช่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำนาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดี ดังกล่าวย่อมต้องผูกพันด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา การที่ น. และ ย. โอนขาย ที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาจากเจ้าของเดิมให้แก่ ฉ. และ ธ. ต่อมา ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 13 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 13 ในคดีนี้ขอซื้อที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะผู้เช่าที่นา ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกไม้ยืนต้นไม่เข้าข่ายการเช่าเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ
สภาพของที่ดินพิพาทมีไม้ยืนต้นปลูกอยู่เต็มพื้นที่ ลักษณะของการปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาทเป็นการปลูกไม้ยืนต้นเป็นหลักที่ว่างระหว่างไม้ยืนต้นซึ่งใช้ปลูกพืชสวนครัวเป็นส่วนประกอบไปด้วยตามสภาพของที่ว่าง เช่นนี้ย่อมมิใช่การมุ่งหมายใช้ที่ดินพิพาทปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในการปลูกไม้ยืนต้น มิได้เช่าทำนาหรือปลูกพืชไร่การเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถอ้างการเช่าที่ดินพิพาทซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อต่อสู้คดีว่าการเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดเวลา 6 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองแร่เพื่อเกษตรกรรม แม้เป็นการค้า ศาลยกคำสั่งระงับ
จำเลยรับโอนประทานบัตรจากบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรธรณีให้ทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีเหมืองเรือขุดบริเวณป่าชายเลนที่เกิดเหตุเนื้อที่ 591 ไร่เศษ แต่ต่อมาราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกตกต่ำทำให้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จำเลยจึงขออนุญาตหยุดการทำเหมืองแร่เป็นรายปี ระหว่างการหยุดทำเหมืองจำเลยทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรรวม 11 บ่อ เนื้อที่100 ไร่เศษ การที่ทรัพยากรธรณีจังหวัดที่เกิดเหตุมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้พื้นที่ประทานบัตรเพื่อเลี้ยงกุ้ง และให้ถมหรือทำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปในสภาพเดิมภายใน 10 วัน และจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม แต่พื้นที่ที่จำเลยใช้เลี้ยงกุ้งในเขตประทานบัตรดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดการทำเหมืองได้จริง และการเลี้ยงกุ้งหรือทำนากุ้งของจำเลยในพื้นที่ประทานบัตรที่เกิดเหตุเป็นการกระทำเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 73 (3)แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้กระทำในเชิงพาณิชย์ไว้ ทั้งมิได้กำหนดไว้ว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ทำเพื่อเกษตรกรรมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่จำเลยจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการเกษตรกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม คำสั่งของทรัพยากรธรณีจังหวัดที่ให้จำเลยระงับใช้พื้นที่ประทานบัตรทำนากุ้ง และให้ทำที่ดินให้เหมือนสภาพเดิมภายใน 90 วัน จึงเป็นการมิชอบ แม้จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้พื้นที่ประทานบัตรทำเกษตรกรรม แม้ในเชิงพาณิชย์ หากเป็นพื้นที่แร่ไม่สมบูรณ์ คำสั่งระงับจึงมิชอบ
จำเลยรับโอนประทานบัตรจากบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรธรณีให้ทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีเหมืองเรือขุดบริเวณป่าชายเลนที่เกิดเหตุเนื้อที่591 ไร่เศษ แต่ต่อมาราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกตกต่ำทำให้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จำเลยจึงขออนุญาตหยุดการทำเหมืองแร่เป็นรายปี ระหว่างการหยุดทำเหมืองจำเลยทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรรวม 11 บ่อ เนื้อที่ 100 ไร่เศษ การที่ทรัพยากรธรณีจังหวัดที่เกิดเหตุมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้พื้นที่ประทานบัตรเพื่อเลี้ยงกุ้ง และให้ถมหรือทำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปในสภาพเดิมภายใน 10 วันและจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม แต่พื้นที่ที่จำเลยใช้เลี้ยงกุ้งในเขตประทานบัตรดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดการทำเหมืองได้จริง และการเลี้ยงกุ้งหรือทำนากุ้งของจำเลยในพื้นที่ประทานบัตรที่เกิดเหตุเป็นการกระทำเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73(3) แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้กระทำในเชิงพาณิชย์ไว้ทั้งมิได้กำหนดไว้ว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ทำเพื่อเกษตรกรรมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่จำเลยจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการเกษตรกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม คำสั่งของทรัพยากรธรณีจังหวัดที่ให้จำเลยระงับใช้พื้นที่ประทานบัตรทำนากุ้ง และให้ทำที่ดิน ให้เหมือนสภาพเดิมภายใน 90 วัน จึงเป็นการมิชอบแม้จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติ คชก.จังหวัด กรณีไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์สิทธิซื้อที่ดิน สิทธิซื้อที่ดินยังไม่สิ้นสุด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 5175 ที่ พ. ซื้อจาก ส. ค.ช.ก.จังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2532 ว่า ผู้เช่าใช้สิทธิซื้อนาเป็นเวลาล่วงเลยมา 4 ปีเศษ นับแต่วันโอน จึงหมดสิทธิซื้อนา คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดแล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5843 ที่ พ.ซื้อจาก บ. มีคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อมาภายในกำหนดเวลา 3 ปี จึงหมดสิทธิซื้อนา โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดและคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองหมดสิทธิซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลง นั้นอีกต่อไป
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก.จังหวัดส่วนนี้เป็นโมฆะ โดยอ้างว่า พ.มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และ ช.ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล.บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และ ช.มาแล้ว กรณีจึงฟังได้ว่า ส.และ ช.ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช. การที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.จึงเป็นการไม่ชอบ และยังไม่เป็นที่สุด การที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และ ช.ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
of 8