พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักร จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือและสอดคล้องกัน
แม้ผู้คัดค้านจะไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าผู้ร้องมิได้มีสัญชาติไทยแต่ภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ย่อมตกแก่ผู้ร้องที่ต้องนำสืบให้ศาลเชื่อได้ว่าผู้ร้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดในประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าสูติบัตรที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องมิได้อยู่ที่ผู้ร้อง แต่เป็นเอกสารที่นายทะเบียนท้องถิ่นรับรองสำเนาถูกต้องเนื่องจากผู้ร้องไปขอคัดมา แสดงว่าพยานหลักฐานดังกล่าวผู้ร้องมาแสวงหาจากในประเทศไทยเท่านั้น ผู้ร้องไม่ได้แสดงสำเนาทะเบียนบ้านที่อ้างว่าได้ไปค้นแต่ไม่พบซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงไม่พบสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าว และผู้ร้องไม่ได้แสดงเอกสารหลักฐานที่แสดงการเรียนในโรงเรียนหลายแห่งที่อ้างถึง ส่วนภาพถ่ายที่อ้างว่าถ่ายเมื่ออายุ 13 ปีนั้น ก็ไม่มีการนำสืบทางนิติเวชให้น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลเดียวกัน พยานของผู้ร้องคงมีแต่พยานบุคคลทั้งสิ้น ซึ่งต่างไม่ได้พบผู้ร้องมาเป็นเวลานานและเบิกความถึงข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่แตกต่างกันและขัดกันหลายประเด็น ดังนั้นพยานหลักฐานของผู้ร้องจึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เกิดในประเทศ ผู้ร้องจึงไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย และการโต้แย้งสิทธิในสัญชาติจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ
นาง ป. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3และนาง ป. เป็นบุตรคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง นาง ป.จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337เมื่อนาง ป. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับนาย ก.คนญวนอพยพโดยไม่จดทะเบียนสมรส โจทก์ทั้งสามจึงมีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามเกิดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีย่อมได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) บุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 นั้น จะต้องปรากฏว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนาง ป.มารดาของโจทก์ทั้งสามไม่ใช่คนต่างด้าว และนาย ก. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 อันจะเป็นผลให้โจทก์ทั้งสามถูกถอนสัญชาติไทยโจทก์ทั้งสามจึงยังคงมีสัญชาติไทย.
เมื่อ พ.ศ. 2522 มารดาโจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสามออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเช่นนี้ แม้จำเลยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ากิจการคนญวนอพยพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 ตลอดมาถึงวันฟ้องก็ตาม ตราบใดที่โจทก์ทั้งสามมีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพได้ให้จำเลยถอนชื่อออกแต่จำเลยไม่จัดการให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามถูกโต้แย้งสิทธิตลอดมา จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักงานกิจการคนญวนอพยพ จังหวัดอุบลราชธานี.
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(1) ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่นั้น อยู่ในดุลพินิจว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน.
เมื่อ พ.ศ. 2522 มารดาโจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสามออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเช่นนี้ แม้จำเลยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ากิจการคนญวนอพยพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 ตลอดมาถึงวันฟ้องก็ตาม ตราบใดที่โจทก์ทั้งสามมีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพได้ให้จำเลยถอนชื่อออกแต่จำเลยไม่จัดการให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามถูกโต้แย้งสิทธิตลอดมา จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักงานกิจการคนญวนอพยพ จังหวัดอุบลราชธานี.
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(1) ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่นั้น อยู่ในดุลพินิจว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย: การผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา
คดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องในข้อหาคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยไม่รับอนุญาต ได้ถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้กำเนิดในราชอาณาจักรไทย โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทย เช่นนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่สั่งเพิกถอนสัญชาติไทยของโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่มิชอบ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักร: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายคนต่างด้าวหลังมี พ.ร.บ.สัญชาติใหม่
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่บิดาเป็นคนต่างด้าวแม้จะได้ขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วก็ตามก็ยังคงเป็นคนไทยอยู่ ตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา7 จนถึงวันใช้ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2496 บังคับ ฉะนั้นคนเช่นว่านี้แม้จะขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในระหว่างเวลาก่อนใช้ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2496 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2495 มาตรา4