คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เกินกำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการฟ้องคดีเกินกำหนดตามวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้นๆ ได้ และมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักถามพยานโจทก์ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อไป
การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนจำเลยแล้วได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันในวันเดียวกันไปจนถึงวันฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวแล้วตามป.อ. มาตรา 136 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 และมาตรา 9 พนักงานอัยการโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดสี่สิบแปดชั่วโมง หรือต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องครั้งแรกภายในสี่สิบแปดชั่วโมง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเกินกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำให้คำสั่งนั้นไม่มีผลบังคับ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวนและมีคำสั่ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง หากมีกรณีจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งในกำหนดเวลาได้ก็ให้ขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย จำเลยเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องของ ส. กับพวกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2544 แต่มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2544 ซึ่งเกินกว่า 60 วันโดยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาตามกฎหมายคำสั่งของจำเลยจึง ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเพราะเกินกำหนด & ศาลชั้นต้นรับฎีกาไม่ชอบ พฤติการณ์ใช้เอกสารปลอมเป็นกรรมเดียว
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นนายหนึ่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในวันสุดท้ายที่อยู่ในระยะเวลาซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลายื่นฎีกาได้ แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีกนายหนึ่งและองค์คณะในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกครั้งหนึ่งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้แล้ว คำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปี และผลกระทบต่ออายุความ การฟ้องล้มละลายไม่สะดุดอายุความ
การใช้วิธีการยึดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามการประเมิน จำเลยที่ 1 มีอำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1ยึดทรัพย์สินโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วจึงหมดสิทธิจะใช้วิธีการนี้กับโจทก์
ก่อนที่จะพ้น 10 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 นั้น ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) เนื่องจากกำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์/ฎีกาเกินกำหนด: ศาลฎีกายกอุทธรณ์/ฎีกาที่ยื่นหลังหมดอายุความ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตขยายเวลา
ศาลฎีกายกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 5 ฉบับลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ของจำเลยที่ 1 จึงมี ผลเท่ากับว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 และ ศาลชั้นต้นสั่งรับมานั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดอายุอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนด และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งศาล
ศาลได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่ากรรมการของจำเลยเพิ่งพบคำบังคับเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2541จึงทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องจึงเป็นกรณีที่จำเลยอ้างว่าจำเลย ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้โดยพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ ดังนี้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง คือภายในวันที่ 24 มกราคม 2541 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 29 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับ ได้สิ้นสุดลงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ ขอให้พิจารณาใหม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับแรกโดยวินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดจำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันถึงที่สุด แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิ ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้อีกภายในกำหนด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยหาได้กระทำ การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับที่สอง ขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งนี้ก็มิใช่เป็นคำร้องขอ แก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเดือนปีที่จำเลยทราบคำบังคับ ตามที่บรรยายมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรก หรือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในครั้งแรก เพราะเป็นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่จำเลยยื่นภายหลัง จากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องให้ขอให้พิจารณาใหม่ ของจำเลยในครั้งแรกแล้ว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนดเวลา และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยศาลชั้นต้นส่ง คำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2540 โดยวิธีปิดคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับจึงเริ่มมีผลใช้ได้ในวันที่ 5 มกราคม 2541 หากจำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 กล่าวคือ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่จะยื่นได้คือวันที่ 20 มกราคม 2541 จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว ทั้งในคำขอมิได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้ไม่อาจยื่นคำขอได้ภายในกำหนด กลับกล่าวอ้างถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าจะมาศาลวันไหน ไม่ทราบว่าจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่ในวันที่ศาลนัดพิจารณา เนื่องจากทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่อาจแสดงว่าจำเลย มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิใช่เหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่ง ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเสียโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เกินกำหนด & คำสั่งยืนยันเดิม - ไม่อุทธรณ์ได้
การอุทธรณ์นั้นต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดเวลาดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้กลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในครั้งหลัง เมื่อคำสั่งในครั้งหลังเพียงแต่ยืนยันว่าคำสั่งเดิมชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นการยืนยันตามคำสั่งเดิม เมื่อคำสั่งเดิมจำเลยไม่อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนได้ เพราะเหตุอื่นเกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่โต้เถียงคำสั่งในครั้งหลัง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานเกินกำหนด ทำให้ต้องจ่ายค่าชดเชย แม้แจ้งล่วงหน้า
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 180 วัน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะผลของการ ทดลองงาน ไม่เป็นที่พอใจจำเลย โดยให้การเลิกจ้างมีผลเมื่อพ้นกำหนดเวลาทดลอง ปฏิบัติงาน 180 วันไป 2 วัน แม้จะเพื่อประโยชน์หรือให้เป็นผลดีแก่ลูกจ้าง เพียงใดก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาทดลอง ปฏิบัติงาน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้ายแต่เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลของการทดลองงานไม่เป็นที่พอใจ และจำเลยได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาทดลองงานโดยได้แจ้ง เป็นหนังสือให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว แม้จะให้มีผลเลิกจ้างเมื่อพ้น กำหนดระยะเวลาทดลองงานไปแล้ว ก็ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จำเลยจึงไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ที่เกินกำหนดระยะเวลาและทราบถึงการบังคับคดี
เมื่อศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาภายใน 30 วัน และได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาลเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2521 หลังจากครบกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์ได้ดำเนินการขอให้ศาลบังคับคดีขับไล่บริวารจำเลยออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดมา และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2526 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยมาเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งให้หมายเรียกจำเลยมาสอบถามในวันที่ 27 ธันวาคม 2526 จำเลยรับหมายเรียกวันที่ 11 ธันวาคม 2527 ถึงวันนัดสอบถามจำเลยก็แถลงว่า ยังอยู่ในที่พิพาท และขอเวลาขนย้ายทรัพย์สินออกไปภายใน 2 เดือน การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทและแถลงยินยอมออกไปจากที่พิพาท แสดงว่า จำเลยได้ทราบถึงการถูกฟ้อง การส่งคำบังคับและการบังคับตามคำพิพากษาที่กระทำกันมาแต่ต้นเป็นอย่างดีแล้ว จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 11 มกราคม 2526จึงเป็นการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ทั้งยังพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่มีการบังคับตามคำพิพากษา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
of 3