คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เกียรติศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมทำร้ายเกียรติศักดิ์ การกระทำต้องร้ายแรงถึงขนาดเป็นเหตุให้หย่าได้
การที่จำเลยได้เข้ามาที่บริษัทซึ่งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและกรรมการบริษัทและพูดกับพนักงานหญิงของบริษัทว่า "พวกนางดอกทอง ระวังตัวอย่ามาแย่งผัว" และเรียกพนักงานชายมาต่อว่าว่า "ระวังเมียเจ้าให้ดี อย่าให้มายุ่งกับผัวข้า" นั้นจำเลยกระทำไปด้วยอารมณ์หึงหวงเพื่อเป็นการป้องกันมิให้โจทก์กับพนักงานหญิงของบริษัทมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน อันจะเป็นสาเหตุทำให้โจทก์ละทิ้งจำเลยและบุตรของจำเลยหลายคนอันเกิดแต่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติชั่วอันทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือได้รับความดูถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์หน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า "พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติชั่วเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น. ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ ครั้นเมื่อ น. ไม่มีสุราต่างประเทศตามต้องการโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาทจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับว่าด้วยวินัยฯ ของจำเลย ข้อ 4.13 ที่กำหนดว่า"พนักงานต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้หมกมุ่น ในการพนันกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ของตน" ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออก โดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583.