คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เกี่ยวข้องกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีแพ่ง: การคำนวณจากมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องกัน และการคิดค่าขึ้นศาลสูงสุด
การคำนวณค่าขึ้นศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ และในคดีที่คำฟ้องมีหลายข้อหา หากทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ตามมูลหนี้เบิกเงินเกินบัญชี กู้เงิน และขายลดตั๋วเงินรวมเป็นเงิน 30,490,930.10 บาท แม้แยกได้หลายข้อหา แต่หนี้ทั้งหมดจำเลยที่ 2 ได้นำห้องชุดจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน และจำเลยที่ 3 กับที่ 4 ได้ผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกัน มิได้แบ่งแยกเพื่อการประกันหนี้ประเภทใดรายการใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงมีความเกี่ยวข้องกัน การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)(ก) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นในฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกัน แม้จะมีการชำระเงินเกิน ก็ไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสร้อยเพชรและแหวนเพชร เป็นเงิน 86,181 บาท จำเลยให้การว่าการรับซื้อแหวนเพชรเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ ว. และหนี้ตามฟ้อง สามีโจทก์และโจทก์เรียกเก็บไปจากจำเลยแล้วโดยจำเลยชำระเป็นเช็คของผู้อื่นรวม 3 ฉบับ เป็นเงิน 126,000 บาท จึงฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินที่จำเลยชำระเกินไป 102,443 บาทฟ้องแย้งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นในคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าล. โอนขายตึกแถวที่เช่าให้โจทก์โดยตกลงกันว่าโจทก์จะจ่ายค่าขนย้ายให้แก่จำเลยผู้เช่า ต่อมาโจทก์ไม่ยอมจ่ายค่าขนย้าย จำเลยจึงยังคงมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินค่าขนย้ายให้แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นคงมีเพียงว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่จำเลยอ้างในฟ้องแย้งว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าขนย้ายจากโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นคนละประเด็นต่างออกไปจากคำฟ้อง ฉะนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์-ศาลแพ่งเกินอำนาจ: การพิจารณาคดีอาญา-แพ่งที่เกี่ยวข้องกัน
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้ว ลำพังเพียงการที่จำเลยแจ้งโจทก์ว่าไม่มีรางวัลของจำเลยตามใบรับรองการถูกรางวัลและไม่มีหลักฐานการดำเนินการทางกฎหมายของจำเลยแก่บริษัทต่างประเทศชื่อ E ทำให้โจทก์ไม่ได้รับเงินรางวัล ก็ยังไม่อาจสรุปข้อเท็จจริงจากคำบรรยายฟ้องได้ว่า จำเลยมีพฤติการณ์ใด ๆ อันแสดงถึงการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยจำเลยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการออกใบรับรองการถูกรางวัลที่บริษัท E ส่งมาให้แก่โจทก์อย่างไร และการกระทำของจำเลยประการใดที่ทำให้จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์ หรือทำให้โจทก์ต้องทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธินั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในกรณีศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่รับฟ้องคดีส่วนอาญาไว้พิจารณาหรือพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา การพิจารณาว่าศาลนั้นมีอำนาจรับฟ้องคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 2 (1) ว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินรางวัล 18,117,213.87 บาท พร้อมดอกเบี้ย 90,586.06 บาท ซึ่งเกินกว่าอำนาจที่ผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณาพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท เท่ากับเป็นการใช้อำนาจวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีในทางเนื้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) และทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนนี้ไม่ชอบไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40