พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7606/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม จึงจะรวมพิจารณาได้ หากเป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก ศาลจะไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องเดิมของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัท ว. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อจำเลยทั้งสามตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัท ว. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 อ้างว่าบริษัท ว. ได้ตกลงร่วมลงทุนให้การสนับสนุนโครงการของจำเลยที่ 1 โดยปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 275,000,000 บาท ตกลงให้จำเลยที่ 1 รับเงินสินเชื่อเป็นคราว ๆ แล้วบริษัท ว. ผิดข้อตกลงมิได้จ่ายสินเชื่อเงินลงทุน 30,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จและส่งมอบบ้านพร้อมที่ดินให้ลูกค้าได้ ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์และบริษัท ว. ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 กรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์และข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์โดยตรง เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องไปว่ากล่าวแก่บริษัท ว. ต่างหาก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์มรดกที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับพิจารณา แม้จะไม่ได้ฟ้องมาพร้อมกัน
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของ ท. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 1 และ ส. ผู้วายชนม์ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินดังกล่าวร่วมกัน ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งปันที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 มิได้มีสิทธิทางแพ่งโต้แย้งกับโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งในส่วนนี้ การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ทางพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งย่อมเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและฟ้องแย้งย่อมมีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอันเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย นอกจากจำเลยจะไม่ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทแล้ว จำเลยยังมีสิทธิห้ามโจทก์เกี่ยวข้องและใช้ทางพิพาทได้ด้วย ส่วนข้ออ้างของจำเลยจะรับฟังได้หรือไม่ และจำเลยจะเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้หรือไม่ เพียงใดนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาฟ้องแย้งเช่นนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมและมิได้มีเงื่อนไขเลยว่าจะถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อจำเลยต้องแพ้คดีตามคำฟ้องเสียก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องใช้เอกสารปลอม อายุความ 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นว่าเป็นการกระทำที่ เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลย ในทางแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายอันเนื่องมาจาก จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมก็โดยอาศัยเหตุจากที่โจทก์ เคยแจ้งความร้องทุกข์ให้อัยการศาลมณฑลทหารบกฟ้องจำเลย คดีก่อนในทางอาญาเรื่องจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว ซึ่งศาลมณฑลทหารบกพิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่า จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยใช้เอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ก่อนที่ โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(มาตรา 168 เดิม) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสามคดีอาญาก่อนถึงที่สุดวันที่ 28 เมษายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2538 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์ ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องเอกสารปลอม อายุความ 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นเองว่าเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยในทางแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายอันเนื่องมาจากจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ก็โดยอาศัยเหตุจากที่โจทก์เคยแจ้งความร้องทุกข์ให้อัยการศาลทหารฟ้องจำเลยคดีก่อนในทางอาญาเรื่องจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทกคดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่าจำเลยใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยก่อนที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(มาตรา 168 เดิม) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสามคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 28 เมษายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2538ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องโจทก์เรียกร้องหนี้เงินอันเกิดจากการที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วหักชำระหนี้กัน ส่วนจำเลยให้การ ต่อสู้ในชั้นแรกอ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ แต่ต่อมา กลับฟ้องแย้งว่า หากจะฟังว่าจำเลยต้องรับผิด โจทก์ทำให้จำเลย เสียหายขอให้โจทก์ชดใช้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไขและ ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไป ด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย ชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องละเมิดต่างหาก ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า สัญญาเช่าเลิกกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่อยู่ในห้องเช่าพิพาทอีกต่อไป ดังนี้การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์จงใจหรือกลั่นแกล้งจำเลยให้ได้รับความเดือดร้อน โดยไม่ให้ความร่วมมือเซ็นเอกสารต่างๆที่จำเลยต้องนำไปใช้ในการจดทะเบียนประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยินยอมมอบตราประทับสำหรับจอดรถฟรีของลูกค้าให้แก่จำเลย ทำให้ได้รับความเสียหาย อันเป็นเรื่องละเมิด ทั้งข้ออ้างของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าประการใด จึงไม่เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม: การซื้อขายที่ดินพิพาทและข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินซึ่งจำเลยซื้อจากโจทก์กับค่าเสารั้วซึ่งจำเลยให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยให้การว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายเนื่องจากโจทก์หลอกลวงว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ต่อมาเมื่อจำเลยทราบว่าเป็นของ อ.และอ. จะดำเนินคดีแก่โจทก์ โจทก์จำเลยและ อ.จึงตกลงให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินแก่อ.ทั้งโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ อ. อีก 50,000 บาทจึงขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแทนไปก่อน จำเลยไม่มีความผูกพันกับโจทก์อีกต่อไป ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชำระเงิน 50,000 บาทแก่จำเลย แม้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการเรียกร้องให้โจทก์คืนเงินซึ่งจำเลยชำระให้แก่ อ. แทนโจทก์เนื่องจากการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทก็เป็นประเด็นสืบเนื่องมาจากการซื้อขายที่ดินรายเดียวกัน จึงมีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเป็นประเด็นสืบเนื่องจากคำฟ้องเดิม จึงชอบพิจารณารวมกันได้
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินซึ่งจำเลยซื้อจากโจทก์กับค่าเสารั้วซึ่งจำเลยให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยให้การว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายเนื่องจากโจทก์หลอกลวงว่าเป็นเจ้าของที่ดินต่อมาเมื่อจำเลยทราบว่าเป็นของอ. และอ. จะดำเนินคดีแก่โจทก์โจทก์จำเลยและอ. จึงตกลงให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินแก่อ.ทั้งโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่อ. อีก50,000บาทจึงขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแทนไปก่อนจำเลยไม่มีความผูกพันกับโจทก์อีกต่อไปขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชำระเงิน50,000บาทแก่จำเลยแม้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการเรียกร้องให้โจทก์คืนเงินซึ่งจำเลยชำระให้แก่อ. แทนโจทก์เนื่องจากการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทก็เป็นประเด็นสืบเนื่องมาจากการซื้อขายที่ดินรายเดียวกันจึงมีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีมรดก: ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายนำที่ดิน 6 แปลง อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรม ส่วนจำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรื้อถอนกำแพงและยุ้งข้าวออกไปจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นของจำเลยที่ได้รับการยกให้มาจากผู้ตายก่อนแล้ว กับขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยดำเนินการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยบางส่วนตามที่โจทก์ทั้งสองได้ตกลงกับจำเลยไว้ก่อนว่าจะร่วมเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ให้แก่จำเลยในภายหลัง ดังนี้ ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสิทธิการเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองรับผิดต่อจำเลยเป็นการส่วนตัวทั้งสิ้นจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่ศาลจะรับฟ้องแย้งของจำเลยได้