คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เก็บรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลรถหายเพื่อเก็บรักษา ไม่ถือเป็นความผิดแจ้งความเท็จ
รถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบได้หายไป จำเลยจึงไปแจ้งต่อพันตำรวจโท ม.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่จำเลยไปพบรถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจนำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย โดยจำเลยไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องสืบให้ได้แน่ชัดก่อนแล้วจึงจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีภายหลัง เมื่อข้อความที่จำเลยแจ้งแก่พันตำรวจโท ม.เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจำเลยมิได้แจ้งว่ารถยนต์หายไป ไม่ว่าจะเป็นการโดยการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์อย่างใด และไม่ปรากฏข้อความที่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด แม้โจทก์ร่วมจะได้แนะนำให้จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีเพราะเหตุมีการกระทำความผิดแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยที่ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้นำรถมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดของกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากระยะเวลาเก็บรักษาที่นานเกินความจำเป็น
การที่จำเลยที่ 1 ได้ขายทอดตลาดแผงวงจรโทรทัศน์สินค้าของกลางที่ยึดไว้โดยอ้างว่าถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย แต่เมื่อปรากฏว่าได้มีการยึดสินค้าของกลางเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2524 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าของกลางให้โจทก์โดยได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2527 และได้มีการขายทอดตลาดสินค้าของกลางเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม 2528 จำเลยที่ 1 เก็บรักษาไว้เป็นเวลาเกือบ 4 ปี ทั้งไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานว่าจะทำให้สินค้าเป็นสนิมหรือเสื่อมสภาพแต่อย่างใด ถึงแม้จะหน่วงช้าไว้อีกก็ไม่เป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย การขายสินค้าของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 25 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต้องคืนหรือใช้ราคาสินค้าของกลางตามที่เป็นจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีนอกสถานที่ประกอบธุรกิจ และการอ้างเหตุสุดวิสัยเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์เก็บเอกสารหลักฐานบัญชีของโจทก์ไว้ที่อื่น ซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจการค้าของโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 13 โจทก์จะยกเอาเหตุบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย อันเกิดจากการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อกฎหมายของโจทก์มาอ้างเป็นเหตุสุดวิสัย เพื่อมิให้เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 71(1) หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารทางภาษี การประเมินภาษีเมื่อเอกสารสูญหาย
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น ถ้าจะเก็บรักษา ณสถานที่อื่น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษ การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกไม่ได้
แม้โจทก์จะจัดส่งเอกสารบางส่วนให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียก แต่เมื่อเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1)แห่งประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดเมื่อส่งมอบสินค้าให้ท่าเรือปลายทาง และความรับผิดชอบของท่าเรือในการเก็บรักษา
สินค้าตาม ฟ้องมิได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย แต่ หายไปในระหว่างที่เก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย หลังจากที่ผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางและรับใบสั่งปล่อยสินค้าจากจำเลย อันถือ ได้ ว่าจำเลยได้ จัดส่งสินค้าถึง การท่าเรือปลายทาง และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ รับมอบสินค้าไว้จากจำเลยครบถ้วนตาม ระเบียบและการปฏิบัติในการรับสินค้าแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าของจำเลยย่อมสิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อ โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าสินค้าได้ ขาดหายไปในระหว่างการขนส่งที่จำเลยเป็นผู้รับขนจำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหายไปในระหว่างขนส่งของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "จำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจากประเทศ สิงคโปร์ มาประเทศ ไทย ซึ่ง จะต้อง รับผิดต่อ โจทก์ตาม ฟ้องเพียงใดหรือไม่"ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตาม ฟ้องได้ ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นั้น จึงเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตาม ข้อต่อสู้ของจำเลยนั้นเองหาเป็นการนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่พัสดุ: การเก็บรักษาพัสดุที่ปลอดภัยและแจ้งตรวจรับ
จำเลยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ กองคลังของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานพัสดุ จำเลยได้รับพัสดุเครื่องมือแพทย์จำนวน 7 หีบห่อมาเก็บรักษาแต่ห้องเก็บพัสดุของโจทก์มีของเก็บอยู่เต็ม จำเลยจึงนำพัสดุดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่ห้องพัสดุของอีกกองหนึ่งโดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งห้องเก็บพัสดุดังกล่าวอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องไม่มีหน้าต่าง มีประตู 2 ประตู ประตูหนึ่งใส่กลอนไว้อีกประตูหนึ่งมีกุญแจลูกบิด มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจ ชั้นบนของห้องดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ การนำพัสดุไปฝากเก็บที่กองอื่นก็ไม่มีระเบียบให้ต้องขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว แม้จำเลยจะมิได้จัดเวรยามเฝ้าก็ปรากฏว่าหลังเลิกงานมีเวรยามของกรมดูแลอยู่แล้ว และการที่จำเลยจัดให้คณะกรรมการตรวจรับหลังจากรับของประมาณ 10 วัน เนื่องจากต้องตรวจสอบและแปลเอกสารก็มิได้เนิ่นนานเกินสมควร การที่พัสดุดังกล่าวหายไปบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังเงินประกันตัว: เจตนาทุจริตและหน้าที่เก็บรักษาเงิน
เมื่อสารวัตรใหญ่ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยได้สั่งให้จำเลยทำหน้าที่เก็บรักษาเงินประกันตัวผู้ต้องหาของสถานีตำรวจ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปฏิบัติราชการในการเก็บรักษาเงินดังกล่าวตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาแล้ว
การที่จำเลยนำเงินของทางราชการไปฝากผู้อื่นไว้ มิได้นำมาเก็บไว้ในตู้นิรภัยของทางราชการ หรือหากไม่มีตู้นิรภัยของทางราชการ ควรจะเก็บเงินนั้นอย่างใด จำเลยก็จะต้องขอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาคือสารวัตรใหญ่ เสียก่อน แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลย มีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินจำนวนนั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์ - ความรับผิดของผู้รับฝาก - การใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาสินค้า - ความเสียหายจากอุณหภูมิไม่เหมาะสม
จำเลยรับเก็บรักษาลำใยในห้องเย็นของจำเลย จำเลยเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าทางห้องเย็น ต้องใช้ความระวังและฝีมืออันเป็นธรรมดาและสมควรในกิจการห้องเย็น จำเลยใช้ความเย็นไม่พอ ลำใยของโจทก์เน่าเสีย จำเลยต้องใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความลักษณะสินค้าบรรจุหีบห่อเพื่อเสียภาษีการค้า กรณีลูกกวาดบรรจุปีบเพื่อการเก็บรักษา
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ทนายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการจำหน่ายสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาดซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบเพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีบมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึกสินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ 0.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก' ในการจัดเก็บภาษีการค้า สินค้าที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไม่ใช่สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราพิเศษ
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21)พ.ศ.2509 หมายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการนำสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาด ซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบ.เพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึก สินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกตามบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ1.5ของรายรับ
of 3