พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: สถานที่ส่งมอบสินค้าเป็นสถานที่เกิดมูลคดี โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลในเขตพื้นที่นั้นได้
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์กับจำเลยที่บริษัทจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครโดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปส่งมอบและติดตั้งให้แก่โจทก์ ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตามคุณสมบัติที่ตกลงกัน โจทก์จึงจะชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อกำหนดในสัญญาไปส่งมอบและติดตั้งอันเป็นการผิดสัญญา ก็เท่ากับมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการส่งมอบและติดตั้ง จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องมีการส่งมอบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและจำนวนที่กฎหมายกำหนด โดยเขตพื้นที่ต้องสอดคล้องกับหน่วยงานหรือสาขา
คำว่า "สถานประกอบกิจการ" ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกหลังมีผลบังคับใช้ของกฎหมายไม่ผูกพันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการจังหวัดจำกัดเฉพาะการควบคุมสัตว์ในเขตพื้นที่เดิม การออกคำสั่งห้ามนำสัตว์ออกนอกเขตเป็นอำนาจอื่น
คณะกรรมการจังหวัดไม่มีอำนาจออกประกาศห้ามนำสัตว์ออกนอกเขตต์ท้องที่อำเภอ เพราะการห้ามเช่นนี้ เป็นอำนาจตามมาตรา 4 ข้อ 6 คำสั่งเช่นนี้ถือว่าไม่ชอบด้วย ก.ม. ผู้ฝ่าฝืนไม่มีความความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนนอกเขตพื้นที่: เจ้าพนักงานมีอำนาจสอบสวนคดีได้ทุกที่ทุกเวลาตามสมควร
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนจะทำการสอบสวน ณ ที่ใดเวลาใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร แม้จะต่างจังหวัดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกินราคา: ข้อจำกัดของผู้ขายและการตีความเขตพื้นที่
ผู้ใดจำหน่ายยาสูบในเขตต์จำหน่ายยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิด
ผู้จำหน่ายยาสูบเกินราคาที่อธิบดีสรรพสามิตต์กำหนดไม่ว่าในเขตต์หรือนอกเขตต์จำหน่ายยาสูบมีความผิด แต่มีผิดฉะเพาะผู้ขายเป็นการค้า
ฟ้องว่าจำหน่ายยาสูบในเขตต์จำหน่ายยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาต+ประกาศกำหนดเขตต์ยาสูบผิดไป ไม่เป็นเหตุยกฟ้อง
ผู้จำหน่ายยาสูบเกินราคาที่อธิบดีสรรพสามิตต์กำหนดไม่ว่าในเขตต์หรือนอกเขตต์จำหน่ายยาสูบมีความผิด แต่มีผิดฉะเพาะผู้ขายเป็นการค้า
ฟ้องว่าจำหน่ายยาสูบในเขตต์จำหน่ายยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาต+ประกาศกำหนดเขตต์ยาสูบผิดไป ไม่เป็นเหตุยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องมือจับปลาที่ขัดต่อประกาศสมุหเทศาภิบาลและการบังคับใช้ในเขตพื้นที่
ประกาศสมุหเทศาภิบาลลงวันที่ 1 พฤศจิกายนพ.ศ.2469 ใช้เครื่องมือที่ต้องห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลจับปลาในเขตต์ที่กำหนดไว้มีความผิดตาม พ.ร.บ.อากรค่าน้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจกำนันและความผิดฐานฉ้อโกง: การกระทำผิดนอกเขตพื้นที่กำกับดูแล
เจ้าพนักงานตำบลหนึ่งไปทำผิดในตำบลอื่น ไม่เข้ามาตรานี้ พ.ร.บ. ปกครองท้องที่กำนันตำบลหนึ่งไปขู่เอาเงินเขาอีกตำบลหนึ่ง ไม่เรียกว่าเปนเจ้าพนักงานกระทำผิด วิธีพิจารณาอาชญา โจทก์อ้าง ม.304 มาในฟ้องแต่ไม่เถียงชั้นฎีกา ศาลไม่วินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8249/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้เป็นไม้ที่ชาวบ้านปลูกเอง ก็ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
ป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกำหนดตามเขตพื้นที่ และไม้ก็หมายถึงไม้ทุกชนิดในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น โดยไม่ได้จำแนกว่าเป็นไม้ที่เกิดขึ้นเองหรือมีคนปลูกขึ้นมา และการกระทำของจำเลยทั้งสองที่ตัดไม้ยูคาลิปตัสที่ชาวบ้านปลูกเองเป็นความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 เพียงตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน หรือขุดไม้ที่อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ ถือว่าเข้าลักษณะ "ทำไม้" ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4 แล้ว และการที่จำเลยทั้งสองตัดไม้ถึง 35 ท่อน แสดงถึงการตัดไม้จำนวนหลายต้น ดังนั้น ไม่ว่าจะอ้างเช่นใด ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการกระทำนี้ไม่มีผลให้เป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ