คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เข้าครอบครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองต้องมีการเข้าครอบครองจริง การขอออกน.ส.3ก.ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
ผู้แย่งการครอบครองจะต้องเข้าไปครอบครองที่ดินด้วยตนเองหรือโดยผู้แทนศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเพียงว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์2531 ก. ไปบอกโจทก์ว่าได้ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่พอจะนำมาวินิจฉัยว่า ก.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เวลาดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ทราบว่า ก. ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ได้ทราบว่า ก. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2531แล้วโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินกว่าหนึ่งปีขาดสิทธิฟ้องเอาคืนเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเมื่อ ก. ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทหรือให้บุคคลอื่นครอบครองแทน ก.เพียงขอออกน.ส.3ก.ทับที่ดินโจทก์แม้โจทก์ทราบการกระทำดังกล่าวของ ก.แล้วก็ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ไม่ต้องอ้างสัญญาเช่า หากจำเลยเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่า แต่ฟ้องขับไล่เนื่องจากจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดว่า จำเลยเช่าที่ดินส่วนไหนของที่ดินโจทก์ ที่ดินที่เช่ามีจำนวนเท่าใด ทำสัญญาเช่ากันหรือไม่ และคิดค่าเช่าเท่าใด ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเช่าที่ดินจากโจทก์ ที่ดินที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณะ แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่บริเวณใดของที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดินและการฟ้องขับไล่ แม้ยังมิได้เข้าครอบครอง ศาลย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์บางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองต่อมา ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกรณีย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วแม้จำเลยที่ 2 จะยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ไม่มีเจตนา การเข้าครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากผู้มีสิทธิก่อนสัญญาเช่าหมดอายุ ถือเป็นการเข้าโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดอาญา
ขณะที่จำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในตึกแถวของผู้เสียหายนั้นจำเลยได้เข้าไปอยู่ก่อนที่สัญญาเช่าจะครบกำหนดโดยผู้เช่าเป็นผู้อนุญาต ซึ่งขณะนั้นผู้เช่ายังมีสิทธิครอบครองตึกแถวอยู่ จำเลยจึงเข้าไปอาศัยอยู่ในฐานบริวารของผู้เช่า การเข้าไปอาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดมา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวจะครบกำหนดแล้ว และผู้เสียหายได้แจ้งให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปนั้น ก็เป็นเรื่องละเมิดในทางแพ่งเท่านั้นไม่เป็นความผิดทางอาญาเช่นกันการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่กรณีเช่าที่ดิน: โจทก์ต้องเข้าครอบครองก่อน จึงจะฟ้องจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินและอาคารพิพาทจากผู้ให้เช่าเพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย จำเลยและบริวารได้เข้าไปใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออก ซึ่งแปลความได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าและผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยลำพัง แต่ข้อเท็จจริงที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองและใช้สอยที่ดินและอาคารพิพาทก่อนฟ้องคดี ฝ่ายจำเลยได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ รูปคดีเป็นเรื่องความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีรอนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 549 ประกอบมาตรา 477 โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์มิได้คัดค้านและมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นอันยุติแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกให้ผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่า: ต้องเข้าครอบครองก่อนหรือไม่ และผลของการที่ผู้เช่าไม่เข้าครอบครอง
จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินกับอาคารพิพาทมาก่อนที่โจทก์ทำสัญญาเช่าและเมื่อทำสัญญาเช่าแล้วโจทก์ก็ยังมิได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ทรัพย์ที่เช่าเช่นนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยแต่ลำพังโดยไม่เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับการเข้าครอบครองก่อนฟ้อง หากไม่ได้เข้าครอบครองก่อน และจำเลยครอบครองอยู่แล้ว ถือเป็นความรับผิดของผู้ให้เช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินและอาคารพิพาทจากผู้ให้เช่า เพื่อประกอบการค้าและอยู่อาศัย จำเลยและบริวารได้เข้าไปใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาท โจทก์แจ้งให้ออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออก ซึ่งแปลความได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าและผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยลำพัง แต่ข้อเท็จจริงทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองและใช้สอยที่ดินและอาคารพิพาทก่อนฟ้องคดี ฝ่ายจำเลยได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทตลอดมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยอยู่ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์รูปคดีเป็นเรื่องความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 477 โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์มิได้คัดค้านและมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นอันยุติแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกให้ผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองและการเข้าครอบครอง ย่อมเป็นผลให้จำเลยได้สิทธิในที่ดิน
แม้หนังสือสัญญาซื้อขาย ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร แต่จำเลยก็มีพยานบุคคลผู้รู้เห็นการทำสัญญาและเห็นจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์และเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทส่วนโจทก์ย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้โอนสิทธิครอบครองเนื่องจากมีการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบ การโอนที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงคือโจทก์มอบการครอบครองให้จำเลยและจำเลยก็ได้เข้าครอบครอง ไม่ใช่เป็นการโอนโดยทำตามแบบคือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องแย้ง ดังนี้ศาลพิพากษาบังคับตามคำขอฟ้องแย้งของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าช่วงและการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้เช่าช่วงรายใดมีน้ำหนักมากกว่า
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาทได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงการคลังโดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจากกระทรวงการคลังเป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1อีก ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่า จำเลยที่ 1จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการกรณีดังกล่าวนี้ใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและกระทรวงการคลังให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3 เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากัน ทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่า/โอนสิทธิเรียกร้อง - การเข้าครอบครองก่อนมีผลเหนือการทำสัญญาก่อน
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาท ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่ กระทรวงการคลัง โดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจาก กระทรวงการคลัง เป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับ กระทรวงการคลัง โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1 อีกซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กรณีดังกล่าวมิใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและ กระทรวงการคลัง ให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากันทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท.
of 3