คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.การประมง จำเป็นต้องระบุขนาดช่องตาอวนและใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เครื่องมืออวนครอบ ใช้ประกอบกับเรือยนต์ที่มีขนาดความยาวเรือตลอดลำ 19.20 เมตร ทำการประมงจับสัตว์น้ำในทะเล โดยมิได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องมืออวนดังกล่าวมีขนาดช่องตาเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตรหรือไม่ และจำเลยทั้งสองใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไม่ หากเครื่องมืออวนครอบ ที่จำเลยทั้งสองใช้มิได้มีขนาดช่องตาเล็กกว่า 2.5 เซ็นติเมตรหรือจำเลยทั้งสองมิได้ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6693/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการขายทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด และประเด็นการขายขาดทุนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติอ้อย ที่ให้มีการปรับปรุงน้ำตาลทรายที่ขาดเหลือหรือเกินบัญชีได้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ สำหรับน้ำตาลทรายดิบหรือโควต้า ข. นั้น ให้มีการปรับปรุงคลาดเคลื่อนให้ตรงต่อความจริงได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของปริมาณการผลิตแต่ละปีส่วนน้ำตาลทรายขาวหรือโควต้า ก. ให้มีการปรับปรุงคลาดเคลื่อนให้ตรงต่อความจริงได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของปริมาณการผลิตแต่ละปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานต่าง ๆ มิให้ผลิตมากหรือน้อยเกินไปจากโควต้าที่ได้รับอนุมัติจนอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ มติดังกล่าวมิใช่มีไว้สำหรับกรณีที่โรงงานน้ำตาลผลิตน้ำตาลทรายได้ปริมาณเท่าใดแล้ว โรงงานน้ำตาลนั้นสามารถทำการปรับปรุงสต๊อคเพิ่มหรือลดจำนวนลงได้ตามอัตราที่มติดังกล่าวกำหนด โจทก์ประกอบธุรกิจผลิตน้ำตาลทรายจำนวนมากจำหน่ายมาเป็นเวลานานแล้วหากมีการสูญเสียหรือเสียหายของน้ำตาลทรายเกิดขึ้นจริงโจทก์ย่อมจะต้องทราบดีว่าการสูญเสียหรือเสียหายของน้ำตาลทรายเป็นจำนวนเท่าไร จึงควรที่โจทก์จะต้องบันทึกเป็นหลักฐานไว้เพื่อแสดงถึงการสูญเสียหรือเสียหายของน้ำตาลทรายตามเหตุที่กล่าวไว้ แต่โจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานการสูญเสียหรือเสียหายตามข้ออ้างดังกล่าวได้ จึงไม่อาจรับฟังตามข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ได้นำต้นทุนน้ำตาลทรายดิบที่ยืมจากบริษัท น.และคลังสินค้า ย มาเป็นต้นทุนการขาย และนำต้นทุนกากน้ำตาลที่ให้บริษัท น. และบริษัท อ. ยืมมาหักออกจากต้นทุนการขาย ขณะเดียวกันบริษัท น. นำจำนวนเงินตามรายการยืมกากน้ำตาลจากบริษัทในเครือมาเป็นต้นทุนการขาย และบริษัท อ. นำจำนวนเงินตามรายการยืมสินค้ามาเป็นต้นทุนการขาย แสดงว่า การยืมน้ำตาลทรายดิบของโจทก์จากบริษัท น. และคลังสินค้า ย. โจทก์มีเจตนารับโอนกรรมสิทธิ์น้ำตาลทรายดิบเพราะได้นำต้นทุนสินค้า มาบวกรวมกับต้นทุนการผลิตของโจทก์เพื่อนำมาหักกับรายได้ของโจทก์ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่นเดียวกันในการให้ยืมกากน้ำตาลของโจทก์แก่บริษัท น. และบริษัท อ. โจทก์ มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์สินค้ากากน้ำตาลให้แก่บริษัททั้งสอง เพราะ บริษัททั้งสองได้นำยอดยืมสินค้ามาเป็นต้นทุนการขายและมาบวก รวมกับต้นทุนการผลิตเพื่อนำมาหักกับรายได้ของบริษัททั้งสอง ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ซึ่งมิใช่เป็นลักษณะการยืมใช้สิ้นเปลืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะเจตนาของผู้ยืมกากน้ำตาลคือบริษัท น. และบริษัท อ.ต้องการจะรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้ากากน้ำตาลมาโดยเด็ดขาด เพราะบริษัททั้งสองนำมูลค่าของสินค้าที่ยืมมาบวกเป็นต้นทุนการขายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และในส่วนที่โจทก์นำกากน้ำตาลให้บริษัท น. และบริษัท อ. ยืมไปนั้นโจทก์ก็ได้นำมาเป็นต้นทุนสินค้าเพื่อหักกับรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2528 ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอันมีลักษณะเป็นการลดต้นทุนการผลิตกากน้ำตาลจำนวนที่ให้ยืมลง จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ต้องการจะโอนกรรมสิทธิ์สินค้ากากน้ำตาลให้แก่บริษัท น.และบริษัท อ. ไปอย่างเด็ดขาด เพราะมิฉะนั้นแล้วโจทก์คงจะไม่ทำการลดต้นทุนการผลิตกากน้ำตาลตามจำนวนที่ให้ยืมไปลง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงอาหารพระ ค่าดอกไม้ ธูป เทียนค่าสิ่งของที่ใช้ในการไหว้ในวันตรุษจีนและสารทจีน ค่าสิ่งของทำบุญถวายพระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานบวชงานศพ แม้จะเป็นค่าใช้จ่าย ที่มีผลตอบแทนทางด้านจิตใจตามความเชื่อทางศาสนาก็ตาม ค่าใช้จ่าย เหล่านี้ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว เพราะ มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้า ของโจทก์โดยตรง จึงถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำไปหัก เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าใช้จ่ายการเดินทางท่องเที่ยวของผู้จัดการ พักร้อน เป็นเสมือน โบนัสหรือรางวัลที่จ่ายให้แก่ผู้จัดการโรงงานเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้การทำงานให้แก่โจทก์ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์กลับนำสืบ ว่าในการเดินทางไปดูงานของผู้จัดการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่าย เดินทางเพื่อไปดูงานเพื่อให้เกิดทักษะในการทำงาน ครั้นอุทธรณ์ ต่อศาลฎีกาโจทก์กลับอุทธรณ์ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเข้าร่วมสัมมนา ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ ว่ากล่าวกันมาในชั้นพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ แม้จะฟังได้ว่าบริษัทโจทก์และบริษัท อ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากออกจากกันโดยต่างก็มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบริษัทแยกออกจากกัน โจทก์จึงไม่สามารถอ้างว่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน เนื่องจากโจทก์กู้เงินจากสถาบันการเงินแล้วนำมาค้ำประกันเงินกู้ให้แก่บริษัท อ. ได้ใช้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ทางการค้าของโจทก์เพราะมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ให้ผู้ถือหุ้นกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ถือหุ้นสอดส่องดูแลกิจการโจทก์ตามหน้าที่ของผู้ถือหุ้น จึงเป็นกรณีการบริหารงานโจทก์โดยตรงส่วนหนึ่ง โจทก์เห็นว่าย่อมกระทำได้และสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้นั้น อุทธรณ์ของโจทก์ส่วนนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ชำระภาษีให้จำเลยครบถ้วนแล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินกลับกล่าวอ้างภายหลังว่าโจทก์ชำระไว้ไม่ครบ โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นฝ่ายคำนวณคลาดเคลื่อนเองและประเมินไว้สูงกว่าความเป็นจริง และเอกสารในส่วนที่กล่าวนี้อยู่กับจำเลยทั้งหมด ซึ่งจำเลยอาจใช้ความละเอียดตรวจสอบได้และต่อมาได้มีการยื่นส่งเอกสารดังกล่าวไว้ในสำนวนในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้ง จึงฟังได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง รวมทั้งไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งอุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้ขอมาให้ฟ้อง อีกทั้งเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย แม้ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ซื้อโรงงานน้ำตาลมาจากบริษัท พ. จะระบุราคารวมทั้งหมดไว้เป็นจำนวนเงิน 70,000,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ได้มีการแยกระบุราคาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพิพาท ไว้ว่ามีราคา 5,000,000 บาท ซึ่งโจทก์ก็ได้ยอมรับราคา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในราคาดังกล่าว โดยในการทำงบดุลและทำบัญชี ของโจทก์ โจทก์ก็ได้คิดคำนวณค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร ดังกล่าวจากราคา 5,000,000 บาท ลดลงมาเหลือเป็นจำนวนเงิน 4,711,021.55 บาท แต่ต่อมาในเวลาไม่ถึง 1 ปี โจทก์ได้ขาย เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวไปในราคาเพียง 1,000,000 บาท โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาตลาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังกล่าวในขณะขายมีราคาเพียงใด เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวมีสภาพเก่าไม่มีผู้นิยมใช้ อีกทั้ง ต้องนำไปซ่อมแซมก่อนจึงจะนำไปใช้งานได้โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่น สนับสนุน ถือได้ว่าการที่โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ บริษัท อ. ไปในราคา 1,000,000 บาท นั้น เป็นการโอนทรัพย์สินที่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ(4) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องส่งวิทยุ: เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ใช่ส่วนประกอบของเครื่องส่งวิทยุ
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ได้บัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กับเครื่องวิทยุส่งกระจายเสียงไว้แตกต่างกันอย่างละประเภท กล่าวคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.01 อัตราอากรร้อยละ 11 ส่วนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงอยู่ในพิกัดประเภท 85.15 อัตราอากรตามราคาร้อยละ 5.5 แม้ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรโจทก์จัดพิมพ์ขึ้น จะมีคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องจักรไฟฟ้าบางชนิดซึ่งอยู่ในพิกัดของตอนที่ 85 ว่า อาจประกอบด้วยยูนิตต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเช่น เครื่องส่งวิทยุและเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันก็ตาม แต่เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าก็เป็นเครื่องมือสำหรับจ่ายกำลังงาน ส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องที่ก่อให้เกิดพลังงาน มิใช่ของอย่างเดียวกัน เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าตามตัวอย่างดังกล่าวจึงไม่คลุมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามิใช่ส่วนหนึ่งหรือส่วนประกอบของเครื่องวิทยุที่มีอุปกรณ์ครบชุด ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้าพลังงานซึ่งอาจได้มาจากไฟฟ้าของทางราชการ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็สามารถทำการออกอากาศได้ ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรแม้นำเข้ามาพร้อมกับเครื่องส่งวิทยุ หรือทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะใช้กับเครื่องส่งวิทยุก็ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 85.01 ข. (3) (ก) อัตราร้อยละ 11 ของราคา มิใช่พิกัดประเภทที่ 85.15 ก. อัตราร้อยละ 5.5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องส่งวิทยุ ศาลฎีกาตัดสินว่ามีพิกัดแยกกัน
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ได้บัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กับเครื่องวิทยุส่งกระจายเสียงไว้แตกต่างกันอย่างละประเภทกล่าวคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.01 อัตราอากรราคาร้อยละ 11 ส่วนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงอยู่ในพิกัดประเภท 85.15 อัตราอากรตามราคาร้อยละ 5.5 แม้ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรโจทก์จัดพิมพ์ขึ้นจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องจักรไฟฟ้าบางชนิดซึ่งอยู่ในพิกัดของตอนที่ 85 ว่า อาจประกอบด้วยยูนิตต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเช่น เครื่องส่งวิทยุและเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันก็ตาม แต่เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าก็เป็นเครื่องมือสำหรับจ่ายกำลังงานส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องที่ก่อให้เกิดกำลังงาน จึงมิใช่ของอย่างเดียวกันเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าตามตัวอย่างดังกล่าวจึงไม่คลุมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามิใช่ส่วนหนึ่งหรือส่วนประกอบของเครื่องส่งวิทยุ เพราะเครื่องส่งวิทยุที่มีอุปกรณ์ครบชุด ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้าพลังงานซึ่งอาจได้มาจากไฟฟ้าของทางราชการ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็สามารถทำการออกอากาศได้ ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรแม้นำเข้ามาพร้อมกับเครื่องส่งวิทยุ หรือทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะใช้กับเครื่องส่งวิทยุก็ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 85.01ข. (3)(ก) อัตราร้อยละ 11 ของราคา มิใช่พิกัดประเภทที่ 85.15 ก อัตราร้อยละ 5.5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงงาน: การประเมินภาษีเครื่องจักร์ขุดแร่แยกจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แม้ไม่มีลูกสูบก็คำนวณจากแรงม้าที่ระบุได้
เครื่องจักร์ขุดแร่รับกระแสไฟจากเครื่องเกิดกำลังไฟฟ้า ต้องเสียภาษีต่างหากจากเครื่องไฟฟ้าที่ได้เสียภาษีแล้ว
วิธีการเก็บภาษีโรงงานอุตสาหกรรมโดยคิดตามกำลังแรงม้าที่ปรากฎบนเครื่องจักร์นั้น เมื่อผู้เสียภาษีมิได้คัดค้านจำนวนแรงม้าอย่างใด ก็เก็บตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79(2)(ข)