พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าและปลอมปนอาหาร: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าและปลอมปนเครื่องดื่ม
จำเลยเอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายทราบเสียก่อนไม่ยอมดื่มน้ำดังกล่าวผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ 'อาหาร' แต่เป็น 'เครื่องดื่ม' จึงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตาม พ.ร.ก. ลดหย่อนภาษี
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517มิได้ให้ความหมายของคำว่าอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าว จะถือตามความหมายของกฎหมายอื่นไม่ได้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ของกินที่มีลักษณะเพื่อค้ำจุนชีวิตหรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจึงไม่ใช่อาหาร แต่เป็นเครื่องดื่มเพราะสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะมีส่วนผสมคือ ถั่วเหลือง น้ำตาล นมผง และไขมันพืชอยู่ด้วยถึงร้อยละ21.2 และมีคำว่า "อาหารเสริม" อยู่ที่กล่องบรรจุก็ตาม ก็แสดงเพียงว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของอาหารอยู่ด้วยเท่านั้นไม่ใช่ "อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)(ข)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และไม่เป็น "อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่ว" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(10) ด้วยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยจึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (น้ำนมถั่วเหลือง) เพื่อการยกเว้นภาษีการค้า พิจารณาจากลักษณะการบริโภคและส่วนประกอบ
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ. 2517 มิได้ให้ความหมายของคำว่าอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าวจะถือตามความหมายของกฎหมายอื่นไม่ได้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ของกินที่มีลักษณะเพื่อค้ำจุนชีวิตหรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจึงไม่ใช่อาหารแต่เป็นเครื่องดื่มเพราะสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะมีส่วนผสมคือ ถั่วเหลือง น้ำตาล นมผง และไขมันพืชอยู่ด้วยถึงร้อยละ 21.2 และมีคำว่า 'อาหารเสริม' อยู่ที่กล่องบรรจุก็ตาม ก็แสดงเพียงว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของอาหารอยู่ด้วยเท่านั้น ไม่ใช่ 'อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4) ข ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และไม่เป็น 'อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่ว'ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(10) ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยจึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นมเปรี้ยวยาคูลท์จัดเป็น 'อาหาร' ไม่ใช่ 'เครื่องดื่ม' ต้องเสียภาษีการค้า
สินค้านมสดเปรี้ยวยาคูลท์ของโจทก์ประกอบด้วยนมสดเป็นส่วนใหญ่ ต้องถือว่าเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จึงเป็นสินค้าที่มีระบุไว้ในบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 หาใช่เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(6) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์ผู้ประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า และต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ
คำว่าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้ในประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 54 จะนำวิเคราะห์ศัพท์หรือความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร และพระราชบัญญัติภาษีเครื่องดื่มมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่างกัน
คำว่าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้ในประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 54 จะนำวิเคราะห์ศัพท์หรือความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร และพระราชบัญญัติภาษีเครื่องดื่มมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความหมายของ "ดีกรี" ในบริบทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหมายถึงปริมาณแอลกอฮอล์
การที่เจ้าพนักงานเบิกความของกลางมีดีกรี 5 ดีกรีเศษ ต้องหมายความว่ามีแอลกอฮอล์ 5 ดีกรีเศษ
พะยาน
การวินิจฉัยคำพะยาน
พะยาน
การวินิจฉัยคำพะยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมน้ำขิงเข้าข่ายผิดกฎหมายภาษีอากร
เอากอฮอจุดไฟผสมกับน้ำขิงจำหน่ายแก่ผู้ซื้อเพื่อใช้ดื่มกินได้เช่นสุรามีผิดตามกฎหมายข้างบน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศ
น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน ส่วนการเติมน้ำแข็งเป็นแต่เพียงการทำให้มีความเย็นเท่านั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นสิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน และการที่น้ำผลไม้ดังกล่าวบรรจุในขวดมีฝาปิดจึงเป็นสิ่งที่บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ตามนิยามของคำว่าเครื่องดื่มดังกล่าว ฉะนั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นเครื่องดื่มตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมและหลักเกณฑ์การหาปริมาณอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่การเพิ่มชนิดขนาดภาชนะบรรจุจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อนจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุเครื่องดื่มน้ำผลไม้ของโจทก์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงถือว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามข้อ 4 วรรคสามของประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม เมื่อประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ ข้อ 8 ระบุว่า ผู้ใดได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตอยู่ก่อนวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 103 ต่อไป โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตต่อไป ไม่ว่าโจทก์จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุให้กรมสรรพสามิตทราบหรือไม่ก็ตาม
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมและหลักเกณฑ์การหาปริมาณอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่การเพิ่มชนิดขนาดภาชนะบรรจุจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อนจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุเครื่องดื่มน้ำผลไม้ของโจทก์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงถือว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามข้อ 4 วรรคสามของประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม เมื่อประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ ข้อ 8 ระบุว่า ผู้ใดได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตอยู่ก่อนวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 103 ต่อไป โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตต่อไป ไม่ว่าโจทก์จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุให้กรมสรรพสามิตทราบหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากอารมณ์ชั่ววูบและความรับผิดทางอาญาต่อการผสมสารพิษในเครื่องดื่ม
หากจำเลยเกิดอารมณ์ชั่ววูบที่ จ. ภริยาของจำเลยหนีออกจากบ้านจึงเตรียมน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงแลนเนท แอล ไว้เพื่อจะฆ่าตัวตาย แต่ผู้ตายและ อ. มาพบน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงนั้นและดื่มไปเองเสียก่อน จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย จำเลยก็น่าจะใส่สารกำจัดแมลงแลนเนท แอล ลงในเบียร์ที่จำเลยกำลังดื่มอยู่ในขณะนั้น และดื่มฆ่าตัวตายไปในทันที หรือเตรียมน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงไว้เพียงที่เดียวมากกว่าการที่จำเลยใส่สารกำจัดแมลงลงในน้ำอัดลม ซึ่งตามคำให้การชั้นสอบของจำเลยก็ได้ความว่าจำเลยให้ผู้ตาย อ. ว. กับเพื่อนๆ ของเด็กทั้งสามที่มาเล่นวีดีโอเกมส์อยู่ด้วยกันนำเงินไปซื้อน้ำอัดลมมา 4 กระป๋อง แล้วจำเลยบอกให้นำน้ำอัดลมไปแช่ไว้ในตู้เย็นก่อน เมื่อแช่น้ำอัดลมไว้ในตู้เย็นแล้ว พวกเด็กๆ พากันไปเล่นวีดีโอเกมส์ต่อ ต่อมาจำเลยจึงให้ อ. ไปซื้อสารกำจัดแมลงมา 1 ขวด แล้วจำเลยแอบเอาน้ำอัดลมที่แช่ไว้ดังกล่าวมารินใส่แก้ว 3 ใบ แล้วเทสารกำจัดแมลงที่ อ. ไปซื้อมาใส่ลงในแก้วน้ำอัดลมเหล่านั้น จากนั้นจำเลยเรียกผู้ตาย อ. และ ว. ให้ลงจากบนบ้านมาดื่มน้ำอัดลม ส่วนเพื่อนๆ ของเด็กทั้งสามจำเลยให้กลับบ้านไป จำเลยได้ยื่นแก้วน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงให้ผู้ตาย อ. และ ว. ดื่มคนละแก้ว ผู้ตายดื่มจนหมดแก้ว อ. ดื่มไปครึ่งแก้ว ส่วน ว. ดื่มไปเพียงเล็กน้อย จำเลยให้การดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนทันทีที่ถูกจับกุมในวันเกิดเหตุยังไม่ทันได้คิดเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ย่อมมีน้ำหนักรับฟังได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า แต่เนื่องจากจำเลยมีอาชีพเกษตรกรรมและเคยให้ อ. ไปซื้อสารกำจัดแมลงมาเพื่อใช้ในการเกษตรกรรมของจำเลยตามปกติโดยยังมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. รวมทั้งฆ่าตัวตายในขณะนั้น แต่เนื่องจากจำเลยและ ท. ได้ร่วมกันดื่มเบียร์หมดไปหลายขวดอาจเกิดการมึนเมา รวมทั้งเกิดความกลัดกลุ้มและเสียใจประกอบกับความเครียดที่ จ. ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยทิ้งจำเลยและบุตรไปทำงานที่กรุงเทพมหานครโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบก่อน จำเลยจึงคิดฆ่าตัวตายพร้อมๆ กับผู้ตายและ อ. เพื่อเป็นการประชด จ. จึงได้นำสารกำจัดแมลงใส่ในน้ำอัดลมให้ผู้ตายและ อ. ดื่มอันเป็นอารมณ์ชั่ววูบซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดในขณะนั้นก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอให้ฟังว่าจำเลยเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเนื่องจากจำเลยมีเจตนาเดียวคือต้องการให้ผู้ตาย อ. และจำเลยถึงแก่ความตายพร้อมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท