พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตกรณีขายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้
โจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถประกอบรวมเป็นแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตได้ในแต่ละส่วน จึงเป็นการขายสินค้าซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นสินค้าครบชุดบริบูรณ์ที่แยกจากกันหรือมิได้ประกอบเข้าด้วยกัน และสามารถจัดเข้าในประเภทที่ว่าด้วยของครบชุดบริบูรณ์เป็นเครื่องปรับอากาศได้ โจทก์จึงเป็นผู้ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศ
โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศให้แก่ ศ. และ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายและอยู่ในเครือข่ายเดียวกับโจทก์ภายในเดือนเดียวกันและสินค้าดังกล่าวสามารถนำมาจัดเป็นเครื่องปรับอากาศครบชุดได้ แสดงให้เห็นว่าการแยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์ดังกล่าวในที่สุดแล้วโจทก์มีความประสงค์หรือความมุ่งหมายจะให้เป็นแฟนคอยล์ยูนิตหรือคอนเดนซิ่งยูนิตประกอบรวมเป็นสินค้าเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ โจทก์จึงเป็นผู้ที่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า สถานประกอบการของโจทก์ย่อมเป็นสถานที่ผลิตสินค้าและเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อมีการขายและนำสินค้าออกไปจากโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศให้แก่ ศ. และ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายและอยู่ในเครือข่ายเดียวกับโจทก์ภายในเดือนเดียวกันและสินค้าดังกล่าวสามารถนำมาจัดเป็นเครื่องปรับอากาศครบชุดได้ แสดงให้เห็นว่าการแยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์ดังกล่าวในที่สุดแล้วโจทก์มีความประสงค์หรือความมุ่งหมายจะให้เป็นแฟนคอยล์ยูนิตหรือคอนเดนซิ่งยูนิตประกอบรวมเป็นสินค้าเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ โจทก์จึงเป็นผู้ที่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า สถานประกอบการของโจทก์ย่อมเป็นสถานที่ผลิตสินค้าและเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อมีการขายและนำสินค้าออกไปจากโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศเข้าข่ายเป็น 'การผลิต' และต้องเสียภาษีสรรพสามิต
การจะวินิจฉัยถึงความหมายของเครื่องปรับอากาศนั้น ต้องวินิจฉัยตามคำนิยามในกฎหมาย เมื่อไม่มีบัญญัติในกฎหมายจึงจะถือเอาความหมายตามพจนานุกรม
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้กำหนดสินค้าเครื่องปรับอากาศไว้ในตอนที่ 3 เครื่องไฟฟ้า ประเภทที่ 03.01 ว่า เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามหลักเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตได้ตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศไว้ โดยกำหนดให้แผนคอยล์ยูนิต (ส่วนที่อยู่ในอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอนเดนซิ่งยูนิต (ส่วนที่อยู่นอกอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภท 03.01 แฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตแต่ละส่วนจึงเป็นเครื่องปรับอากาศโดยมิต้องประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบด้วยโครงแฟนคอยล์ มอเตอร์โบลว์ โครงคอนเดนซิ่ง และคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้างติดตั้ง และรับประกอบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทุกชนิด การที่โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศครบชุดซึ่งสามารถประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศที่ครบชุดบริบูรณ์ได้ให้แก่ลูกค้ารายเดียวกันภายในเดือนเดียวกัน แสดงถึงความมุ่งหมายของโจทก์ที่จะขายเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็มีเครื่องปรับอากาศที่ประกอบครบชุดบริบูรณ์แล้วอยู่ในสถานประกอบการของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าเครื่องปรับอากาศ อันเป็นการผลิตสินค้าและสถานประกอบการของโจทก์ก็เป็นสถานที่ผลิตสินค้า ถือเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อโจทก์จำหน่ายเครื่องปรับอากาศหรือนำสินค้าเครื่องปรับอากาศออกจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมมีความรับผิดต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 7 , 10 (1) (ก) และ 10 (1) วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 , 4 และ 5 ตามลำดับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศไปโดยเสียภาษีสรรพสามิตยังไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตให้ถูกต้องได้ การประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้คัดค้านการประเมินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ขอทุเลาการชำระภาษี การคัดค้านและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 97 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์เพื่อชำระภาษีสรรพสามิตที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ได้
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้กำหนดสินค้าเครื่องปรับอากาศไว้ในตอนที่ 3 เครื่องไฟฟ้า ประเภทที่ 03.01 ว่า เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามหลักเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตได้ตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศไว้ โดยกำหนดให้แผนคอยล์ยูนิต (ส่วนที่อยู่ในอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอนเดนซิ่งยูนิต (ส่วนที่อยู่นอกอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภท 03.01 แฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตแต่ละส่วนจึงเป็นเครื่องปรับอากาศโดยมิต้องประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบด้วยโครงแฟนคอยล์ มอเตอร์โบลว์ โครงคอนเดนซิ่ง และคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้างติดตั้ง และรับประกอบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทุกชนิด การที่โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศครบชุดซึ่งสามารถประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศที่ครบชุดบริบูรณ์ได้ให้แก่ลูกค้ารายเดียวกันภายในเดือนเดียวกัน แสดงถึงความมุ่งหมายของโจทก์ที่จะขายเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็มีเครื่องปรับอากาศที่ประกอบครบชุดบริบูรณ์แล้วอยู่ในสถานประกอบการของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าเครื่องปรับอากาศ อันเป็นการผลิตสินค้าและสถานประกอบการของโจทก์ก็เป็นสถานที่ผลิตสินค้า ถือเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อโจทก์จำหน่ายเครื่องปรับอากาศหรือนำสินค้าเครื่องปรับอากาศออกจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมมีความรับผิดต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 7 , 10 (1) (ก) และ 10 (1) วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 , 4 และ 5 ตามลำดับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศไปโดยเสียภาษีสรรพสามิตยังไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตให้ถูกต้องได้ การประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้คัดค้านการประเมินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ขอทุเลาการชำระภาษี การคัดค้านและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 97 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์เพื่อชำระภาษีสรรพสามิตที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การตีความคำสั่งกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ และความผิดฐานไม่ยื่นแบบภาษี
พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ตอนที่ 3 ประเภทที่ 03.01 กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม ที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต และอธิบดีกรมสรรพสามิตได้วินิจฉัยให้สิ่งต่อไปนี้เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 03.01 คือ (1) COOLING UNIT หรือ FAN COIL UNIT หรือ INDOOR UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็น (EVAPORATOR) และพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ (2) CONDENSING UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน (CONDENSER) พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) ตามคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ยี่ห้อยูเนี่ยนแอร์ ชนิดแฟนคอยล์ ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และชนิดคอนเดนซิ่ง ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ จึงเป็นเครื่องปรับอากาศตามคำสั่งกรมสรรพสามิตดังกล่าว
ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแนบท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเห็นว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศและมีคำวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว และ (3) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ดังนั้น คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว
เครื่องปรับอากาศที่ยึดจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าในการกระทำความผิดฐานนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 147 จึงต้องริบเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเป็นของกรมสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 168 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมนั้น เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19, 147 (1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161 (1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 162 (1) ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162 (1) ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแนบท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเห็นว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศและมีคำวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว และ (3) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ดังนั้น คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว
เครื่องปรับอากาศที่ยึดจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าในการกระทำความผิดฐานนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 147 จึงต้องริบเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเป็นของกรมสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 168 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมนั้น เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19, 147 (1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161 (1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 162 (1) ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162 (1) ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุด-รับสภาพหนี้: เช็คผ่อนชำระคดีค้าขายเครื่องปรับอากาศ
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อ บริษัท อ.จำกัดกับทั้งการที่โจทก์มอบอำนาจให้ว. เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรับและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวและแม้โจทก์จะอ้างอิงเอกสารหนังสือรับรองเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก ก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีและแม้ศาลล่างทั้งสองจะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นพ่อค้าขายเครื่องปรับอากาศฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบเครื่องปรับอากาศและอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และการที่จำเลยที่ 2ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค 5 ฉบับผ่อนชำระหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศและอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศแทนจำเลยที่ 1ในระหว่างที่สิทธิเรียกร้องนั้นยังไม่ขาดอายุความ ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเป็นการรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ลงในเช็คฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คฉบับสุดท้ายได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ชำระราคาสินค้าไปแล้ว 370,046 บาท คงค้างชำระ211,408 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ด้วยเช็ค 5 ฉบับ จำนวน 194,445 บาท แต่เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้หนี้ค่าสินค้ายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โจทก์เรียกร้องหนี้ที่ค้างได้เต็มจำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรสำหรับคอนเดนเซอร์เครื่องปรับอากาศ และข้อยกเว้นการประเมินภาษีตามมาตรา 30
สินค้าคอนเดนเซอร์ ที่จำเลยนำเข้ามาเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายมิใช่เครื่องปรับอากาศที่ใช้ระบาย ความร้อนของเครื่องจักรและเครื่องคอนเดนเซอร์ ที่จำเลยนำเข้ามานั้นในตัวเอง ไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าตัวอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15 ข .จำเลยจึงต้องเสียอากรในพิกัดอัตราร้อยละ 80 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของปี พ.ศ. 2522 อันเป็นเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 จึงได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติ มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 โจทก์ที่ 2 จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม กับเงินเพิ่มหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราอากรศุลกากร: วอเตอร์ ซิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนอัตราอากร
เครื่องวอเตอร์ ซิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศที่อาศัยน้ำเป็นตัวสื่อทำความเย็น ไม่ใช่เครื่องทำน้ำเย็น เมื่อโจทก์นำเข้ามาเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีสิทธิได้ลดอากรเหลืออัตราร้อยละ 30 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.10/2525
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: วอเตอร์ชิลเลอร์เป็นเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น เพื่อการลดหย่อนอากร
เครื่องวอเตอร์ชิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศที่อาศัยน้ำเป็นตัวสื่อ ทำความเย็น ไม่ใช่เครื่องทำน้ำเย็น เมื่อโจทก์นำเข้ามาเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีสิทธิได้ลดอากรเหลืออัตราร้อยละ 30ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 10/2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอัตราอากรศุลกากร: วอเตอร์ซิลเลอร์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้ในอุตสาหกรรม ได้ลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง
เครื่องววอเตอร์ซิลเลอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศที่อาศัยน้ำเป็นตัวสื่อทำความเย็น ไม่ใช่เครื่องทำน้ำเย็น เมื่อโจทก์นำเข้ามาเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีสิทธิได้ลดอากรเหลืออัตราร้อยละ 30 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ศก.10/2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: คอนเดนเซอร์เป็นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เครื่องจักร
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าเครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดา ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าเป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร
สินค้าที่จะถือว่าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. นั้นจะต้องเป็นเครื่องจักร เครื่องจักรโรงงานหรือเครื่องที่คล้ายกันสำหรับใช้ในห้องทดลองเสียก่อน และเครื่องจักรจะเข้าอยู่ในพิกัดประเภทดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นเครื่องจักรที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพโดยกรรมวิธีดังที่ระบุไว้ด้วย แม้คอนเดนเซอร์จะสามารถเปลี่ยนสภาพของก๊าซได้โดยกรรมวิธีที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ก็หาได้หมายความว่าคอนเดนเซอร์จะกลายเป็นเครื่องจักรไปด้วยไม่ ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร หากแต่ต้องนำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่นๆ อีก จึงสามารถทำงานเป็นเครื่องปรับอากาศได้ คอนเดนเซอร์จึงมีลักษณะเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศยิ่งกว่าเป็นเครื่องจักรในตัวของมันเอง จึงต้องเสียอากรตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข. หาใช่พิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ซึ่งมิได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศไว้แต่อย่างใดไม่
ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เมื่อสามารถนำคอนเดนเซอร์ไปใช้ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้มาแต่เดิมก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องประกอบเครื่องปรับอากาศมาตั้งแต่ตอนโจทก์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้นำส่วนประกอบอื่นเข้ามาด้วย และยังไม่ได้มีการประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศก็ตาม
สินค้าที่จะถือว่าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. นั้นจะต้องเป็นเครื่องจักร เครื่องจักรโรงงานหรือเครื่องที่คล้ายกันสำหรับใช้ในห้องทดลองเสียก่อน และเครื่องจักรจะเข้าอยู่ในพิกัดประเภทดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นเครื่องจักรที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพโดยกรรมวิธีดังที่ระบุไว้ด้วย แม้คอนเดนเซอร์จะสามารถเปลี่ยนสภาพของก๊าซได้โดยกรรมวิธีที่ระบุไว้ในพิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ก็หาได้หมายความว่าคอนเดนเซอร์จะกลายเป็นเครื่องจักรไปด้วยไม่ ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ผลิตอะไรขึ้นมาได้โดยลำพังอันจะถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร หากแต่ต้องนำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่นๆ อีก จึงสามารถทำงานเป็นเครื่องปรับอากาศได้ คอนเดนเซอร์จึงมีลักษณะเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศยิ่งกว่าเป็นเครื่องจักรในตัวของมันเอง จึงต้องเสียอากรตามพิกัดประเภทที่ 84.15 ข. หาใช่พิกัดประเภทที่ 84.17 ก. ซึ่งมิได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศไว้แต่อย่างใดไม่
ไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เมื่อสามารถนำคอนเดนเซอร์ไปใช้ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้มาแต่เดิมก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องประกอบเครื่องปรับอากาศมาตั้งแต่ตอนโจทก์นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้นำส่วนประกอบอื่นเข้ามาด้วย และยังไม่ได้มีการประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับเครื่องอีวาปอเรเตอร์: ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องจักร?
โจทก์สั่งเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศรถยนต์โดยเฉพาะ หาได้นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของ เครื่องทำความเย็นแต่ประการใดไม่ แม้เครื่องอีวาปอเรเตอร์มีส่วนประกอบของชิ้นส่วนต่าง ๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเองก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องจักร และเครื่องอีวาปอเรเตอร์โดยลำพังไม่สามารถทำให้เกิดความเย็นขึ้นได้ ทั้งไม่อาจใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเครื่องจักรที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 84.17 ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศอันจะต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 84.15ข.
โจทก์จะอ้างเอาการที่โจทก์เคยสั่งสินค้าเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามาและจำเลยเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์อันเป็นการไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายมาเป็นข้อให้จำเลยยึดถือปฏิบัติหาได้ไม่
โจทก์จะอ้างเอาการที่โจทก์เคยสั่งสินค้าเครื่องอีวาปอเรเตอร์เข้ามาและจำเลยเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์อันเป็นการไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายมาเป็นข้อให้จำเลยยึดถือปฏิบัติหาได้ไม่