พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปรับคลื่นวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามจำนวนเครื่อง
การที่จำเลยลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้วนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนนั้น แม้จำเลยจะกระทำในวันเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่สามารถแยกจากกันเป็นราย ๆ ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นและนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนได้
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 เครื่อง มาปรับแต่งคลื่นความถี่ให้ใช้ได้กับคลื่นความถี่ของ ย. ซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เช่าใช้บริการแต่ผู้เดียว จำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 เครื่อง มาปรับแต่งคลื่นความถี่ให้ใช้ได้กับคลื่นความถี่ของ ย. ซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เช่าใช้บริการแต่ผู้เดียว จำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันฐานปรับคลื่นวิทยุและใช้เครื่องวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาพิพากษาเพิ่มกระทงความผิด
จำเลยลักลอบปรับคลื่นโทรคมนาคมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลอื่นจำนวน 6 เครื่อง อันเป็นการจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนและขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมและนำออกให้ประชาชนเช่าบริการสาธารณะ อันเป็นการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยจะกระทำในวันเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่สามารถแยกจากกันเป็นราย ๆ ไปได้ตามจำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยลักลอบปรับคลื่นและนำออกให้ประชาชนเช่าบริการสาธารณะ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 6 กระทง
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 6 ระวางโทษตามมาตรา 23 และมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน จำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดตามมาตรา 23 อีกกระทงหนึ่ง
โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 ด้วย ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 23 อีกกระทงหนึ่งไม่ได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 6 ระวางโทษตามมาตรา 23 และมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน จำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดตามมาตรา 23 อีกกระทงหนึ่ง
โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 ด้วย ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 23 อีกกระทงหนึ่งไม่ได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: การมี-ใช้เครื่องวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรบกวนสัญญาณ การพิพากษาลงโทษและดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องว่าเป็นความผิดและตามบทกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้องไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตามหากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม มาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตามหากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม มาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายเครื่องวิทยุ: ไม่ใช่คดีเช่า แต่เป็นค่าเสียหายจากเหตุอื่น
โจทก์จำเลยทำสัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคมความถี่สูงมากโดยจำเลยผู้เช่าเป็นผู้จัดซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมมาใช้เองแต่เครื่องวิทยุคมนาคมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้ให้เช่าทันทีจำเลยนำเครื่องไปติดตั้งผิดสถานที่จึงถูกเจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในที่สุดศาลยึดเครื่องวิทยุคมนาคมของโจทก์และโจทก์ได้รับคืนจากศาลและฟ้องเรียกค่าเครื่องวิทยุคมนาคมเสียหายและค่าอุปกรณ์สูญหายจากจำเลย ดังนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นไปตามสัญญา เมื่อตามข้อสัญญาและตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งนำมาระบุไว้ในสัญญาด้วยนั้น ค่าเช่า หมายความว่า ค่าเช่าเครื่องและค่าใช้บริการรวมกัน การคิดค่าเช่าใช้แยกได้เป็น 2 ส่วนคือค่าเช่าเครื่องส่วนหนึ่งและค่าใช้บริการอีกส่วนหนึ่ง การที่ในสัญญาคิดค่าเช่าใช้บริการจากจำเลยเพียงเดือนละ 1,000 บาทเนื่องจากจำเลยเป็นผู้นำเครื่องวิทยุและอุปกรณ์มาใช้เองจึงเป็นการคิดเฉพาะค่าใช้บริการมิได้คิดค่าเช่าเครื่องด้วย การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายของเครื่องวิทยุคมนาคมจึงมิใช่คดีอันผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าซึ่งจะต้องใช้อายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายเครื่องวิทยุ: สัญญาเช่าบริการแยกค่าเช่าเครื่องและค่าใช้บริการ อายุความตามมาตรา 563 มิได้ใช้
จำเลยทำสัญญาเช่าบริการวิทยุคมนาคมความถี่สูงมากจากโจทก์โดยตามระเบียบของโจทก์แยกการคิดค่าเช่าออกเป็น 2 ส่วน คือค่าเช่าเครื่องกับค่าใช้บริการกรณีตามสัญญาเช่าพิพาทเป็นการคิดเฉพาะค่าใช้บริการเพราะจำเลยจัดหาเครื่องวิทยุมาเองการที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายของเครื่องวิทยุซึ่งตกเป็นของโจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา จึงมิใช่คดีอันผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกประกาศแก้ไขเครื่องวิทยุและเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตของกรมไปรษณีย์โทรเลขชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 11 กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่ คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆดังนั้น การที่มีประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข ฉบับลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2527 กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ประจำปี พ.ศ. 2528 ทำการแก้ไขเครื่องรับ-ส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ ไม่เกินย่าน 144-146 เมกะเฮิรตซ์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า"อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข" จึงถือได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจแล้ว และเป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว