คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เครื่องหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีภาษีป้าย: การตีความเครื่องหมาย, การนับเงินเพิ่ม, และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้นย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAY DEPARTMENT STORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์" และ "ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้าย พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 25 (3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายกัน แต่มีลักษณะแตกต่างกันและประกอบการค้าต่างประเภท ไม่ถือเป็นการละเมิด
แถบติดคอเสื้อของโจทก์จำเลยต่างใช้อักษรโรมันคำเดียวกัน แต่เครื่องหมายแถบไม่เหมือนกัน โดยของโจทก์ใช้ตัวเอน และมีอักษรโรมันอื่นประกอบด้วย ส่วนของจำเลยเป็นอักษรตัวตรง และมีภาษาไทยประกอบ แตกต่างกันเห็นได้ชัด ทั้งโจทก์จำเลยก็ประกอบการค้าในลักษณะแตกต่าง คือ โจทก์ผลิตเสื้อสำเร็จรูปส่งจำหน่ายตามร้านค้า ส่วนจำเลยตั้งร้านรับจ้างตัดเสื้อกางเกง และใช้แถบติดคอเสื้อเฉพาะที่จำเลยรับจ้างตัดเท่านั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า ‘เครื่องหมาย’ ในป้ายโฆษณาตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ภาพประกอบถือเป็นเครื่องหมาย ทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายพ.ศ. 2510 ป้ายอาจแสดงด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือว่าเป็นป้าย ดังนั้นป้ายที่มีอักษรไทยล้วนตามบัญชีอัตราภาษีป้าย ประเภท (1) ย่อมหมายถึงป้ายที่ไม่มีสิ่งอื่นใดเลยนอกจากอักษรไทย
คำว่าเครื่องหมาย นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายป้ายโฆษณาภาพยนตร์ที่มีอักษรไทย ภาพดาราภาพยนตร์ ภาพสัตว์และภาพวัตถุอื่น ๆ จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับเครื่องหมายตามบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดทำเครื่องหมายผู้ขับขี่ล้อเลื่อนรับจ้างโดยไม่ขัดกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายไม่ได้จำกัดสิทธิผู้จัดทำ
เกี่ยวกับเครื่องหมายสำหรับผู้ขับขี่ล้อเลื่อนรับจ้างนั้น เมื่อกฎหมายมิได้กำหนดว่า เจ้าพนักงานต้องเป็นผู้จัดทำเอง ผู้อื่นใดจะทำมิได้ดังที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ล้อเลื่อน พ.ศ.2478 ที่เกี่ยวกับเครื่องหมายติดกับตัวล้อเลื่อนแล้ว ดังนั้นการที่จำเลยจัดทำเครื่องหมายดังกล่าวขึ้นจึงไม่เป็นผิดแต่อย่างใดเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดทำเครื่องหมายผู้ขับขี่ล้อเลื่อน: กฎหมายไม่ได้จำกัดสิทธิเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ
เกี่ยวกับเครื่องหมายสำหรับผู้ขับขี่ล้อเลื่อนรับจ้างนั้นเมื่อกฎหมายมิได้กำหนดว่าเจ้าพนักงานต้องเป็นผู้จัดทำเองผู้อื่นใดจะทำมิได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ.2478 ที่เกี่ยวกับเครื่องหมายติดกับตัวล้อเลื่อนแล้ว ดังนั้นการที่จำเลยจัดทำเครื่องหมายดังกล่าวขึ้นจึงไม่เป็นผิดแต่อย่างใดเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อและเครื่องหมายของผู้อื่นในสินค้าเพื่อหลอกลวง
จำเลยเอาขวดเปล่าของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มาใช้อัดน้ำโซดาของจำเลยออกจำหน่าย โดยปรากฏว่า ขวดเปล่าเหล่านั้นมีชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และตราสิงห์ติดอยู่ที่ขวด โดยติดในเนื้อแก้วขวดบ้างเป็นสลากติดอยู่บ้าง ดังนี้ เป็นการแสดงลักษณะให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดดังนี้เรียกได้ว่าจำเลยเอาชื่อของบริษัทอื่นซึ่งตนรู้อยู่ว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะใช้ มาใช้ให้ปรากฏที่สิ่งสินค้า อันเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 235

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัตรเลือกตั้งไม่เสียหากเครื่องหมายเคลื่อนไหวได้ ไม่มีร่องรอยแป้ง/กาว เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนด
ไม่มีบทบัญญัติในการเลือกตั้งกล่าวไว้ว่า การลงเครื่องหมายต้องใช้ทาด้วยแป้งหรือกาว แล้วปิดเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งลงในบัตรเลือกตั้งให้แน่นสนิทมิให้หลุดเคลื่อนไปมาได้ มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย ดังนี้เลย ฉะนั้นการที่มีบัตรที่มีเครื่องหมายอยู่ภายในเคลื่อนไหวไปมาได้ โดยไม่มีรอยแป้งปิด ในหีบบัตรนั้น จึงไม่ทำให้บัตรดังกล่าวเป็นบัตรเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายเพื่อหลอกลวงไม่ถือเป็นการปลอมดวงตราตามกฎหมาย
จำเลยเอาปลอกตะกั่ว ซึ่งประทับตราปลอมเป็นตรามีรูปร่างลักษณะเป็นแบบเดียวกับที่โรงงานกรมอุตสาหกรรมใช้ปิดปากขวดสุราแม่โขงที่แท้จริงมาสรวมปากขวดสุราเถื่อนของจำเลยนั้นเป็นเพียงเครื่องหมายเพื่อจะลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า สุราในขวดเป็นสุราแม่โขงที่แท้จริงเท่านั้น จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 211,213 และดวงตราที่ปลอดตะกั่วก็ไม่ใช่ตราที่ใช้ในราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หากเป็นตราที่ใช้ในการขายสุราที่เรียกว่าแม่โขงจำเลยปลอมตราที่กล่าวนี้ จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 211,213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายเพื่อหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลอมดวงตราตามกฎหมาย หากไม่ใช่ตราที่ใช้ในราชการ
จำเลยเอาปลอกตะกั่ว ซึ่งประทับตราปลอมเป็นตรามีรูปร่างลักษณะเป็นแบบเดียวกับที่โรงงานกรมอุตสาหกรรมใช้ปิดปากขวดสุราแม่โขงที่แท้จริงมาสวมปากขวดสุราเถื่อนของจำเลยนั้น เป็นเพียงเครื่องหมายเพื่อจะลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า สุราในขวดเป็นสุราแม่โขงที่แท้จริงเท่านั้น จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 211,213 และดวงตราที่ปลอกตะกั่วก็ไม่ใช่ตราที่ใช้ในราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หากเป็นตราที่ใช้ในการขายสุราที่เรียกว่าแม่โขง จำเลยปลอมตราที่กล่าวนี้ จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 211,213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายบนหลอดฝิ่นเข้าข่ายความผิดฐานปลอมหนังสือ
ปลอมดวงตรา ตัวอักษรแลเลขประทับบนหลอดฝิ่นของกลางให้เหมือนกับของรัฐบาลมีผิดฐานปลอมหนังสือ