พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายคล้ายกัน, เครื่องหมายมีชื่อเสียง, ห้ามจดทะเบียน, ทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมาย ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า "F-1" "FORMULA-1 OPTICAL FRAME" และ "COLLECTION" เรียงกัน 3 บรรทัด และภาคส่วนรูปช่อหรีดหรือรวงข้าวประดิษฐ์ โอบล้อมคำว่า "F-1" ซึ่งคำดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าคำอื่น ๆ ในเครื่องหมายภาคส่วนคำว่า "F-1" จึงถือเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า "เอฟ วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยภาคส่วนอักษร "F" ประดิษฐ์ และตัวเลขประดิษฐ์ "1" และคำว่า "Formula 1" ในลักษณะเอียง และภาคส่วนลายเส้นหลังตัวเลขประดิษฐ์ "1" โดยภาคส่วนคำว่า "F1" มีขนาดอักษรใหญ่กว่าคำว่า "Formula 1" อย่างเห็นได้ชัด ภาคส่วนคำว่า "F1" จึงถือเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า "เอฟ วัน" เช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ คำว่า "F-1" และ "F1" ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกันมาก ทั้งสาธารณชนที่พบเห็นโดยทั่วไปก็อาจเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่ายได้ว่า "เอฟ วัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายทั้งสองจะมีส่วนประกอบอื่นแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมาย นอกจากนี้เครื่องหมายทั้งสองต่างก็มีคำว่า "FORMULA-1" และ "Formula 1" ในขนาดที่เล็กกว่าวางตำแหน่งอยู่ในบริเวณใต้คำว่า "F-1" และ "F1" อันทำให้สาธารณชนที่พบเห็นเครื่องหมายทั้งสองดังกล่าวเข้าใจได้ว่า คำว่า "FORMULA-1" และ "Formula 1" เป็นคำเต็มของคำว่า "F-1" และ "F1" ดังนี้ เครื่องหมาย และ จึงมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน
เครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA-1" และอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA 1" ในบรรทัดบน กับตัวอักษรไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง ตัวอักษรทั้งสองบรรทัดมีขนาดใกล้เคียงกัน คำในทั้งสองบรรทัดจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมาย และ แล้ว เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นเครื่องหมายที่มีคำว่า "FORMULA" มีตัวสะกดเหมือนกันทุกประการ ตามด้วยเลขอารบิก "1" เหมือนกัน และต่างเป็นเครื่องหมายที่มีเฉพาะภาคส่วนคำทั้งสองเครื่องหมายอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่าวัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายของโจทก์จะมีคำภาษาไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง แต่ก็เป็นคำทับศัพท์จากอักษรโรมันซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษในบรรทัดบน โดยอาจอ่านออกเสียงได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน และแม้เครื่องหมายของจำเลยร่วมจะมีเครื่องหมาย "-" อยู่ระหว่างคำว่า "FORMULA" และเลข "1" แต่ก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เสียงเรียกขานแตกต่างไปจากคำในเครื่องหมายของโจทก์ กรณีจึงนับได้ว่าเครื่องหมาย และ มีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกัน
บริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทในเครือของเดอะ ฟอร์มูล่า วัน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันเครื่อง อะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์และรถแข่ง รวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขันรถแข่งภายใต้เครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" โจทก์มีหน้าที่ในด้านส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมแข่งขันรถชิงแชมป์โลก "ฟอร์มูล่าวัน" ร่วมกับสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติซึ่งเป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดของโลก มีผู้ติดตามชมการแข่งขันทางโทรทัศน์กว่า 400,000,000 คน ต่อปี ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โจทก์ยื่นขอและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" ในหลายประเทศทั่วโลก เครื่องหมายการค้าและบริการคำว่า "Formula 1" และ "F1" ของโจทก์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยมาประมาณ 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันเป็นครั้งแรกปี 2490 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงนับเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ดังนี้ เมื่อได้ความว่าเครื่องหมาย และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมาย และ ของโจทก์ เครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10)
เครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA-1" และอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA 1" ในบรรทัดบน กับตัวอักษรไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง ตัวอักษรทั้งสองบรรทัดมีขนาดใกล้เคียงกัน คำในทั้งสองบรรทัดจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมาย และ แล้ว เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นเครื่องหมายที่มีคำว่า "FORMULA" มีตัวสะกดเหมือนกันทุกประการ ตามด้วยเลขอารบิก "1" เหมือนกัน และต่างเป็นเครื่องหมายที่มีเฉพาะภาคส่วนคำทั้งสองเครื่องหมายอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่าวัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายของโจทก์จะมีคำภาษาไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง แต่ก็เป็นคำทับศัพท์จากอักษรโรมันซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษในบรรทัดบน โดยอาจอ่านออกเสียงได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน และแม้เครื่องหมายของจำเลยร่วมจะมีเครื่องหมาย "-" อยู่ระหว่างคำว่า "FORMULA" และเลข "1" แต่ก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เสียงเรียกขานแตกต่างไปจากคำในเครื่องหมายของโจทก์ กรณีจึงนับได้ว่าเครื่องหมาย และ มีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกัน
บริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทในเครือของเดอะ ฟอร์มูล่า วัน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันเครื่อง อะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์และรถแข่ง รวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขันรถแข่งภายใต้เครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" โจทก์มีหน้าที่ในด้านส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมแข่งขันรถชิงแชมป์โลก "ฟอร์มูล่าวัน" ร่วมกับสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติซึ่งเป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดของโลก มีผู้ติดตามชมการแข่งขันทางโทรทัศน์กว่า 400,000,000 คน ต่อปี ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โจทก์ยื่นขอและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" ในหลายประเทศทั่วโลก เครื่องหมายการค้าและบริการคำว่า "Formula 1" และ "F1" ของโจทก์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยมาประมาณ 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันเป็นครั้งแรกปี 2490 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงนับเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ดังนี้ เมื่อได้ความว่าเครื่องหมาย และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมาย และ ของโจทก์ เครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10)