พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมางาน การเรียกคืนเงินค่าจ้างงวดที่ 1 เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในงวดที่ 2 และขอบเขตการรับผิดของธนาคารผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาจ้างผู้ว่าจ้างจะแบ่งจ่ายเงินให้เป็นงวด ๆ คือ งวดที่ 1 เงิน 56,900 บาท จะจ่ายให้เมื่อผู้รับจ้างได้ทำงานนั้นเสร็จ โดยผู้รับจ้างต้องทำหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในวงเงิน 56,900 บาท มามอบให้กับผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันเงินที่ได้รับไป หากปฏิบัติงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาให้เรียกเงินค้ำประกันจำนวน 56,900 บาท จากธนาคารได้ทันที จะคืนหนังสือค้ำประกันให้เมื่อคณะกรรมการฯ ได้ตรวจรับงานงวดที่สองแล้ว ข้อความในสัญญาที่ว่า หากปฏิบัติงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาให้เรียกเงินค้ำประกันจำนวน 56,900 บาท คืนจากธนาคารได้ทันทีนั้นต้องหมายความถึงการที่ผู้รับจ้างผิดสัญญาตั้งแต่งานงวดที่ 2 เป็นต้นไป ธนาคารจะหมดความรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวต่อเมื่อมีการตรวจรับงานงวดที่ 2 โดยผู้ว่าจ้างคืนหนังสือค้ำประกันให้แล้ว เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาทำงานงวดที่สองไม่เสร็จ ก็ต้องร่วมกับธนาคารคืนเงินค่าจ้างวดที่ 1 ให้แก่ผู้ว่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินค่าจ้างรายพิพาท ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.สัญจรโรค: เงินค่าจ้างจากการค้าบริการทางเพศ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิด
การที่หญิงรับจ้างให้ชายกระทำชำเราสำส่อนนั้นยังไม่เป็นความผิด ความผิดเกิดขึ้นเพราะไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานเสียก่อน เท่านั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับมาจากการให้ชายทำชำเรา จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำผิดตามความในกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 27(2) จะริบเงินนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราสำส่อนที่ไม่ผิดกฎหมาย และการริบเงินค่าจ้าง
การที่หญิงรับจ้างให้ชายกระทำชำเราสำส่อนนั้นยังไม่เป็นความผิด ความผิดเกิดขึ้นเพราะไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานเสียก่อนเท่านั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับมาจากการให้ชายทำชำเรา จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำผิด ตามความในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 27(2) จะริบเงินนั้นไม่ได้