คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินค่าทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระราคาซื้อขายทอดตลาดเกินกำหนด: สิทธิในทรัพย์สินและการได้รับเงินค่าทดแทน
คดีนี้แม้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือเกินเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้ในหมาย แต่เมื่อพิจารณาจากคำสั่งกรมบังคับคดีประกอบกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เห็นได้ว่ามิได้มีการบังคับตายตัวว่าถ้าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระราคาภายในกำหนดเวลาแล้วให้ถือว่าสัญญาซื้อขายที่ดินต้องเลิกกันทันทีหรือผู้ซื้อทรัพย์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและจะต้องริบเงินมัดจำเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมบังคับคดี เมื่อรองอธิบดีกรมบังคับคดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีในขณะนั้นมีคำสั่งเห็นชอบกับบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นควรให้รับเงินส่วนที่เหลือจากผู้ซื้อทรัพย์ และผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 515 แล้ว ย่อมได้สิทธิในที่ดินพิพาทแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 เมื่อที่ดินแปลงที่ซื้อถูกเวนคืนทั้งหมด และกรมทางหลวงได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินค่าทดแทนเวนคืนสำหรับภาระจำยอม: การพิจารณาผู้รับประโยชน์และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางตามมาตรา 1349 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็นโดยเฉพาะ ไม่รวมถึงผู้ได้สิทธิในการใช้ทางเป็นภาระจำยอมโดยประการอื่น และเมื่อมาตรา 29 บัญญัติถึงทรัพยสิทธิอย่างอื่นเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนไว้แล้วซึ่งทางภาระจำยอมในคดีนี้เป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาตรา 18 (6) มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้สิทธิในภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงอื่นโดยทางอื่นนอกจากบทบัญญัติมาตรา 18 (6) จึงต้องบังคับตามมาตรา 29
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเจ้าของภารจำยอม & หน้าที่จ่ายเงินเมื่อไม่มารับชดใช้
บทบัญญัติมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลผู้มีสิทธิ ได้รับเงินค่าทดแทนนั้น หมายถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ ทางตามมาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็น ส่วนกรณีทางภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 29ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ หาอาจนำมาตรา 18(6) มาใช้บังคับโดยอาศัยมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ไม่ ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิหรือทางภารจำยอมตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 29จะต้องร้องขอรับชำระหนี้หรือรับชดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา 28, หรือมาตรา 29แล้วแต่กรณี หากในระหว่างเวลา 60 วันนั้นผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ จึงจะมีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิดังกล่าวมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา 60 วันก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกันเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์หาชอบที่จะนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ไว้ตามบทบัญญัติมาตรา 31 ไม่ เมื่อจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนให้แก่โจทก์ แต่จำเลยนำไปวางทรัพย์ไว้ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการวางทรัพย์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าทดแทนจากอุบัติเหตุร้ายแรง: สิทธิพิเศษตามประกาศ คปต., การระงับข้อพิพาท, และการหักเงินที่ได้รับไปแล้ว
นายอำเภอ เจ้าหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเงินค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้วินิจฉัยให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ตาย จ่ายเงินค่าทดแทนและค่าทำศพแก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย จำเลยอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ว่านายอำเภอไม่มีสิทธิวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายเงินรายนี้ เพราะโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และรับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทน หรือไม่ต้องจ่ายนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกเหนืออำนาจไม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเกิดระเบิดเป็นอุบัติเหตุ และสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ จำเลยไม่นำคดีมาสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ ข้อ 14 ต้องถือว่าเรื่องเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ เมื่อโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนนั้น จำเลยจะโต้แย้งอีกว่า เหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ตาย และสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ หาได้ไม่
โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยจำนวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะวินิจฉัยว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ และจำเลยจะโต้แย้งในชั้นศาลอีกมิได้แต่เงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับไปแล้วก็ชอบที่จะหักออกจากเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์
เหตุที่ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสามแปลงและรับเงินค่าทดแทน สืบเนื่องจากผู้คัดค้านอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสามแปลง เจ้าพนักงานจึงได้นำเงินค่าทดแทนฝากไว้กับธนาคารออมสิน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินค่าทดแทนไปวางต่อศาล หรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2532 ข้อ 9 ซึ่งกำหนดว่า ...ในกรณีที่การวางเงินค่าทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายได้ตาม มาตรา 28 วรรคสอง หรือมาตรา 29 เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้ก็ต่อเมื่อ ... (2) มีคำพิพากษาถึงที่สุดมาแสดง ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่อาจตกลงกันได้ ซึ่งการที่ผู้ร้องทั้งห้าจะใช้สิทธิในทางศาล ป.วิ.พ. มาตรา 55 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้" ดังนั้น เมื่อการที่ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนสืบเนื่องมาจากการโต้แย้งคัดค้านของผู้คัดค้าน ผู้ร้องทั้งห้าจึงต้องฟ้องผู้คัดค้านเป็นคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องทั้งห้าจะเสนอคดีเป็นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่เจ้าพนักงานฝากไว้กับธนาคารออมสินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์
ผู้ร้องทั้งห้าไม่สามารถเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะผู้คัดค้านโต้แย้งคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านทั้งหมด ดังนี้ ผู้ร้องทั้งห้าจึงต้องฟ้องผู้คัดค้านเป็นคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องทั้งห้าไม่มีสิทธิเสนอคดีเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าทำสัญญาซื้อขายและรับเงินค่าทดแทนที่เจ้าพนักงานฝากไว้กับธนาคารออมสิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16273/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและอาคาร: ตัวแทน, สิทธิในเงินค่าทดแทน, และการบังคับชำระหนี้แทนกัน
การยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อทางราชการมิใช่แบบของนิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงสามารถนำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่าเป็นตัวแทนกันได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 อาคารที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่บนที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นที่ยินยอมให้อาคารนั้นตั้งอยู่ อาคารดังกล่าวไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินและไม่มีเอกสารสิทธิตามกฎหมายที่แสดงว่าผู้ใดเป็นเจ้าของอาคารประกอบกับโจทก์มีหนังสือโต้แย้งคัดค้านว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงควรไต่สวนค้นหาความจริงให้รอบด้านว่าผู้ใดเป็นเจ้าของอาคารตามความเป็นจริงหรือมิฉะนั้น จำเลยที่ 5 ควรรอคำวินิจฉัยของศาลตามคำร้องขอของโจทก์ การที่จำเลยที่ 5 ด่วนจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจ่ายเงินค่าทดแทนไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน เมื่อจำเลยที่ 2 รับเงินค่าทดแทนจากอาคารของจำเลยที่ 1 ถูกทางราชการเวนคืน อันเกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนแล้วไม่ยอมส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเงินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 เมื่อจำเลยที่ 1 เพิกเฉย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 และต้องเสียประโยชน์จากการเพิกเฉยของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 1 เพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 ได้ ในขณะเดียวกันเมื่อจำเลยที่ 5 และที่ 6 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนที่แท้จริง และจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ทวงถามเอาจากจำเลยที่ 5 และที่ 6 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงสามารถใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของตนเองตามมาตรา 233 บังคับจำเลยที่ 5 และที่ 6 ให้จ่ายเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ได้