พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาซื้อขายห้องชุดและการสละเงื่อนเวลา การผิดสัญญาและการริบเงินดาวน์
การที่โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด ก็ด้วยเหตุที่เกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทล่าช้า และมิได้เป็นไปตามรูปแบบในสัญญา การที่โจทก์รับโอนสิทธิดังกล่าว โจทก์ย่อมที่จะรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ ว. และ ช. มีต่อจำเลยก็ตาม แต่เมื่อสัญญาโอนการจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์อาคารชุดมีข้อความระบุไว้ในข้อ 3 ว่า "ณ วันทำสัญญาโอนการจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์อาคารชุดนี้... ผู้รับโอนจะต้องชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวนี้ภายใน 14 วัน นับจากวันทำสัญญาฉบับนี้ โดยไม่มีการตรวจรับมอบห้องและโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าผู้รับโอนผิดสัญญา ผู้รับโอนยินยอมให้ผู้จะขายยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายฉบับนี้พร้อมริบเงินมัดจำที่ได้ชำระมาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว..." ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวนี้ย่อมแสดงเจตนาของคู่สัญญาได้ว่า ตกลงยกเลิกกำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์เดิมที่ ว. และ ช. ทำไว้กับจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์รับรู้มาตลอดว่า การก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทล่าช้า ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างอยู่ในความดูแลรับผิดชอบในการบริหารโครงการของโจทก์ ทั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวัสดุต่าง ๆ ก็ด้วยความรู้เห็นและยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาเพราะการก่อสร้างล่าช้า หรือมีข้อบกพร่องในการก่อสร้างได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ไม่รับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินที่เหลือให้แก่จำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดาวน์ที่ชำระมาแล้วคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายรถเช่าซื้อจากละเมิด: เงินดาวน์เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ, ไม่ซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาโดยชำระเงินดาวน์และชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ เงินดาวน์จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่เช่าซื้อ เมื่อ ส. ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เสียหายใช้การไม่ได้ โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายราคารถยนต์ของโจทก์ที่ 1 จาก ส. ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ผู้รับประกับภัยรถยนต์ของ ส. แม้ว่าบริษัท ก. ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 จะได้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระค่าเสียหายเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนอยู่ซึ่งโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องเอาจากผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ทำละเมิดได้เท่านั้น เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นความเสียหายโดยตรงในผลแห่งละเมิด และเป็นค่าเสียหายตามมูลละเมิดและตามสัญญาประกันภัย จึงมิใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุและไม่เป็นค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับไปจากบริษัท ก. ซึ่งเป็นราคารถยนต์คนละส่วนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิดในสัญญาเช่าซื้อ: เงินดาวน์เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ, ค่าสินไหมทดแทนไม่ซ้ำซ้อน
โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากบริษัท ต. โดยชำระเงินดาวน์จำนวน 79,000 บาท และชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ เงินดาวน์จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ เมื่อ ส. ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เช่าซื้อมาเสียหายใช้การไม่ได้ โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายราคารถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เช่าซื้อมาจาก ส. ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของ ส. ตามมูลละเมิดและกรมธรรม์ประกันภัย แม้ว่าบริษัท ก. ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เช่าซื้อมาจะได้ชำระค่าสินไหมทดแทนราคารถยนต์ให้แก่บริษัท ต. ไปแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงการชำระค่าเสียหายเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนอยู่เท่านั้น จึงเป็นการชำระราคารถยนต์เพียงบางส่วนมิได้ชำระราคารถยนต์ทั้งหมด ราคารถยนต์ส่วนที่ไม่ได้ชำระจึงเป็นราคารถยนต์หรือค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องเอาจากผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยตั้งรูปคดีว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์ในการเช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุ ส. ได้ทำละเมิดให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เช่าซื้อมาเสียหายใช้การไม่ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ชำระเป็นเงินดาวน์ในการเช่าซื้อดังกล่าวในฐานะทายาทของ ส. ผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของ ส. ผู้ทำละเมิด เท่ากับเป็นการเรียกเงินเท่ากับจำนวนเงินดาวน์เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เพราะมิใช่การเรียกเงินดาวน์คืนจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ กรณีเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายราคารถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เสียหายใช้การไม่ได้ อันเป็นความเสียหายโดยตรงในผลแห่งละเมิด และเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายตามมูลละเมิดและตามสัญญาประกันภัย จึงมิใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ และไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนที่บริษัท ต. ได้รับไปจากบริษัท ก. ซึ่งเป็นราคารถยนต์คนละส่วนกัน
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยตั้งรูปคดีว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์ในการเช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุ ส. ได้ทำละเมิดให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เช่าซื้อมาเสียหายใช้การไม่ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ชำระเป็นเงินดาวน์ในการเช่าซื้อดังกล่าวในฐานะทายาทของ ส. ผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของ ส. ผู้ทำละเมิด เท่ากับเป็นการเรียกเงินเท่ากับจำนวนเงินดาวน์เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เพราะมิใช่การเรียกเงินดาวน์คืนจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ กรณีเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายราคารถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ที่เสียหายใช้การไม่ได้ อันเป็นความเสียหายโดยตรงในผลแห่งละเมิด และเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายตามมูลละเมิดและตามสัญญาประกันภัย จึงมิใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ และไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนที่บริษัท ต. ได้รับไปจากบริษัท ก. ซึ่งเป็นราคารถยนต์คนละส่วนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านค้างชำระ & ล่าช้า ผู้ขายต้องคืนเงินดาวน์ หากไม่พร้อมโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและล่วงเลยเวลาการชำระหนี้มาประมาณครึ่งปีแล้ว โดยโจทก์มิได้ชำระเงินดาวน์ให้ครบถ้วนตามสัญญา ส่วนจำเลยก็มิได้ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จในกำหนดที่ตกลงเช่นกัน หนี้ที่จำเลยทวงถามเป็นเงินดาวน์งวดสุดท้ายเพียง 29,500 บาท ซึ่งโจทก์ชำระมาแล้วถึง 642,000 บาท คงเหลือเพียงการโอนกรรมสิทธิ์กันและชำระเงินที่เหลือทั้งหมดโดยวิธีกู้เงินจากธนาคารเท่านั้น ดังนั้น หนังสือบอกกล่าวของจำเลยที่ทวงถามให้โจทก์ชำระหนี้เงินดาวน์งวดสุดท้ายเพื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น จำเลยจะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ด้วยว่าจำเลยพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ด้วย โจท์ก่จะไม่ยอมชำระหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังจากจำเลยเคยบอกเลิกสัญญามาแล้ว เท่ากับต่างฝ่ายต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินดาวน์ที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่ได้ระบุเงินดาวน์ เพราะเงินดาวน์ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุค่าเช่าซื้อจำนวน 2,878,504.80 บาท นั้น จำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำนวนเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้ว การระบุค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้วก็เพื่อการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละงวดเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์แม้จะมิได้ระบุในสัญญาก็หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องระบุจำนวนเงินดาวน์ไว้ จึงเป็นเพียงข้อเท็จจริง ที่คู่ความอาจนำสืบได้ เอกสารสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า: เงินดาวน์ไม่ใช่เงินมัดจำ, เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดได้
แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะแม้โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สูญหายคืนเงินดาวน์ฐานลาภมิควรได้
ขณะโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อก็ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันทำให้สัญญาเช่าซื้อระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เงินค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247
เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันทำให้สัญญาเช่าซื้อระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เงินค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บเงินดาวน์ไม่ครบถ้วนและการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนฝ่ายขายมิได้เก็บเงินดาวน์ทั้งหมดจากลูกค้าที่เช่าซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เก็บเงินดาวน์มาเพียงบางส่วนและให้ลูกค้าชำระเงินดาวน์ส่วนที่เหลือในภายหลังนั้น โจทก์ให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบเงินดาวน์ส่วนที่เหลือเองโดยหากจำเลยทั้งสองยังมิได้นำเงินดาวน์ส่วนที่เหลือมาชำระให้โจทก์ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โจทก์ก็จะนำเงินดาวน์ส่วนที่เหลือดังกล่าวมาหักออกจากยอดรายได้ของจำเลยทั้งสองในการคิดบัญชีของโจทก์และจำเลยทั้งสองในวันที่ 10 ของเดือนนั้น ดังนี้ แม้จำเลยทั้งสองเก็บเงินดาวน์ส่วนที่เหลือจากลูกค้าเป็นจำนวนตามฟ้องแล้วยังไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวไปส่งมอบให้โจทก์ และไม่มาคิดบัญชีประจำเดือนกับโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวก็เป็นเพียงการผิดสัญญาในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินดาวน์เช่าซื้อ, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การชำระด้วยเช็ค, ความเสียหายจากการใช้รถ
เงินดาวน์เป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งที่ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระในวันทำสัญญา หาใช่เงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ ตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินดาวน์ด้วย ตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อห้ามการชำระค่าเช่าซื้อด้วยเช็คโจทก์ผู้ให้เช่าย่อมรับชำระเงินดาวน์ด้วยเช็คได้ เมื่อโจทก์รับเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหาย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหาย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินดาวน์ที่ชำระด้วยเช็คที่โจทก์เรียกเก็บไม่ได้ และต้องรับผิดในค่าเสียหายจากการใช้รถ
เงินดาวน์เป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งที่ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระในวันทำสัญญา หาใช่เงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินดาวน์ด้วย ตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อห้ามการชำระค่าเช่าซื้อด้วยเช็คโจทก์ผู้ให้เช่าย่อมรับชำระเงินดาวน์ด้วยเช็คได้ เมื่อโจทก์รับเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่า โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่า โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)