พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ: ค่าจ้าง, ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ, ระยะเวลาทดลองงาน และเงินสวัสดิการ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดคำนิยามของคำว่า "ค่าจ้าง"และ"ค่าแรง" ไว้ นอกจากนี้ในข้อบังคับดังกล่าวใช้คำว่าค่าจ้างและค่าแรง ปะปนกันไม่แน่นอน เป็นต้นว่า ข้อ 4.3 การเข้าทำงานสายจะถูกตัดค่าแรงลงตามส่วน แต่ในข้อ 4.4 ในวันหยุดตามประเพณีพนักงานมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานตามปกติและในข้อ 5 เกี่ยวกับเรื่อง การทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าแรง ก็ระบุไว้ในข้อ 5.1 ว่า พนักงานทำงานเกินเวลาปกติจะได้รับค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในการทำงานตามปกติสำหรับเวลาที่ทำงานเกิน ดังนี้ค่าแรงก็คือค่าจ้างที่เอามาเฉลี่ยคิดให้เป็นวันหรือชั่วโมงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าค่าแรง ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมายถึงค่าจ้างจึงชอบแล้ว
เงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์มีสิทธิได้รับเป็นการประจำและมีจำนวนแน่นอนจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เงินค่าที่พักที่จำเลยจ่ายช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเอง ลูกจ้างที่มีที่พักแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเภทนี้ เงินค่าที่พักดังกล่าวจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง หาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่
เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ หากจำเลยไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานดังกล่าวรวมเข้าด้วย จำเลยก็น่าจะระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวให้ชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยสามารถจะทำได้อีกประการหนึ่งเมื่อจำเลยออกใบผ่านงานให้โจทก์ที่ 3 จำเลยก็ระบุว่าโจทก์ที่ 3 ทำงานกับจำเลยตั้งแต่วันแรกที่โจทก์ที่ 3 เข้าทำงานทดลองงานกับจำเลย ด้วยเหตุนี้จึงต้องถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษสำหรับโจทก์ที่ 3 ด้วย
เงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์มีสิทธิได้รับเป็นการประจำและมีจำนวนแน่นอนจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เงินค่าที่พักที่จำเลยจ่ายช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเอง ลูกจ้างที่มีที่พักแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเภทนี้ เงินค่าที่พักดังกล่าวจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง หาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่
เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ หากจำเลยไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานดังกล่าวรวมเข้าด้วย จำเลยก็น่าจะระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวให้ชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยสามารถจะทำได้อีกประการหนึ่งเมื่อจำเลยออกใบผ่านงานให้โจทก์ที่ 3 จำเลยก็ระบุว่าโจทก์ที่ 3 ทำงานกับจำเลยตั้งแต่วันแรกที่โจทก์ที่ 3 เข้าทำงานทดลองงานกับจำเลย ด้วยเหตุนี้จึงต้องถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษสำหรับโจทก์ที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ, ค่าจ้าง, ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ, ระยะเวลาทำงาน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานของจำเลยที่ทำงานเกิน5ปีหรือเกิน10ปีขึ้นไปเท่ากับ50วันหรือ300วันของค่าแรงอัตราสุดท้ายในขณะลาออกแต่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมิได้กำหนดนิยามคำว่า"ค่าจ้าง"และ"ค่าแรง"ไว้ดังนั้นค่าแรงก็คือค่าจ้างที่เอามาเฉลี่ยคิดให้เป็นวันหรือชั่วโมงและต้องนำเงินทั้งหมดที่ถือว่าเป็นค่าจ้างมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษส่วนเงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของการทำงานเงินทั้ง2ประเภทถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยจึงต้องนำมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษด้วยส่วนเงินค่าที่พักเป็นเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเองลูกจ้างที่มีที่พักแล้วไม่มีสิทธิได้รับจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการหาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติไม่จึงไม่ใช่ค่าจ้างไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษได้และตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุหากไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานรวมเข้าด้วยจำเลยน่าจะระบุไว้ให้ชัดแจ้งเมื่อไม่ระบุจึงถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014-3018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการเงินตอบแทนพิเศษ: มติคณะกรรมการไม่ใช่เงื่อนไขการจ่าย แต่เป็นวิธีดำเนินการ นายจ้างต้องจ่ายเมื่อลูกจ้างไม่ผิดวินัย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างระบุว่า"บริษัทให้เงินตอบแทนพิเศษแก่พนักงานที่ทำงานครบ5ปีแล้วลาออกให้เงินตอบแทน50วันของค่าแรงขณะนั้นทำงานเกิน10ปีแล้วลาออกให้เงินตอบแทนไม่น้อยกว่า300วันของค่าแรงขณะนั้นแต่ต้องผ่านมติของคณะกรรมการผู้ที่ทำผิดถูกไล่ออกเงินตอบแทนนี้ไม่จ่ายให้เลย"การจ่ายเงินตอบแทนพิเศษนี้เป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งซึ่งนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างทุกคนอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยตามถ้อยคำนายจ้างประสงค์จะให้สวัสดิการอันมีลักษณะเป็นการจูงใจพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทของนายจ้างเป็นเวลานานปีและหากพนักงานดังกล่าวได้ทำงานครบห้าปีหรือครบสิบปีแล้วลาออกจากงานก็จะได้เงินตอบแทนพิเศษตามอัตราที่กำหนดไว้ทุกคนนายจ้างจะไม่จ่ายเงินตอบแทนพิเศษดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่กระทำผิดและถูกไล่ออกเท่านั้นสำหรับถ้อยคำที่นายจ้างกำหนดไว้ว่าแต่ต้องผ่านมติของคณะกรรมการนั้นเป็นเพียงวิธีดำเนินการของนายจ้างฝ่ายเดียวเท่านั้นมิใช่เป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินตอบแทนพิเศษเพราะหากเป็นเงื่อนไขก็จะทำให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปตามความพอใจของนายจ้างหรือการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นรายๆไปอันเป็นช่องทางก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทำผิดถูกไล่ออกตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้างต้นนายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตอบแทนพิเศษให้แก่ลูกจ้างนั้น