คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินทดรอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจากบัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบธุรกิจให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ โดยสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ให้แก่ร้านค้าหรือสถานบริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ เมื่อร้านค้าหรือสถานบริการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินภายหลังจากสมาชิก การประกอบธุรกิจดังกล่าวมีลักษณะเป็นการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและการใช้บริการ ส่วนการให้สมาชิกเบิกเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าวซึ่งโจทก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการเบิกเงินสดล่วงหน้าด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนก็ดีหรือให้สมาชิกเบิกเงินสดล่วงหน้าแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังก็ดี ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจากบัตรเครดิต: การให้บริการบัตรเครดิตถือเป็นการรับทำการงานต่าง ๆ มีอายุความ 2 ปี
แม้โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่การที่โจทก์ให้บริการแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิกด้วยจึงเป็นการประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ แก่สมาชิกเมื่อโจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ไปแล้วมาเรียกเก็บจากสมาชิกบัตรในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 พร้อมทั้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตร ดังนี้อย่างช้าที่สุดจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 23 พฤษภาคม 2536 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 จึงขาดอายุความแล้ว การรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องกระทำก่อนที่จะขาดอายุความ จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์บางส่วนภายหลังจากขาดอายุความแล้ว จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความดังกล่าวมีผลเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกเงินที่ชำระไปคืนไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคหนึ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างครอบคลุมถึงเงินทดรองค่าวัสดุ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์แล้วเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน 10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใดมีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้าซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คค้ำประกันหนี้ซื้อขายหุ้น: การจ่ายเช็คล่วงหน้าเพื่อซื้อหุ้นโดยโจทก์ออกเงินทดรอง ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
การที่จำเลยสั่งโจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และได้ออกเช็คเพื่อการชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องออกเงินทดรองจ่ายให้ก่อน เมื่อทวงถามจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็ชอบที่จะนำหลักทรัพย์คือหุ้นที่เป็นของจำเลยออกขายแล้วนำมาหักกลบลบหนี้ได้ แสดงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ทั้งที่ยังไม่รู้ถึงจำนวนหนี้แน่นอน จะรู้เมื่อหักหุ้นที่โจทก์นำออกขายและนำมาหักกลบลบหนี้เหลือเป็นจำนวนหนี้สุทธิ ดังนั้น การจ่ายเช็คของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากการให้บริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองก่อนแล้วเรียกเก็บภายหลังเข้าข่ายอายุความ 2 ปี
การให้บริการประเภทบัตรเครดิตเป็นวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์การที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรดังกล่าวจากสมาชิกโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อนกรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7) ตามใบแจ้งยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้องกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปภายในวันที่10กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่18กันยายน2538จึงพ้นกำหนด2ปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากการให้บริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(7)
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าบริการต่าง ๆกับเบิกเงินสดจากสถานประกอบกิจการค้าต่าง ๆ และธนาคารทั้งในและต่างประเทศ โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง การให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปีโจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นฎีกาต้องห้าม และอายุความของเงินทดรองค่าหุ้น
จำเลยฎีกาว่าสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์เป็นโมฆะเพราะโจทก์มิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและมิได้มีวัตถุประสงค์ซื้อขายหลักทรัพย์ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยไปเป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองจ่ายไปชดใช้จากตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าใบยาสูบที่เหลือจากการซื้อขาย ไม่ใช่การฟ้องเรียกเงินทดรอง จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายใบยาสูบแห้งกัน โจทก์จ่ายเงินทดรองให้แก่จำเลยเป็นค่าซื้อใบยาสูบแห้งล่วงหน้า เมื่อจำเลยส่งใบยาสูบแห้งให้โจทก์ก็คิดหักราคากันโดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์จากเงินทดรองที่ยังไม่ได้หักหนี้นับแต่วันรับเงินทดรองจนกว่าจะคืนเงินที่เหลือด้วย ต่อมาเมื่อคิดหักหนี้กันแล้วปรากฏว่ายังมีเงินค่าใบยาสูบแห้งที่จำเลยรับล่วงหน้าเหลือและดอกเบี้ย การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยมิใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนชำระหนี้แทน, สิทธิเรียกร้องเงินทดรอง, ตัวการต้องรับผิดชอบ
จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ได้ออกเงินทดรองค่าเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทไป ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็น เพราะมิฉะนั้นผู้ให้เช่าซื้อจะไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้ จำเลยจึงมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนี้และดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กรณีเช่นนี้แม้จำเลยมิได้ฟ้องเรียกร้องมา แต่โจทก์เป็นตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยรวมทั้งดอกเบี้ยตามบทบัญญัติข้างต้น ทั้งกรณีก็เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งเพราะจำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อบางส่วนแทน โจทก์จึงมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อนั้นให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองซื้อหุ้น: ตัวแทน-ตัวการ, อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งโจทก์ได้ออกเงินทดรองไปตามที่จำเลยสั่งซื้อจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน จากตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.
of 4