คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินสมทบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณอัตราเงินสมทบเงินทดแทน ต้องใช้เฉพาะเงินทดแทนที่จ่ายจริงในปีนั้น ไม่รวมค่าทดแทนในอนาคต
ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามนั้น เป็นการเพิ่มหรือลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นการเพิ่มหรือลดตามสัดส่วนการสูญเสียของนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินทดแทนโดยใช้จำนวนเงินทดแทนที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนแต่ละปี สำหรับเงินทดแทนส่วนที่เป็นค่าทดแทนรายเดือนที่กำหนดจ่ายเกินกว่า 1 ปี ค่าทดแทนดังกล่าวหมายเฉพาะค่าทดแทนที่ต้องจ่ายจริงในปีนั้น ๆ เท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงค่าทดแทนส่วนที่ยังไม่ถึงเวลาที่ลูกจ้างจะได้รับในปีนั้นด้วยไม่ คำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ 167/2545 ของจำเลยที่ถือเอาเงินทดแทนที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 484,368 บาท เป็นฐานในการคำนวณอัตราส่วนการสูญเสียจึงไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว และกำหนดอัตราเงินสมทบใหม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการนอกเวลางาน: ไม่อยู่ในข้อยกเว้น พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบ
พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวันและลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรมคือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ สำหรับพยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการทำงานพิเศษนอกเวลาราชการ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ พยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความใน มาตรา 4 (1) พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์จึงเป็นนายจ้างที่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมโดยนายจ้างแม้ไม่ใช่จากค่าจ้าง ไม่กระทบสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 47 เป็นเพียงการกำหนดวิธีการและหน้าที่ของนายจ้างที่จะดำเนินการนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนและในส่วนของนายจ้างแก่สำนักงานประกันสังคมว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร และยังบัญญัติให้นายจ้างมีอำนาจที่จะหักค่าจ้างของลูกจ้างอันเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็หามีบทบัญญัติใดที่พอจะแปลว่าเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนจะต้องเป็นเงินที่หักมาจากค่าจ้างของผู้ประกันตนเพียงประการเดียวเท่านั้น หากนายจ้างส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนนอกจากค่าจ้างของผู้ประกันตนแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ประกันตนมิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 54 แต่อย่างใดไม่ เมื่อนายจ้างส่งเงินสมทบในส่วนของ ท. ลูกจ้างถึงเดือนกันยายน 2544 แม้จะเป็นเงินของนายจ้าง มิใช่เป็นเงินที่หักมาจากค่าจ้างของ ท. โดยมีเจตนาที่จะช่วยเหลือ ท. ให้ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลตามสิทธิอันเป็นการแสดงถึงความเอื้ออาทรของนายจ้างต่อลูกจ้าง จึงหาใช่เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อ ท. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 มกราคม 2545 ย่อมเป็นกรณีที่ ท. ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท. ย่อมมีสิทธิได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องเงินสมทบเงินฝากสะสมช่วงเวลาต่างกันถือเป็นการรื้อร้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่เลิกจ้างโจทก์จนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุ แต่ทั้งสองคดีก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบซึ่งโจทก์อ้างว่ามีสิทธิจะได้รับตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินฝากสะสมฯ ซึ่งโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวในคราวเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบในคดีนี้อีก ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างก่อนกำหนดตามข้อตกลง และการส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทน
แม้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติ แต่ก็เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่ว่า หากวันที่กำหนดตรงกับวันหยุดให้จ่ายค่าจ้างก่อนวันหยุดนั้น จึงถือเป็นการจ่ายค่าจ้างตามปกติ ไม่ใช่การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า เมื่อนายจ้างได้หักค่าจ้างของโจทก์เพื่อส่งเป็นเงินสมทบแล้วในวันเดียวกัน จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบเจ็ดเดือนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างก่อนกำหนดไม่กระทบสิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม หากมีการหักเงินสมทบตามกฎหมาย
ไม่มีกฎหมายใดบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรายเดือนในวันสิ้นสุดของเดือน มิฉะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าจ้าง และตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 วรรคหนึ่งทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง นายจ้างต้องหักค่าจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ว่าการจ่ายค่าจ้างนั้นจะได้กระทำเมื่อใด ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับนายจ้างกำหนดให้จ่ายค่าจ้างเดือนละครั้งทุกวันที่ 25 ของเดือนหากตรงกับวันหยุดให้จ่ายค่าจ้างก่อนวันหยุดนั้น ปรากฏว่าวันที่ 24 และ 25 กุมภาพันธ์2544 เป็นวันหยุด นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ให้โจทก์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 การที่จ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวจึงไม่ใช่การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า เมื่อนายจ้างได้หักค่าจ้างของโจทก์เพื่อส่งเป็นเงินสมทบแล้วในวันเดียวกันจึงต้องถือว่าโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบเดือนกุมภาพันธ์ 2544 แล้วตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์2544 โจทก์จึงเป็นผู้ประกันตนที่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ตามเงื่อนไขในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรซึ่งตลอดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544
โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 4,000บาท ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 66 ประกอบประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 และมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นการเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างตามมาตรา 57 เป็นเวลา 90 วันตามมาตรา 67 เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท จึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจำนวน 22,500 บาท เป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดจำนวนไว้แน่นอน ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าจำเลยจะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสหภาพแรงงาน-นายจ้าง การผ่อนปรนโบนัสช่วงขาดทุน และสิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานนอกจากเพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่สมาชิกแล้ว ยังต้องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันด้วย การที่สหภาพแรงงานธนาคาร ก. และสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคาร ก. ทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารจำเลยที่ 1 ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างกับพนักงานลูกจ้าง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน การผ่อนปรน การจ่ายเงินโบนัสเป็นการชั่วคราวอาจจะช่วยพยุงฐานะทางการเงินและอาจเป็นผลให้จำเลยที่ 1สามารถแก้ไขสถานการณ์ในการประกอบกิจการของตนได้ ซึ่งหากผลประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีกำไร จำเลยที่ 1 ก็สามารถจ่ายเงินโบนัสตามปกติได้ และการที่มีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษนั้นถือได้ว่าเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่สมาชิกด้วยอันเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะยกเลิกสิทธิการได้เงินโบนัสเพียงชั่วคราวเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้รับมติของที่ประชุมใหญ่สหภาพแรงงานทั้งสองจึงสามารถทำข้อตกลงกับจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบด้วยกฎหมายข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคาร ก. จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายโบนัสในช่วงเวลาที่ระบุไว้ในข้อตกลงให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมแม้จ่ายล่วงหน้าก็ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ หากจ่ายครบ 7 เดือน
การหักเงินสมทบของลูกจ้างส่งสำนักงานประกันสังคม ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 หมายความว่า ทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างนายจ้างต้องหักค่าจ้างของลูกจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคม โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างตามปกติหรือตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันที่ 25 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นการจ่ายล่วงหน้าก่อนวันสิ้นเดือนอันเป็นกำหนดจ่ายตามปกติก็เพื่อความสะดวกที่ลูกจ้างจะนำเงินไปใช้จ่ายในระหว่างคลอดบุตรซึ่งไม่ปรากฏว่ามีเจตนาทุจริต เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างแล้ว ผู้เป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างที่จ่ายแก่ลูกจ้างดังกล่าวส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมและเมื่อหักแล้วจะมีผลถือว่าผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง เท่ากับลูกจ้างจ่ายเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2540 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 6 วรรคสาม บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ให้ถือว่าเงินสมทบที่หักจากค่าจ้างที่จ่ายให้ลูกจ้างในเดือนใดเป็นการจ่ายเงินสมทบของเดือนนั้น และไม่ว่าเงิน สมทบนั้นจะได้หักไว้หรือนำส่งเดือนละกี่ครั้ง ให้ถือว่ามีระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบเท่ากับหนึ่งเดือน" จึงถือว่า เป็นการจ่ายเงินสมทบสำหรับเดือนธันวาคม 2540 และถือว่าเป็นการจ่ายเงินสมทบเท่ากับหนึ่งเดือน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ประกันตนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไว้ในมาตรา 65 ว่า? ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดเดือนเป็นสำคัญ มิได้บัญญัติว่า ผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดเดือน
คำสั่งของสำนักงานประกันสังคมและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลแรงงานจะเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าและการส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
แม้นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ล่วงหน้าก่อนวันสิ้นเดือนอันเป็นกำหนดจ่ายตามปกติของนายจ้างก็ตาม แต่ก็เพื่อความสะดวกที่โจทก์จะนำเงินไปใช้จ่ายในระหว่างคลอดบุตรซึ่งไม่ปรากฏว่ามีเจตนาทุจริตแต่อย่างใด เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคม และถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง เมื่อนับรวมกับเงินสมทบที่ส่งไปก่อนหน้านั้นแล้ว โจทก์ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบเจ็ดเดือนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรตามกฎหมาย
of 6