พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องเงินเพิ่มพิเศษในการรับโอนพนักงาน: ความยินยอมเป็นผลผูกพัน
จำเลยรับโอนโจทก์จากหน่วยงานอื่นมาเป็นลูกจ้าง โดยจะให้โจทก์ได้รับอัตราเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงที่ต่ำกว่าแต่ไม่เกินอัตราขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่ง ส่วนเงินจำนวนที่ขาดไปนั้นจำเลยจะจ่ายให้เท่าที่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งเรียกว่า "เงินเพิ่มพิเศษ" โดยมีหลักเกณฑ์ว่าจะจ่ายให้เป็นการชั่วคราวในระยะเวลาเพียง 6 เดือนโจทก์ตกลงยินยอมตามนั้น ความยินยอมของโจทก์จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อครบ 6 เดือนแล้วภายหลังจากนั้นโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องเงินเพิ่มพิเศษมีผลผูกพันลูกจ้างได้ หากลูกจ้างยินยอมรับข้อตกลงนั้นโดยชัดแจ้ง
จำเลยรับโอนโจทก์จากหน่วยงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยจะให้โจทก์ได้รับอัตราเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงที่ต่ำกว่าแต่ไม่เกินอัตราขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่งส่วนเงินจำนวนที่ขาดไปนั้นจำเลยจะจ่ายให้เท่าที่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งเรียกว่า "เงินเพิ่มพิเศษ"โดยมีหลักเกณฑ์ว่าจะจ่ายให้เป็นการชั่วคราวในระยะเวลาเพียง 6 เดือน โจทก์ตกลงยินยอมตามนั้น ความยินยอมของโจทก์จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อครบ 6 เดือนแล้ว ภายหลังจากนั้นโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3928/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุต้องจ่ายค่าชดเชย เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบเป็นค่าจ้างรวมคำนวณค่าชดเชยได้
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบเป็นเงินที่จำเลยจ่ายพร้อมเงินเดือนถือได้ว่าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานของโจทก์ ทั้งข้อบังคับของจำเลยว่าด้วย กองทุนบำเหน็จ กำหนดว่าเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบเป็นค่าจ้างอย่างหนึ่งด้วยจึงต้องนำเงินดังกล่าวมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างฐานคำนวณค่าชดเชย: เงินเพิ่มพิเศษทางทะเล, ค่าครองชีพ, เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำโดยให้ทำงานที่เรือขุดแร่ในทะเล โดยจำเลยให้เงินเพิ่มพิเศษทางทะเลแก่โจทก์ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธความข้อนี้และปรากฏว่าเงินเพิ่มพิเศษนี้เป็นการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานประจำในทะเล แสดงว่าเป็นเงินซึ่งจ่ายเพิ่มให้แก่ค่าจ้างปกติเพราะเหตุที่ต้องไปปฏิบัติงานประจำอยู่ในทะเลจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน นับว่าเป็น 'ค่าจ้าง' แม้จำเลยจะให้การว่า เงินเพิ่มพิเศษนี้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับในขณะปฏิบัติงานอยู่เท่านั้นและคู่ความรับกันว่านอกจากคนงานในเรือขุดยังมีคนงานปฏิบัติหน้าที่อยู่บนบก คนงานในเรือขุดอาจถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่บนบกได้ก็ตาม ก็ไม่ลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นคนงานจำพวกที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในทะเลนั่นเอง และเงินเพิ่มพิเศษค่าทำงานรอบกลางคืนอันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำงานในเรือขุด จำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธเช่นกันจึงต้องนำเงินทั้งสองประเภทนี้ไปรวมกับค่าจ้างปกติเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
แม้ตามข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่า เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นการจ่ายเพื่อสวัสดิการนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ และตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการครองชีพในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม การที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นย่อมทำให้จำเลยแลเห็นได้เองว่าค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเงินที่จ่ายเพิ่มให้นี้จึงเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเช่นกัน จึงต้องถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจัดเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านอยู่ในประเภท 'สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น' บริษัทจำเลยมีคนงานประมาณ 250 คน มีคนงานมีที่พักอยู่ในบริษัทจำเลย 6 ถึง 8 คน ไม่ได้รับค่าเช่าบ้านคนงานอื่นได้ค่าเช่าบ้าน แสดงว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะผูกมัดจิตใจลูกจ้างให้ทำงานอยู่กับจำเลยนาน ๆ และเพื่อไม่ให้ลูกจ้างต้องเป็นกังวลในเรื่องที่พักอาศัย จำเลยจึงรับภาระในสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้ เมื่อจำเลยไม่สามารถจัดที่พักอาศัยให้ได้จึงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้ และเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่ลูกจ้างได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ผู้ที่มีบ้านของตนเองเช่นโจทก์ก็ได้ด้วยดังนี้ไม่อาจถือว่าเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง
แม้ตามข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่า เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นการจ่ายเพื่อสวัสดิการนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ และตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการครองชีพในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม การที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นย่อมทำให้จำเลยแลเห็นได้เองว่าค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเงินที่จ่ายเพิ่มให้นี้จึงเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเช่นกัน จึงต้องถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจัดเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านอยู่ในประเภท 'สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น' บริษัทจำเลยมีคนงานประมาณ 250 คน มีคนงานมีที่พักอยู่ในบริษัทจำเลย 6 ถึง 8 คน ไม่ได้รับค่าเช่าบ้านคนงานอื่นได้ค่าเช่าบ้าน แสดงว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะผูกมัดจิตใจลูกจ้างให้ทำงานอยู่กับจำเลยนาน ๆ และเพื่อไม่ให้ลูกจ้างต้องเป็นกังวลในเรื่องที่พักอาศัย จำเลยจึงรับภาระในสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้ เมื่อจำเลยไม่สามารถจัดที่พักอาศัยให้ได้จึงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้ และเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่ลูกจ้างได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ผู้ที่มีบ้านของตนเองเช่นโจทก์ก็ได้ด้วยดังนี้ไม่อาจถือว่าเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14450-14482/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการเกษียณอายุ ต้องรวมเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้น แม้มีข้อตกลงขัดแย้ง
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้าง โดยสภาพการจ้างหมายความรวมถึงค่าจ้างด้วย คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ใช้อำนาจกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุสำหรับลูกจ้างที่ทำงานก่อนเกษียณอายุเกิน 15 ปี เท่ากับค่าจ้างที่ได้รับก่อนเกษียณอายุเป็นจำนวน 300 วัน ดังนั้น ค่าจ้างทุกประเภทไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไรย่อมเป็นค่าจ้างที่จะนำมาใช้ในการคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณทั้งสิ้น การที่นายจ้างจัดทำบัญชีเงินเดือนแยกประเภทค่าจ้างเป็นหลายบัญชีและเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปไม่เป็นผลให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าจ้างในบัญชีใดบัญชีหนึ่งมาคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน
สำหรับเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมีลักษณะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของลูกจ้าง เงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้น ในการจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานนายจ้างต้องจ่ายให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายซึ่งต้องรวมเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมาเป็นฐานคำนวณด้วย การที่จำเลยกับสหภาพแรงงานทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมีเงื่อนไขมิให้นำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสหภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง จำเลยจึงต้องนำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงานด้วย
สำหรับเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมีลักษณะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของลูกจ้าง เงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้น ในการจ่ายค่าตอบแทนความชอบในการทำงานนายจ้างต้องจ่ายให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายซึ่งต้องรวมเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นมาเป็นฐานคำนวณด้วย การที่จำเลยกับสหภาพแรงงานทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมีเงื่อนไขมิให้นำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสหภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง จำเลยจึงต้องนำเงินเพิ่มพิเศษเต็มขั้นไปรวมคำนวณค่าตอบแทนความชอบในการทำงานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มพิเศษจากการทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้จะระบุในคู่มือพนักงานว่าไม่ใช่
ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 เป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เมื่อคู่มือพนักงานเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 1 จัดหมวดหมู่ของลูกจ้างให้สอดคล้องกับลักษณะของงานและสถานที่ทำงานโดยแบ่งเป็นพนักงานประจำสำนักงานและพนักงานด้านการปฏิบัติการ โดยกำหนดให้พนักงานด้านการปฏิบัติการต้องทำงานตามตารางการทำงานปกติ อันประกอบด้วยวันที่ทำงานภาคสนามติดต่อกันไม่เกิน 28 วัน ตามด้วยวันหยุดประจำช่วง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเพิ่มขี้นจากเงินเดือนให้แก่โจทก์โดยคิดจากการที่โจทก์ไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติโดยคำนวณตามผลงาน แม้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในกรณีโจทก์เจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้ถูกส่งตัวกลับขึ้นฝั่ง แต่เป็นสิทธิของลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาป่วยและได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย เงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะจึงเป็นค่าจ้างตามผลงาน
การที่คู่มือพนักงานเอกสารหมาย ล.1 กำหนดให้เงินเพิ่มพิเศษดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างนั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่คู่มือพนักงานเอกสารหมาย ล.1 กำหนดให้เงินเพิ่มพิเศษดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างนั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างรวมเงินเพิ่มพิเศษจากการทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 เป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เมื่อคู่มือพนักงานจำเลยที่ 1 จัดหมวดหมู่ของลูกจ้างให้สอดคล้องกับลักษณะของงานและสถานที่ทำงานโดยแบ่งเป็นพนักงานประจำสำนักงานและพนักงานด้านการปฏิบัติการ โดยกำหนดให้พนักงานด้านการปฏิบัติการต้องทำงานตามตารางการทำงานปกติ อันประกอบด้วยวันที่ทำงานภาคสนามติดต่อกันไม่เกิน 28 วัน ตามด้วยวันหยุดประจำช่วง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนให้แก่โจทก์โดยคิดจากการที่โจทก์ไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติโดยคำนวณตามผลงาน แม้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในกรณีโจทก์เจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้ถูกส่งตัวกลับขึ้นฝั่ง แต่เป็นสิทธิของลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาป่วยและได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย เงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะจึงเป็นค่าจ้างตามผลงาน
การที่คู่มือพนักงานกำหนดให้เงินเพิ่มพิเศษดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างนั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่คู่มือพนักงานกำหนดให้เงินเพิ่มพิเศษดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างนั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน