คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินในบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สาระสำคัญของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4(1) อยู่ที่วันออกเช็ค ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำความผิด เพียงแต่ความผิดยังไม่เกิดจนกว่าธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นความผิดจึงจะเกิดสำเร็จ เมื่อจำเลยออกเช็ควันที่ 31 มีนาคม 2539 โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบเพียงว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2539 ให้เหตุผลว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอใช้เงินตามเช็ค ซึ่งหากโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงินในวันดังกล่าว ธนาคารย่อมจะต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คอยู่นั่นเอง พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี แม้ได้รับชำระบางส่วนก็ยังเป็นความผิดได้
จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งสองฉบับและจำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯแม้เงินที่ผู้เสียหายได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนเงินในเช็คฉบับแรกก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ทั้งหมดที่จำเลยออกเช็คทั้ง 2 ฉบับที่พิพาทเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย เมื่อหนี้ดังกล่าวยังมีผลผูกพันจำเลย ทั้งตามข้อตกลงที่ผู้เสียหายกับจำเลยร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นระบุว่า จำเลยต้องชำระเงินให้ครบถ้วนตามเช็คทั้ง 2 ฉบับผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ และไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้คดีตามเช็คฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อนได้ คดีตามเช็คฉบับแรกจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เงินในบัญชีไม่พอจ่ายเป็นสาระสำคัญในการลงโทษคดีเช็ค การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่างไม่รับวินิจฉัย
การที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็คได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบแสดงให้ปรากฏ ชัดว่าในวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ร่วมนำ เช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินนั้น เงินในบัญชีของจำเลย ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงิน มีไม่พอจ่ายแต่ตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริงเช่นนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ กรณีจึงไม่ต้อง วินิจฉัยว่าวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินจะเป็นวันหยุด ของทางราชการและธนาคารหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงส่วนสำเนาภาพถ่ายคำเบิกความและบัญชีกระแสรายวัน ของจำเลยซึ่งแนบท้ายฎีกาของโจทก์ร่วมนั้นเป็นข้อเท็จจริง ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค: การปฏิเสธด้วยวาจายังถือว่าเป็นการปฏิเสธตามกฎหมาย
ในวันครบกำหนดการใช้เงินตามเช็คพิพาท โจทก์ร่วมได้นำเช็คไปเบิกเงิน แต่ปรากฏว่าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ธนาคารซึ่งมีหน้าที่ต้องใช้เงินตามเช็คตาม ป.พ.พ.มาตรา 991 จึงให้ไปติดต่อกับผู้สั่งจ่ายก่อน กรณีเช่นนี้ถือว่าธนาคารได้ปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว แม้จะเป็นการปฎิเสธด้วยวาจาก็ตาม
ตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยเช็คและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์/รับของโจร: การฟ้องเฉพาะบัตรเอทีเอ็ม ไม่ครอบคลุมถึงเงินในบัญชี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า บัตรเอทีเอ็มที่มีผู้นำไปถอนเงินในบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากเครื่องเอทีเอ็มเป็นบัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป และโจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจรบัตรเอทีเอ็ม มิได้ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจรเงินในบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ถอนไป ดังนั้น หากจำเลยเป็นผู้นำบัตรเอทีเอ็มไปถอนเงินในบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย จำเลยก็ยังไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีและการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
การนำเช็คไปแลกเงินสดย่อมมีหนี้ในทางแพ่ง การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่เกิดจากการนำเช็คไปแลกเงินสด จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและตามมาตรา 4 (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534ยังคงบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่อัตราโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 เบากว่าอัตราโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 (3) ลงโทษจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5116/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็ค: วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินคือวันที่ความผิดสำเร็จ โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ณ วันออกเช็ค
สาระสำคัญของความผิดฐานออกเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1)(2) นั้น ถือว่าวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำผิดและความผิดสำเร็จครบองค์ประกอบความผิดในวันที่ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค
โจทก์นำสืบแต่เพียงวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้นซึ่งเป็นวันหลังออกเช็คหลายเดือน โดยธนาคารให้เหตุผลว่ายังไม่มีการตกลงกับธนาคาร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่เต็มวงเงินเบิกเกินบัญชี มิได้นำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอจะใช้เงินได้ตามเช็ค และหรือหากผู้เสียหายนำเช็คตามฟ้องไปเบิกเงินธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5116/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คต้องพิสูจน์เจตนาหรือเงินในบัญชีวันออกเช็ค ไม่ใช่แค่วันปฏิเสธการจ่ายเงิน
สาระสำคัญของความผิดฐานออกเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1)(2) นั้น ถือว่าวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำผิดและความผิดสำเร็จครบองค์ประกอบความผิดในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำสืบแต่เพียงวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้นซึ่งเป็นวันหลังออกเช็คหลายเดือน โดยธนาคารให้เหตุผลว่ายังไม่มีการตกลงกับธนาคาร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่เต็มวงเงินเบิกเกินบัญชี มิได้นำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอจะใช้เงินได้ตามเช็ค และหรือหากผู้เสียหายนำเช็คตามฟ้องไปเบิกเงินธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารปฏิเสธจ่ายเช็ค อ้างเงินในบัญชีไม่พอ โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ยอดเงินในบัญชีจำเลย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันเดียวกับวันออกเช็คว่า "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" หรือ "ยังรอเรียกเก็บอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่" ซึ่งอาศัยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 991(1) คือเงินในบัญชีไม่พอจ่ายในวันที่ออกเช็ค กรณีเช่นนี้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินในบัญชีของจำเลย คดีโจทก์ก็มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเช็คเข้าบัญชีในวันสั่งจ่ายและการพิสูจน์ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินหลังวันสั่งจ่ายทั้งสองฉบับ ความจริงโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีของโจทก์ในวันสั่งจ่ายที่ปรากฏในเช็คแต่ละฉบับ และว่าโจทก์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่า ในขณะออกเช็คถึงวันสั่งจ่าย ผู้สั่งจ่ายมีเงินในบัญชีไม่พอจะใช้เงินตามเช็คนั้น เพราะยังไม่ถึงวันสั่งจ่าย แม้จำเลยจะมีเงินในธนาคาร โจทก์ก็เบิกเงินตามเช็คไม่ได้ ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยในการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193 แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 4