พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำที่ดินแปลงเป็นเงินกู้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้โอนได้รับเงินมัดจำจากผู้รับโอนไปถูกต้องแล้ว แม้ผู้รับโอนจะทำสัญญากู้เงินจากผู้โอนไว้ เป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินมัดจำ ก็เท่ากับผู้โอนมอบเงินมัดจำนั้นให้เป็นเงินกู้แก่ผู้รับโอน เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40: ลักษณะงานและค่าใช้จ่ายประกอบวิชาชีพ
เงินได้พึงประเมินจะเป็นประเภทใดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 นั้น ต้องพิจารณาถึงรายจ่ายและลักษณะของงานที่ทำประกอบด้วย เงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ซึ่งเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้น้อย ส่วนเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระคือ การประกอบอาชีพของตนเอง และต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ อันเป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ป.รัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
โจทก์ทั้งสองไม่ได้ประกอบโรคศิลปะโดยเปิดคลินิกเป็นของตนเอง แต่เป็นการทำงานให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเวลาทำการปกติ และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น โจทก์ทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากโจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทั้งยอมรับว่าคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่นเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามของคลินิกดังกล่าว ไม่ได้ออกในนามของโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นก่อนที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมแสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่าย โจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่ารายได้ของโจทก์ทั้งสองอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองเสียภาษีแตกต่างกับแพทย์ที่ไปทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์เวรก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีขึ้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองไม่ได้ประกอบโรคศิลปะโดยเปิดคลินิกเป็นของตนเอง แต่เป็นการทำงานให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเวลาทำการปกติ และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น โจทก์ทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากโจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทั้งยอมรับว่าคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่นเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามของคลินิกดังกล่าว ไม่ได้ออกในนามของโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นก่อนที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมแสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่าย โจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่ารายได้ของโจทก์ทั้งสองอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองเสียภาษีแตกต่างกับแพทย์ที่ไปทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์เวรก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีขึ้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้พึงประเมินต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว เช็คลงวันที่ล่วงหน้ายังไม่ถือเป็นเงินได้ในปีภาษีที่ออกเช็ค
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับจาก ด. ในปีภาษี 2534 เป็นเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินในปี 2535 และ 2536 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารในปีภาษี 2534 แม้โจทก์สามารถนำเช็คดังกล่าวไปซื้อขายแลกเปลี่ยน ใช้เหนี้หรือใช้เป็นหลักประกันในทางธุรกรรมได้ แต่ก็เป็นสิทธิโดยชอบของโจทก์ที่จะเลือกใช้วิธีการดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ทั้งการชำระหนี้ด้วยเช็คนั้น หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินตามกำหนดที่สั่งจ่ายในปี 2535 และ 2536 เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับมาในปีภาษี 2534 ดังกล่าว จึงเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงิน 2,245,000 บาท ตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าดังกล่าวนั้นในปีภาษี 2534 ซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2534 ด้วย
เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับจาก ด. ในปีภาษี 2534 เป็นเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินในปี 2535 และ 2536 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารในปีภาษี 2534 แม้โจทก์สามารถนำเช็คดังกล่าวไปซื้อขายแลกเปลี่ยน ใช้เหนี้หรือใช้เป็นหลักประกันในทางธุรกรรมได้ แต่ก็เป็นสิทธิโดยชอบของโจทก์ที่จะเลือกใช้วิธีการดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ทั้งการชำระหนี้ด้วยเช็คนั้น หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินตามกำหนดที่สั่งจ่ายในปี 2535 และ 2536 เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับมาในปีภาษี 2534 ดังกล่าว จึงเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงิน 2,245,000 บาท ตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าดังกล่าวนั้นในปีภาษี 2534 ซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2534 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้พึงประเมินต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว เช็คลงวันที่ล่วงหน้ายังไม่ถือเป็นเงินได้ในปีที่ได้รับเช็ค
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า เมื่อเช็ค 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับจาก ด. ในปี 2534 เป็นเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินในปี 2535 และ 2536 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ในปีภาษี 2534 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงิน 2,254,000 บาท ตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าจำนวน 16 ฉบับนั้นในปีภาษี 2534 ซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2534 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้พึงประเมินต้องเป็นสิ่งที่ได้รับจริง เช็คลงวันที่ล่วงหน้ายังไม่ถือเป็นเงินได้ในขณะนั้น
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับจาก ด. ในปีภาษี 2534 เป็นเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินในปี 2535 และ 2536 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารในปีภาษี 2534 แม้โจทก์สามารถนำเช็คดังกล่าวไปซื้อขาย แลกเปลี่ยน ใช้หนี้หรือใช้เป็นหลักประกันในทางธุรกรรมได้ แต่ก็เป็นสิทธิโดยชอบของโจทก์ที่จะเลือกใช้วิธีการดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ทั้งการชำระหนี้ด้วยเช็คนั้น หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินตามกำหนดที่สั่งจ่ายในปี 2535 และ 2536 เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับมาในปีภาษี 2534 ดังกล่าว จึงเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงิน 2,245,000 บาท ตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าดังกล่าวนั้น ในปีภาษี 2534 ซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2534 ด้วย
เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับจาก ด. ในปีภาษี 2534 เป็นเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินในปี 2535 และ 2536 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารในปีภาษี 2534 แม้โจทก์สามารถนำเช็คดังกล่าวไปซื้อขาย แลกเปลี่ยน ใช้หนี้หรือใช้เป็นหลักประกันในทางธุรกรรมได้ แต่ก็เป็นสิทธิโดยชอบของโจทก์ที่จะเลือกใช้วิธีการดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ทั้งการชำระหนี้ด้วยเช็คนั้น หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินตามกำหนดที่สั่งจ่ายในปี 2535 และ 2536 เช็คจำนวน 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับมาในปีภาษี 2534 ดังกล่าว จึงเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงิน 2,245,000 บาท ตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าดังกล่าวนั้น ในปีภาษี 2534 ซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2534 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของภริยาขณะสมรส ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามประมวลรัษฎากร
น. เป็นผู้ซื้อที่ดินมาคนเดียว ต่อมา น. ตกลงให้ ช. ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินของภริยา และเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามมาตรา 57 ตรี
น. เป็นผู้ซื้อที่ดิน และต่อมา น. ตกลงยินยอมให้ ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรฯ น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) และเป็นเงินได้ในปีนั้น ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ก็ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเป็นเงินได้พึงประเมิน การหักค่าใช้จ่ายต้องมีเหตุผลความเชื่อมโยงโดยตรงกับรายได้
โจทก์ที่ 2 ฟ้องบริษัท ค. ขอให้ชำระค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบริษัท ค. ยอมชำระเงินจำนวน 48 ล้านบาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เงินดังกล่าวเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8)
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 ชำระไปไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 46 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ ซึ่งให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ค่าภาษีอากรที่คณะบุคคลชำระแก่จำเลย แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินภาษีอากรของคณะบุคคลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินภาษีที่คณะบุคคลชำระดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
ป.รัษฎากรบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มไว้เป็นจำนวนแน่นอนมิได้ให้ดุลพินิจศาลงดหรือลดลงได้เช่นเบี้ยปรับ จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 ชำระไปไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 46 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ ซึ่งให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ค่าภาษีอากรที่คณะบุคคลชำระแก่จำเลย แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินภาษีอากรของคณะบุคคลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินภาษีที่คณะบุคคลชำระดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัว โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
ป.รัษฎากรบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มไว้เป็นจำนวนแน่นอนมิได้ให้ดุลพินิจศาลงดหรือลดลงได้เช่นเบี้ยปรับ จึงไม่อาจงดหรือลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ทันตกรรม): เงินค่าบริการทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้โรงพยาบาลจะได้รับส่วนแบ่ง
โจทก์และจำเลยรับกันในชั้นชี้สองสถานว่า การที่โจทก์ให้การบริการรักษาฟันที่โรงพยาบาลฟันนั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) อันเป็นการรับกันในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความไม่อาจรับกันได้ จะรับกันได้เฉพาะแต่ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 84 และมาตรา 183 แต่หาทำให้กระบวนพิจารณาส่วนอื่นในการชี้สองสถานเป็นการไม่ชอบไปด้วยไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (ทันตแพทย์) เงินได้ทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำยอดรวมมาคำนวณภาษี
โจทก์ให้บริการรักษาฟันที่โรงพยาบาลฟันโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์ในฐานะทันตแพทย์จะได้รับส่วนแบ่งในอัตราประมาณร้อยละ 50 ของค่าบริการรักษาที่โจทก์ปฏิบัติงานจริง เมื่อพิจารณาลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคย่อมเป็นไปโดยอิสระ รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย การให้การบริการรักษาฟันรวมทั้งการคิดค่าบริการของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับค่าบริการไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทนก็ตาม ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระโดยตรงโจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนมิใช่มีเงินได้เฉพาะส่วนแบ่งที่โจทก์รับไว้เท่านั้นดังนั้นการหักค่าใช้จ่ายของโจทก์ในฐานะผู้มีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระประกอบโรคศิลปะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) และค่าลดหย่อนจึงต้องหักจากยอดเงินได้พึงประเมินค่ารักษาฟันทั้งจำนวน มิใช่จากส่วนแบ่งที่โจทก์ได้รับเท่านั้น
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กำหนดให้นำเงินได้ทั้งจำนวนของโจทก์มาคำนวณเสียภาษีตามมาตรา 40(6) อันแตกต่างจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ของโจทก์ร้อยละ 50 เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกัน จึงเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจให้กระทำได้
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กำหนดให้นำเงินได้ทั้งจำนวนของโจทก์มาคำนวณเสียภาษีตามมาตรา 40(6) อันแตกต่างจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ของโจทก์ร้อยละ 50 เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกัน จึงเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจให้กระทำได้