พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อนาของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ แม้มีการฟ้องร้องก่อนหน้า ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ หากเงื่อนไขครบถ้วน
เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่านาจะขายนาไปต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53และมาตรา 54 กำหนดไว้ หากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นจะทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้นถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปให้จำเลยโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 54 โจทก์ผู้เช่านาย่อมมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยได้ สิทธิของโจทก์ตามมาตรา 54 ดังกล่าว หาได้ระงับสิ้นไปโดยผลของสัญญาประนี-ประนอมยอมความไม่
แม้ประธาน คชก.ตำบลจะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้จำเลยทราบพร้อมทั้งระบุว่าจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยซึ่งเป็นการแจ้งระยะเวลายื่นอุทธรณ์คลาดเคลื่อนไปจากที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 กำหนดไว้ก็ตาม จำเลยก็จะปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ว่ากฎหมายบัญญัติให้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด60 วัน นับแต่วันที่ คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลย่อมเป็นที่สุด และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของ คชก.ตำบล โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้ขายที่นาพิพาทตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทแต่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ส. กับจำเลยขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายนาพิพาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ในฐานะผู้เช่ามีสิทธิซื้อนาจากจำเลยตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แต่ทั้งนี้โจทก์จะต้องใช้สิทธิซื้อนาดังกล่าวก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยในฐานะผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา54 โจทก์จะขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ดังนั้น ในคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายนั้นกำหนด จึงยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำฟ้องของโจทก์ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ โจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนแล้วโจทก์จึงฟ้องจำเลยผู้รับโอนนาพิพาทขอให้จดทะเบียนขายนาพิพาทให้โจทก์เช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
แม้ประธาน คชก.ตำบลจะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้จำเลยทราบพร้อมทั้งระบุว่าจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยซึ่งเป็นการแจ้งระยะเวลายื่นอุทธรณ์คลาดเคลื่อนไปจากที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 กำหนดไว้ก็ตาม จำเลยก็จะปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ว่ากฎหมายบัญญัติให้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด60 วัน นับแต่วันที่ คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลย่อมเป็นที่สุด และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของ คชก.ตำบล โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้ขายที่นาพิพาทตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทแต่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ส. กับจำเลยขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายนาพิพาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ในฐานะผู้เช่ามีสิทธิซื้อนาจากจำเลยตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แต่ทั้งนี้โจทก์จะต้องใช้สิทธิซื้อนาดังกล่าวก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยในฐานะผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา54 โจทก์จะขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ดังนั้น ในคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายนั้นกำหนด จึงยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำฟ้องของโจทก์ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ โจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนแล้วโจทก์จึงฟ้องจำเลยผู้รับโอนนาพิพาทขอให้จดทะเบียนขายนาพิพาทให้โจทก์เช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินอากรขาเข้า: แม้ใช้แบบพิมพ์ผิด แต่หากปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นครบถ้วน กรมศุลกากรต้องคืนเงินให้
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้นผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่ แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศ ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินอากรขาเข้า: แบบพิมพ์ผิดมิใช่เหตุปฏิเสธ หากผู้ขอคืนปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้อง แต่มาตรา 19 วรรคท้ายที่บัญญัติขึ้นใหม่มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้แสดงว่ากฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากร หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์ยื่นคำขอตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แทนที่จะยื่นคำขอตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยต้องคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าและผลผูกพันตามประกาศของรัฐวิสาหกิจ การบังคับสัญญาเช่าเมื่อมีเงื่อนไขครบถ้วน
ประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อความระบุถึงการจัดพื้นที่ชดเชยให้แก่กลุ่มร้านค้าบริเวณตลาดนัดซันเดย์ที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่กับจำเลย จะได้รับสิทธิการเช่าโครงการใหม่มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายเดียว ประกาศดังกล่าวจึงถือเป็นคำมั่นแก่ผู้ค้ารวมทั้งโจทก์ว่าหากผู้ค้าตกลงเข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิเช่าอาคารมีกำหนด 10 ปี โดยเงื่อนไขว่าผู้จะได้รับสิทธิการเช่าจะต้องร่วมออกค่าก่อสร้างโครงการใหม่ ต้องชำระค่าเช่าตามอัตราที่จำเลยกำหนด และชำระค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ล่วงหน้าจำนวน 10,000 บาท ตลอดจนให้ความร่วมมือในการรื้อถอนอาคารร้านค้าเดิมที่กีดขวางการก่อสร้างโครงการใหม่
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทต่อกัน แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศของจำเลยซึ่งเป็นคำมั่นจะให้เช่า และเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่จะสนองรับคำมั่นตามประกาศของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตนและตกเป็นลูกหนี้ที่โจทก์มีสิทธิจะฟ้องบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับโจทก์ต่อไปจนครบระยะเวลาตามประกาศดังกล่าวได้
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทต่อกัน แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศของจำเลยซึ่งเป็นคำมั่นจะให้เช่า และเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่จะสนองรับคำมั่นตามประกาศของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตนและตกเป็นลูกหนี้ที่โจทก์มีสิทธิจะฟ้องบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับโจทก์ต่อไปจนครบระยะเวลาตามประกาศดังกล่าวได้