คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไขสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา และการผิดสัญญาซื้อขาย ทำให้จำเลยมีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันภายหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้ทราบว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ซึ่งเป็นวันนัดโอนห้องชุดพิพาทที่ตกลงนัดกันไว้เดิมเป็นวันหยุดราชการ กรณีเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ตามที่ตกลงกำหนดในหนังสือสัญญาจะซื้อขายกันไว้เดิมเป็นวันจดทะเบียนโอนห้องชุดพิพาทต่อไปแล้ว หากแต่โจทก์และจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงกันใหม่โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายไปติดต่อกรมที่ดินก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2538 แล้วแจ้งให้โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 7 วัน เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้โทรศัพท์ติดต่อมายังโจทก์ในระหว่างวันที่ 4 - 28 ธันวาคม 2538 อยู่หลายครั้ง เพื่อนัดวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาท เท่ากับโจทก์ยินยอมให้จำเลยทั้งสองแจ้งวันนัดโอนทางโทรศัพท์โดยมิได้ถือเอาข้อตกลงในหนังสือสัญญาที่ให้แจ้งวันนัดโอนให้โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน 7 วัน เป็นสาระสำคัญ ปรากฏว่าในวันที่ 29 ธันวาคม 2538 ซึ่งเป็นวันนัดโอน โจทก์ไม่ไปรับโอนห้องชุดพิพาท จึงฟังได้ว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิริบมัดจำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7059/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย การแจ้งล่วงหน้าตามเงื่อนไขสัญญา
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขในการบอกเลิกกรมธรรม์-ประกันภัยว่า โจทก์จะบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยนั้น เป็นเพียงข้อกำหนดให้ผู้รับประกันภัยส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกกรมธรรม์-ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยล่วงหน้าก่อนยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไม่น้อยกว่า 15 วันเท่านั้น เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกกรมธรรม์ประกันภัยแก่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยล่วงหน้าก่อนยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไม่น้อยกว่า15 วัน และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาประกันภัยแก่จำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ การบอกเลิกก่อนกำหนดหรือขาดเหตุผลตามกฎหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 26 และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เห็นได้ว่า เมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งแล้ว ถ้าผู้ให้เช่านามิได้บอกเลิกการเช่านาตามมาตรา37 และผู้เช่านายังทำนาในที่นานั้นต่อไป ให้ถือว่าได้มีการเช่านานั้นต่อไปอีกคราวละหกปี และการบอกเลิกการเช่านาต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา 37 โดยผู้ให้เช่านาต้องบอกเลิกเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจะครบกำหนดการเช่านาและผู้ให้เช่านาจะบอกเลิกการเช่านาได้ก็ด้วยเหตุตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 37
การเช่านาระหว่างโจทก์และจำเลยจะครบกำหนดในวันที่ 20ตุลาคม 2532 แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2532การบอกเลิกการเช่านาดังกล่าวจึงเป็นการบอกเลิกก่อนครบกำหนดการเช่าเพียง8 เดือนเท่านั้น และตามหนังสือบอกกล่าวก็มิได้ระบุเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่านาไปยัง คชก.ตำบล ตามที่ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 37 กำหนดไว้ การบอกเลิกการเช่านาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนก่อสร้าง: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยและไม่ได้ผูกพันตามเงื่อนไขเดิม
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ดังนั้นฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827 เมื่อปรากฎว่าหลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จากก.แต่ก.ได้กำหนดให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขหลายประการและก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตและผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูลต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ดังนี้ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดๆได้ก็ตามและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาดแต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลยเช่นนี้สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้นเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลยและเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของก.ได้และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อยฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คโดยที่สัญญายังไม่สมบูรณ์ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คก่อนเงื่อนไขไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างเหมา: เจตนาของจำเลยสำคัญกว่าเงื่อนไขในสัญญา
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่า ผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคสอง กับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้าง จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า หากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อ ๆ ไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้าง อันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 15 ก็ตาม แต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์ โดยขอให้มีข้อความระบุว่า "จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์" สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิม ซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่า จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง และตามสัญญาจ้างเหมาแล้ว ส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้น เป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใด ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอน ไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง
ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน หนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง หนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่ม ดังนั้น จะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัมปทานทำไม้และการรักษาเงินฝากเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงจะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าในส่วนที่โจทก์ได้ทำไม้ด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เอง โดยการนำเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ในนามของโจทก์ ส่วนสมุดเงินฝากของธนาคารนั้นเก็บรักษาไว้ที่จำเลยที่ 4 แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีคำสั่งยกเลิกสัมปทานการทำไม้ของโจทก์ แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ในเขตสัมปทาน โจทก์ยังค้างการปลูกป่าเป็นเนื้อที่ประมาณหนึ่งพันไร่ คิดเป็นเงินประมาณสองล้านบาท ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ครบถ้วน จำเลยที่ 4มีสิทธิที่จะเก็บรักษาสมุดฝากเงินของโจทก์ไว้ตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนสมุดฝากเงินทั้งหมดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัมปทานทำไม้: การปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาและการเพิกถอนสัมปทาน
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักจากรัฐบาลโดยยอมปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทาน บันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวจึงต้องผูกพันโจทก์
โจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 3 โดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตท้องที่ทราบ เมื่อได้รับความยินยอมจากป่าไม้เขตแล้วจึงขอรับสมุดเงินฝากไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทาน และตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 4 ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวง แล้วส่งมอบให้กรมป่าไม้ หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้จนครบถ้วนด้วย เห็นได้ว่า แม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้ว หากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่า จำเลยมีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวอีกด้วย เมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 3 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดเงินฝากของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย เนื่องจากการยอมรับมอบสินค้าและครอบครองไว้นาน
จำเลยได้ทำผิดสัญญาซื้อขายสิ่งของเนื่องจากไม่นำหนังสือรับรองสินค้าขาเข้า(ImportEmtry)มาแสดงแม้จำเลยได้ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วนก่อนกำหนดแล้วก็ตามแต่โจทก์ยังคงครอบครองสิ่งของที่จำเลยส่งมอบให้ตลอดมาโดยมิได้บอกปัดว่าจะไม่รับสิ่งของและให้จำเลยรับสิ่งของนั้นคืนไปหรือดำเนินการบอกเลิกสัญญาในเวลาอันควรเพิ่งมาบอกเลิกสัญญาหลังจากที่จำเลยส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายแล้วถึง6ปีเศษพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้สละผลบังคับตามสัญญาซื้อขายสิ่งของโดยปริยายแล้วโจทก์จึงหาอาจยกเอาข้อที่จำเลยไม่นำหนังสือรับรองสินค้าเข้ามาแสดงมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยได้ไม่
of 6