คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไขสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากเงื่อนไขสำคัญไม่เป็นไปตามตกลง สัญญาจึงยังไม่ผูกพันคู่กรณี
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 16 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้ง ๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการการพลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการ ดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา จากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้น โจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้ว คณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน 20 ไร่ 206 ตารางวา ให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า "เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้ว ขอให้ชำระเงินทั้งหมด และผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าว ขอให้แจ้งคณะกรรมการ สสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.3 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน 20 ไร่ 206ตารางวา ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ สสพช. แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ 2. โดยขอให้คณะกรรมการ สสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287 จำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา เป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน ตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช.แปลงที่แบ่งเท่า ๆ กันแล้ว ตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่ คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน 100,000 บาท และในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน20 ไร่ 206 ตารางวา ให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป" ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกัน หนังสือเอกสารหมาย จ.4 จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมาย จ.3 แต่อย่างใด ส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9 ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้ จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น และหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า หากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใด และโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไป ก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้น จึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้น เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกัน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 366 โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 16 ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา: การเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการรับผิดชอบหนี้ร่วม
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรส ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่า จำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คงมีจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้ อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 2 มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ หากเงื่อนไขสำคัญยังไม่ตกลงกัน
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่า เมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้ว โจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้น เป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับเหมาหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อ ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเต็มจำนวนเป็นเงื่อนไขสำคัญ แม้จำเลยริบมัดจำแล้ว โจทก์ต้องชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดจึงจะบังคับให้โอนได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้บางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายจึงยังมีผลบังคับ เมื่อโจทก์จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป โจทก์ต้องชำระราคาที่ดินทั้งหมดตามสัญญา จะเพียงแต่ชำระส่วนที่ขาดโดยนำเงินมัดจำที่จำเลยใช้สิทธิริบไปแล้วมาคิดหักไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอที่จะชำระเงินเต็มตามสัญญา การที่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลเช่าทรัพย์สิน: สัญญาเช่ายังไม่สมบูรณ์หากตกลงเงื่อนไขสำคัญไม่ได้
จำเลยจัดให้มีการประมูลด้วยวาจาให้เช่าอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โจทก์เป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอค่าธรรมเนียมการเช่าให้แก่จำเลยสูงสุด ปรากฏว่าตามเงื่อนไขการประมูลการเช่า ผู้เสนอราคาสูงสุดอาจมิใช่เป็นผู้ได้เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยเพราะจำเลยอาจยกเลิกการประมูลการเช่าเสียได้ และตามประกาศเปิดประมูลการเช่าก็ถือว่าเป็นเพียงคำชี้ชวนซึ่งระบุเงื่อนไขไว้เพียงสังเขปมิได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเมื่อโจทก์ผู้ยื่นคำเสนอเข้าประมูลเป็นผู้ประมูลในราคาสูงสุดและจำเลยได้สนองรับคำเสนอของโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยจะได้ตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขรายละเอียดและเข้าทำสัญญากันอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาเมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียดซึ่งโจทก์จำเลยถือว่าเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นกรณีจึงถือได้ว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15379/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเป็นเงื่อนไขสำคัญ และการนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติม
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อความว่า โจทก์ขายบ้านพร้อมที่ดินและกิจการน้ำดื่มแก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,000,000 บาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แม้หนังสือสัญญาซื้อขายจะระบุชื่อชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายอันอาจจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาความตกลงในสัญญาโดยเฉพาะสัญญาข้อ 5 ที่ระบุว่าผู้ซื้อต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ขายให้ครบจำนวนภายในเวลา 1 ปี หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามถือว่าสัญญาเป็นโมฆะ เป็นที่เห็นได้ว่าการซื้อขายที่ดินยังไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์แก่กันได้ จำต้องอาศัยผลของการชำระเงินเป็นเงื่อนไข จึงแสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่ามีเจตนาจะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันในภายหลังแม้โจทก์ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หาใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
หนังสือสัญญาซื้อขายไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยทั้งสองรวมที่ดินของ ว. และ ห. เนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ในรั้วที่ดินที่โจทก์นำชี้ด้วย และโจทก์ไม่สามารถโอนที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ให้แก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงตกลงกันให้หักราคาที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งเป็นของ ว. และ ห. เป็นเงิน 300,000 บาท ออกจากราคาที่ดิน 2,000,000 บาท ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขายดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายกันอย่างไร มิได้เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขาย จำเลยย่อมนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)