พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ใช้เงินแก่ บ. หรือผู้ถือ มีผู้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากโจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยหาอาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยให้การเพียงว่าเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ บ. ไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพราะจำเลยได้ชำระเงินตามเช็คนั้นไปแล้ว เป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับผู้ทรงคนก่อนเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้ทรงคนก่อนอย่างไร จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 916
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอปลดจากล้มละลายถูกปฏิเสธเนื่องจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการทรัพย์สินและเจตนาฉ้อฉล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอปลดจากล้มละลายเป็นเวลาเพียง 2 ปี 7 เดือนเศษเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามและทำบัญชีส่วนแบ่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงครั้งเดียวเป็นเงิน 729,785.96 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.54 ของหนี้ทั้งหมดโจทก์ยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้อีก46,568,912.44 บาท และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้อีก และการที่จำเลยที่ 2และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน ไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันควรจะตำหนิจำเลยที่ 2และที่ 3 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปี ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องด้วยสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 74 ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73(1) และ (3) ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอปลดจากล้มละลายของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยที่ 2 และที่ 3 จากล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ เว้นแต่โอนด้วยเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินโดยเจตนาฉ้อฉล ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ สามารถขอเพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบุตรเขยล่วงรู้ฐานะทางการเงินของจำเลยที่ 1ผู้เป็นแม่ยายที่ตกเป็นลูกหนี้โจทก์ตลอดมาเป็นอย่างดี นอกจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 มีที่ดินอีกเพียงแปลงเดียวซึ่งติดจำนองโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาทเท่านั้น ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกยากแก่โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทพร้อมอาคารปั๊มน้ำมันจากจำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่มีราคาถึง 500,000 บาท จึงเป็นการรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีมูลหนี้ระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้ทรงก่อน หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรง มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส.โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส.ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส.ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของ ส.จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส.ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อฉลในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ดิน: การระบุเนื้อที่ประมาณการและการเข้าดูที่ดินก่อนทำสัญญา
ที่ดินที่จำเลยตกลงยกให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแต่มีการระบุเขตติดต่อของที่ดินไว้ทั้งสี่ด้านและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ไปดูที่ดินจนเป็นที่พอใจแล้วนอกจากนี้การที่สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ก็แสดงว่าจำเลยก็ไม่ทราบจำนวนเนื้อที่แน่นอนดังนั้นแม้จะปรากฏว่าที่ดินมีเนื้อที่เพียง 7 ไร่ ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อฉลโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คของผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องเรียกเงินได้ ผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้ไม่ได้หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
เช็ครายพิพาทเป็นเช็คของจำเลยสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คนั้น
เมื่อจำเลยให้การอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยไม่สุจริตแต่จำเลยไม่ได้กล่าวให้ชัดว่า ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีประเด็นนำสืบ
เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายไปแล้ว จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คที่ออกจำเลยจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ ท. (ผู้ทรงคนก่อน) ขึ้นต่อสู้โจทก์มิได้ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล แต่ตามคำให้การจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ท. โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย ดังนี้จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานโจทก์จำเลย
เมื่อจำเลยให้การอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยไม่สุจริตแต่จำเลยไม่ได้กล่าวให้ชัดว่า ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีประเด็นนำสืบ
เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายไปแล้ว จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คที่ออกจำเลยจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ ท. (ผู้ทรงคนก่อน) ขึ้นต่อสู้โจทก์มิได้ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล แต่ตามคำให้การจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ท. โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย ดังนี้จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ล้มละลาย: เหตุไม่สมควรเห็นชอบ แม้เจ้าหนี้ยอมรับ และการกระทำที่แสดงเจตนาฉ้อฉล
เพียงแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขึ้นมาย่อ ๆ ว่า ทางสอบสวนยังไม่ปรากฎว่าลูกหนี้ประพฤติผิดกฎหมายล้มละลายอันจะมีโทษทางอาญาแต่ประการใดนั้น ยังไม่พอที่ศาลจะรับฟังเป็นแน่นอนเช่นนั้นได้ ในเมื่อมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ของลูกหนี้ที่ยังมิได้สอบสวนหรือซักถามให้ปรากฎชัด
ลูกหนี้เป็นผู้ทำการค้าขายใหญ่โตถึงขนาด มีทรัพย์สินอยู่นอกประเทศทั้งในอเมริกาและฮ่องกง มีเจ้าหนี้เป็นจำนวน 10 ล้านกว่าบาท แต่มีเงินเหลือเพียง 2 พันบาทเศษเท่านั้น ทรัพย์สินอื่นก็ติดภาระจำนองหมด และลูกหนี้ไม่อจแสดงให้พอใจศาลว่าตนมีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถขำระหนี้ได้ โดยก่อนหนี้ขึ้นอีกมากมายหลังจากทำยอมใช้หนี้ให้โจทก์แล้ว ทั้งไม่มีบัญชีในการประกอบธุรกิจการงานเหลืออยู่เลย ดังนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าลูกหนี้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีก โดยรู้แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 54 วรรคท้ายให้อำนาจศาลที่จะสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้โดยเปิดเผยและรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงเหตุที่ยังไม่สมควรศาลก็ยกคำขอประนอมหนี้นั้นเสียได้ แม้เจ้าหนี้ผู้คัดค้านจะมิได้นำพยานมาสืบก็ตาม
การที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิเหลือพอจะแบ่งให้เจ้าหนี้และขืนทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้ว่าไม่-สามารถจะชำระหนี้ได้ กับประพฤติตนเล่นการพนัน เหตุทั้ง 3 ประการนี้นับว่ายังไม่สมควรจะได้รับความเห็นชอบให้ลูกหนี้ประนอมหนี้เพียงร้อยละห้าได้.
ลูกหนี้เป็นผู้ทำการค้าขายใหญ่โตถึงขนาด มีทรัพย์สินอยู่นอกประเทศทั้งในอเมริกาและฮ่องกง มีเจ้าหนี้เป็นจำนวน 10 ล้านกว่าบาท แต่มีเงินเหลือเพียง 2 พันบาทเศษเท่านั้น ทรัพย์สินอื่นก็ติดภาระจำนองหมด และลูกหนี้ไม่อจแสดงให้พอใจศาลว่าตนมีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถขำระหนี้ได้ โดยก่อนหนี้ขึ้นอีกมากมายหลังจากทำยอมใช้หนี้ให้โจทก์แล้ว ทั้งไม่มีบัญชีในการประกอบธุรกิจการงานเหลืออยู่เลย ดังนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าลูกหนี้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีก โดยรู้แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 54 วรรคท้ายให้อำนาจศาลที่จะสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้โดยเปิดเผยและรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงเหตุที่ยังไม่สมควรศาลก็ยกคำขอประนอมหนี้นั้นเสียได้ แม้เจ้าหนี้ผู้คัดค้านจะมิได้นำพยานมาสืบก็ตาม
การที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิเหลือพอจะแบ่งให้เจ้าหนี้และขืนทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้ว่าไม่-สามารถจะชำระหนี้ได้ กับประพฤติตนเล่นการพนัน เหตุทั้ง 3 ประการนี้นับว่ายังไม่สมควรจะได้รับความเห็นชอบให้ลูกหนี้ประนอมหนี้เพียงร้อยละห้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14924/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คพิพาท การพิสูจน์เจตนาฉ้อฉล และความรับผิดส่วนตัวของผู้สั่งจ่ายเช็ค
ขณะที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมานั้น ยังไม่เกิดข้อพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสวนลำไยระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ส. เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงยังคงมีมูลหนี้ต่อกัน แม้หนี้ระหว่าง ป. กับ อ. จะไม่มีหลักฐานการซื้อขาย ก็มิได้แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมิได้มีหนี้ต่อกันเพราะมิฉะนั้น ป. คงไม่สลักหลังส่งมอบเช็คให้แก่ อ. ในขณะที่รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 นั้นจะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น ดังนั้น การที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับไว้จึงมิใช่เป็นการคบคิดกับ ป. เพื่อฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 กับ ส. ได้มีการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แจ้งให้ อ. ทราบแล้ว ก่อนที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน แต่ อ. กลับนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินนั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่า อ. ได้รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่สุจริต
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก ส. แล้วจำเลยที่ 2 ออกเช็คของจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มอบให้ ส. และ ป. ต่อมา ป. ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ อ. สามีโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีหนี้ที่ต้องชำระเป็นส่วนตัว การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวมสองฉบับ โดยเช็คทั้งสองฉบับมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ค่าแบ่งผลประโยชน์ในการทำสวนลำไย และค่าดูแลรักษาสวนลำไยให้แก่ ป. ตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคล
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก ส. แล้วจำเลยที่ 2 ออกเช็คของจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มอบให้ ส. และ ป. ต่อมา ป. ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ อ. สามีโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีหนี้ที่ต้องชำระเป็นส่วนตัว การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวมสองฉบับ โดยเช็คทั้งสองฉบับมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ค่าแบ่งผลประโยชน์ในการทำสวนลำไย และค่าดูแลรักษาสวนลำไยให้แก่ ป. ตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้แม้ผู้รับโอนไม่รู้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ก่อนที่จำเลยทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินตามทะเบียนการหย่าระบุว่า ที่ดินพร้อมบ้านและทรัพย์สินทุกอย่างในบ้านยกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนขายที่ดินและบ้านเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รับว่า จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 พนักงานที่ดินกำหนดราคา 200,000 บาท แต่ความจริงไม่ได้มีการชำระเงินกัน แสดงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตและข้อตกลงระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการให้โดยเสน่หามิใช่ซื้อขาย ดังนั้น เมื่อกรณีเป็นการให้โดยเสน่หาเพียงแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ว่าตนเป็นหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนการฉ้อฉลได้ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์แต่อย่างใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย