คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากบุตรโดยเจตนาดีเพื่ออุปการะเลี้ยงดูและการศึกษา ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317
บิดาพรากบุตรนอกสมรสไปเสียจากการปกครองของมารดาเพื่อให้การอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา การกระทำโดยมีเจตนาดีต่อบุตร เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีเจตนาดีเพื่อดูแลทรัพย์สิน ก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมาย
เกรงปืนของนายจ้างจะหายจึงถือไปด้วยนั้น ไม่เป็นเหตุให้พ้นความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์เพื่อห้ามเล่นการพนันโดยเจตนาดี ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
ชิงทรัพย์เจตนา การตบตีภรรยาและแย่งเอาสร้อยไป เพื่อห้าม ไม่ให้เล่นการพะนัน โดยหวังดี ไม่เรียกว่าทำโดยเจตนาทุจจริต ผัวเมีย ได้กัน 3 เดือนยังไม่ออกหน้า แต่ก็ไม่ปิดบังเป็นผัวเมียชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับซื้อทรัพย์ที่ถูกขโมยมาตามคำสั่งเจ้าของ ไม่ถือเป็นความผิดฐานรับของโจร
เจ้าของบอกว่าถ้าใครเอากระบือของเขามาให้รับซื้อไว้ให้ ผู้รับซื้อไม่ผิดตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ การไม่ออกหมายเรียกไต่สวน และการลดเบี้ยปรับจากเจตนาดี
ป.รัษฎากร ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน มาตรา 15 บัญญัติว่า เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในหมวดต่างๆ แห่งลักษณะนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภท ดังนั้น มาตรา 23 ซึ่งอยู่ในหมวด 2 นี้ จึงใช้ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 91/15 (1), 91/16 (1), 91/21 (6) เป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติโดยเฉพาะที่อยู่ในหมวด 5 ว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแตกต่างจากบทบัญญัติของมาตรา 23 กรณีจึงไม่ต้องนำมาตรา 23 และ 24 อันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับแก่การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของโจทก์