คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาทำพินัยกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดผู้รับมรดกในพินัยกรรมโดยใช้คำว่า 'หลาน' และการแสดงเจตนาทำพินัยกรรม
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ... ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง ...... 2. สวน 1 แปลง...... 3. เรือน 1 หลัง..... 4. วัว 2 ตัว..... ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป...." เช่นนี้ เมื่อ ผ.เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่าหลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2) (อ้างฎีกา 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใด จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาคดีใหม่ได้