คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาฝ่าฝืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7886-7887/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย – การเข้าครอบครองที่ดินโดยสุจริต – การประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ – ยกฟ้อง
การที่ราษฎรเข้าอยู่ในเขตทางหลวงแผ่นดินที่เกิดเหตุเป็นเพราะทางราชการและหน่วยงานของรัฐเป็น ฝ่ายจัดพื้นที่ให้เพื่อบรรเทาผลร้ายจากการสร้างเขื่อนบางลาง เป็นเหตุให้ราษฎรในพื้นที่เดิมประสบภัยน้ำท่วมจน ไม่อาจอยู่อาศัยในถิ่นที่อยู่เดิมได้ การเข้าอยู่ในที่ดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 นาย น. นาย ถ. และนาง พ. จึงเป็นการได้รับสิทธิตามที่ทางราชการและหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจัดสรรที่ดินให้ อันเป็นการเชื่อโดยสุจริตในสิทธิที่แต่ละคนได้รับการจัดสรรที่ดิน และได้อยู่อาศัยกันตลอดมาจนกระทั่งเกิดเหตุคดีนี้ในปี 2539 ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้าอยู่โดยมีเจตนาฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ดังนี้ แม้การเข้าอยู่จะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ เพราะมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แต่เมื่อมิได้เป็นการกระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาแต่ต้น ก็หามีความผิดอันจะต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 รับโอนสิทธิจากนาย น. และนาย ถ. กับจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิจากนาง พ. และได้เข้าทำการยึดถือก่อสร้าง อาคารพาณิชย์และบ้านพักอาศัยในที่เกิดเหตุ แม้เจ้าหน้าที่ของแขวงการทางยะลาได้ห้ามปราม แต่จำเลยทั้งสอง ไม่เชื่อฟัง ก็เป็นเรื่องที่ทางราชการกรมทางหลวงจะต้องดำเนินคดีในทางแพ่งแก่จำเลยทั้งสองให้รื้อถอนออกไปเท่านั้น จะนำเหตุที่จำเลยทั้งสองซึ่งเข้าใจโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิมาแต่ต้นจึงไม่เชื่อฟังมาเป็นความผิดทางอาญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เจตนาฝ่าฝืนระเบียบ และข้อความในเอกสารที่ไม่เข้าข่ายการปลุกปั่น
ลูกจ้างมีเจตนาฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้างหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในใบปลิวเป็นแต่แถลงผลการเจรจา และขอให้ต่อสู้ต่อไปไม่เป็นการผิดระเบียบที่จะเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องพิจารณาความสามารถของลูกจ้าง หากคำสั่งเกินความสามารถ ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ
เหตุที่ลูกจ้างไม่เรียงอิฐให้ได้วันละ 8 คันรถตามคำสั่งของหัวหน้าแผนกเป็นเพราะเกินความสามารถของลูกจ้างที่จะกระทำได้ มิใช่ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนคำสั่ง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตาม ข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับอย่างชัดเจน การทำงานไม่ขยันไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างฯลฯ ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ข้อ 28 (2) แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3พ.ศ. 2507 ข้อ 12 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ที่ระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อ 27 ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างประจำด้วยเหตุลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายนั้นจะต้องได้ความว่าลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างาน ลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่าลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฝ่าฝืนประกาศควบคุมราคาน้ำมัน แม้ขายไม่ถึงปริมาณที่กำหนดก็มีผิด พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร
ประกาศของคณะกรรมการฯกำหนดไม่ให้ขายน้ำมันเบ็นซินเกินกว่าถังละ 32 บาท(ถังหนึ่งมี 20 ลิตร) แม้จำเลยขายน้ำมันเบ็นซินไม่ถึง 20 ลิตรก็ตาม แต่จำเลยขายไปเป็นปีบมีจำนวนน้ำมัน 19 ลิตร และขายไปในราคา 34 บาท ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการฯลฯ จึงต้องมีความผิด พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร 2490 มาตรา 17.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฝ่าฝืนประกาศควบคุมราคาน้ำมัน แม้ขายไม่ถึงปริมาณที่กำหนด
ประกาศของคณะกรรมการฯ กำหนดไม่ให้ขายน้ำมันเบ็นซินเกินกว่าถังละ 32 บาท(ถังหนึ่งมี 20 ลิตร) แม้จำเลยขายน้ำมันเบ็นซินไม่ถึง 20 ลิตรก็ตาม แต่จำเลยขายไปเป็นปีบมีจำนวนน้ำมัน 19 ลิตรและขายไปในราคา 34 บาทดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการฯลฯ จึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร 2490 มาตรา 17