พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: เจตนา ยกทรัพย์สินให้กัน และการเป็นพยานในพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำร่วมกันในฉบับเดียวซึ่งสาระสำคัญของข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ (ก) เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้ตายแสดงเจตนาไว้ว่า หากผู้ร้องหรือผู้ตายคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ให้ทรัพย์สินของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ทำพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่แต่เพียงผู้เดียวและให้เป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาจัดจำหน่ายหรือแบ่งปัน และยกทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่เจ้าของพินัยกรรมผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นสมควรภายใต้ข้อกำหนดซึ่งระบุไว้ในข้อ (ข) แสดงว่าผู้ร้องและผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ (ข) โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีถือได้ว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องจึงยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ มิใช่กรณีที่กำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมที่มีชีวิตอยู่กำหนดทรัพย์สินให้แก่ทายาทมากน้อยตามแต่ใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) แต่อย่างใด การที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์สินให้แก่กันและกัน เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใดและมิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตามมาตรา 1646 การที่บุคคลจะเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 บัญญัติว่า บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรมไม่มีข้อความว่าเป็นพยาน จึงจะถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยไม่ได้ พินัยกรรมจึงหาเป็นโมฆะด้วยเหตุที่ผู้ร้องจะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด, เจตนายกทรัพย์, การซื้อทรัพย์โดยมีเจตนาให้เป็นสินส่วนตัว
ผู้ร้องสอดเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กับผู้ร้องสอด โจทก์เอาไปให้จำเลยโดยผู้ร้องสอดไม่รู้เห็นยินยอม แล้วผู้ร้องสอดขอถอนฟ้องในวันสืบพยานนัดแรกโดยแถลงต่อศาลว่าจะไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมซึ่งทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นรายเดียวกับคดีที่ผู้ร้องสอดเคยฟ้องจำเลย ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาในคดีอีก ดังนี้ คำร้องสอดถือว่าเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2002/2511)
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลยเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลยเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด & เจตนายกทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการฟ้องซ้ำและการให้ทรัพย์โดยมีเจตนาเฉพาะ
ผู้ร้องสอดเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กับผู้ร้องสอด โจทก์เอาไปให้จำเลยโดยผู้ร้องสอดไม่รู้เห็นยินยอม แล้วผู้ร้องสอดขอถอนฟ้องในวันสืบพยานนัดแรก โดยแถลงต่อศาลว่าจะไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมซึ่งทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นรายเดียวกับคดีที่ผู้ร้องสอดเคยฟ้องจำเลย ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาในคดีอีก ดังนี้ คำร้องสอดถือว่าเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2002/2511)
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม: เอกสารระบุเจตนายกทรัพย์เมื่อตายแล้วถือเป็นพินัยกรรมได้ การระบุสิทธิร่วมกันชัดเจน ไม่เป็นเหตุให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
เอกสารพินัยกรรม นอกจากมีหัวข้อข้างบนระบุว่าเป็นหนังสือพินัยกรรมแล้วยังมีข้อความว่า "ขอทำพินัยกรรม" อีกด้วย ย่อมเข้าใจว่าเจตนายกทรัพย์สมบัติให้เมื่อตายแล้ว การยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปหาใช้คำว่าพินัยกรรมไม่ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิ์ฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิ์ฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายกทรัพย์เมื่อตายแล้ว คำว่า 'ขอทำพินัยกรรม' เข้าลักษณะพินัยกรรมตามกฎหมาย
การที่เจ้ามรดกใช้คำว่า "ขอทำพินัยกรรม" ตามความเข้าใจของสามัญชนทั่วไป ย่อมเข้าใจว่าเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้เมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว การยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปย่อมไม่ใช้คำว่า พินัยกรรม ทั้งเอกสารก็ไม่มีข้อความที่มุ่งแสดงไปในทางอื่น เช่น ตั้งใจยกทรัพย์ให้ตั้งแต่เจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ ข้อความในเอกสารจึงแสดงเจตนาของเจ้ามรดกไปในทางเดียวว่า ให้ยกทรัพย์ให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสารเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว เอกสารดังกล่าวจึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในพินัยกรรม: การยกทรัพย์เมื่อตาย มิใช่การยกทรัพย์โดยเสน่หา
ความในพินัยกรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้ตายเจตนายกทรัพย์ให้ผู้มีชื่อตั้งแต่วันทำพินัยกรรมฉะบับนี้มีข้อความเริ่มต้นระบุไว้ชัดว่าขอทำหนังสือพินัยกรรมเป็นคำสั่งเผื่อตายไว้ และตอนท้ายก็ยังกล่าวยืนยันว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยความเต็มใจและมีสติดีมีพยานลงชื่ออย่างพินัยกรรม ทุกประการเช่นนี้ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายมุ่งหมายจะยกทรัพย์ให้เมื่อผู้ตายตายลง หาใช่เป็นหนังสือยกทรัพย์ให้ดดยเสน่หาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายกทรัพย์โดยพินัยกรรม: การตีความพินัยกรรมสั่งให้ยกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต มิใช่การยกทรัพย์โดยเสน่หา
ความในพินัยกรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้ตายเจตนายกทรัพย์ให้ผู้มีชื่อตั้งแต่วันทำพินัยกรรมฉบับนี้ มีข้อความเริ่มต้นระบุไว้ชัดว่าขอทำหนังสือพินัยกรรมเป็นคำสั่งเผื่อตายไว้ และตอนท้ายก็ยังกล่าวยืนยันว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยความเต็มใจและมีสติดี มีพยานลงชื่ออย่างพินัยกรรมทุกประการ เช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายมุ่งหมายจะยกทรัพย์ให้เมื่อผู้ตายตายลง หาใช่เป็นหนังสือยกทรัพย์ให้โดยเสน่หาไม่