พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตายของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจตนารมณ์ของพรบ.ประกันสังคม
ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 (2) มิได้หมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่รวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามมาตรา 73 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โดยใช้ถ้อยคำที่สื่อเจตนารมณ์ชัดเจน ถือเป็นการอนุญาตแล้ว
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ จึงต้องถือเจตนารมณ์ของผู้อนุญาตและความยุติธรรมที่คู่ความพึงจะได้รับเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำแต่ละคำในตัวบท
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3" และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3" และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาเน้นเจตนารมณ์ผู้พิพากษาและประโยชน์คู่ความมากกว่ารูปแบบตัวบท
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องถือเจตนารมณ์ของผู้อนุญาตและความยุติธรรมที่คู่ความพึงจะได้รับเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำแต่ละคำในตัวบท มิฉะนั้นแล้วผลจะกลายเป็นว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเห็นควรนำปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ตามที่คู่ความร้องขอ แต่ใช้ข้อความคลาดเคลื่อนไปจากตัวบท กลับเป็นผลร้ายแก่คู่ความซึ่งประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3"และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3"และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: การลงนามในนามบริษัท และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้ อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดีต้องได้ราคาสูงสุดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ประเมินราคาต่ำกว่าตลาด
ตามประเพณีของธนาคารจะให้วงเงินรับจำนองทรัพย์ต่ำกว่าราคาที่เป็นจริงสำหรับราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อนำมาคำนวณค่าธรรมเนียม ในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึด เพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการ ประเมินแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง แต่การขายทอดตลาดผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาโดยอาศัยวงเงิน ที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนอง ในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริงและจำเลยไม่จำเป็น ต้องคัดค้างการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะประเมินราคาให้เหมาะสม โดยให้ขายได้ราคาสูงสุดเท่าที่จะสามารถประมูลขายได้ เมื่อพฤติการณ์น่าเชื่อว่าหากมีการประกาศขายใหม่จะมี ผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงาน บังคับคดีในครั้งนี้จึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการ ขายทอดตลาด เป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงาน บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ต้องเป็นไปตามราคาตลาดและเจตนารมณ์ช่วยเหลือชาวนา ไม่ใช่แสวงหาผลประโยชน์
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ที่ประกาศใช้มีความมุ่งหวังช่วยเหลือคุ้มครองชาวนาผู้ยากจนมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในการเช่านาผู้อื่นทำ มิได้มีเจตนาจะให้ชาวนาผู้ยากจนใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแสวงหาความร่ำรวยจากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจนเกินกว่าจะนำที่ดินนั้นมาใช้งานเพื่อเกษตรกรรมต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้มุ่งหวังจะได้ที่ดินพิพาทเพื่อไปใช้ทำนาต่อไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว เพราะผลผลิตจากที่ดินพิพาทไม่คุ้มกับการลงทุนกู้ยืมเงินมาใช้ซื้อที่ดินพิพาทไปใช้ทำนาต่อไปโจทก์ไม่สามารถนำบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินให้ตนในราคา 2,200,000 บาท ซึ่งไม่ใช่ราคาที่จำเลยที่ 1และที่ 2 โอนขายให้จำเลยที่ 3 และไม่ใช่ราคาตลาดที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54กำหนดให้อำนาจโจทก์จะขอซื้อจากจำเลยที่ 3 คำฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามขายที่นาพิพาทในราคา 2,200,000 บาท เป็นคำฟ้องที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่สามารถบังคับจำเลยทั้งสามให้โอนขายที่นาพิพาทในราคาตามคำฟ้องของโจทก์ได้ การยื่นฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ยังจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 3 แต่ถ่ายเดียวศาลไม่อาจบังคับตามคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีทายาทขัดแย้ง: ผู้จัดการมรดกคนเดียวตามเจตนารมณ์ผู้ตาย & เงื่อนไขคุ้มครองทายาท
เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็น ทายาทด้วยกันมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายอำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคนในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาทก็ไม่อาจจะหา เสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1726ได้และคนใดคนหนึ่งก็ไม่อาจจัดการได้ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไปฉะนั้นเมื่อผู้ตายไว้วางใจผู้ร้องมากถึงกับต้องการจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวจึงสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียวแต่วางเงื่อนไขว่ากรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้นจะต้อง ขออนุญาตจากศาลก่อนเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก & การตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนารมณ์พินัยกรรมสำคัญกว่าข้อตกลงภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวโดยตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และในพินัยกรรมได้ระบุตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกไว้ด้วย ถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ผู้คัดค้านได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน และยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องก็ตาม ก็หาใช่เป็นการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมไม่ เพราะการสละมรดกเพียงบางส่วนหรือสละพินัยกรรมเพื่อไม่รับมรดกตามพินัยกรรมเพียงบางส่วนกระทำไม่ได้ เมื่อพินัยกรรมระบุตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะแล้วก็ไม่ชอบที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการบริษัทถูกจำกัดโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การเร่งรัดลงมติขัดเจตนารมณ์ผู้ถือหุ้น
ปัญหาเรื่องการตั้งบริษัท ด. ให้เป็นผู้จัดการของบริษัท ส.นี้ ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นของบริษัท ส.มาแล้วสองครั้ง แต่ได้มีการเลื่อนการประชุมออกไปโดยปัญหาดังกล่าวยังถือว่าค้างพิจารณาเพื่อรอการลงมติอยู่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมิได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริษัทนำเรื่องนี้ไปประชุมพิจารณาลงมติกันเอง อำนาจของคณะกรรมการที่จะจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้เห็นได้ว่าถูกจำกัดให้อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตลอดมาแต่ต้น การที่คณะกรรมการถือโอกาสรวบรัดประชุมลงมติเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนที่จะมีมติของที่ประชุมใหญ่ในคราวต่อไป จึงเป็นการกระทำที่ฝืนเจตนารมณ์ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และมาตรา 1168 นับเป็นมติที่ไม่ชอบอันอาจทำให้บรรดาผู้ถือหุ้นเสียหาย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทรัสตีจำกัดตามวัตถุประสงค์การก่อตั้งทรัสต์ การรื้อถอนสถานที่ประกอบศาสนกิจขัดต่อเจตนารมณ์ผู้ก่อตั้ง
ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจก่อตั้งขึ้นโดยนิติกรรมหรือพินัยกรรมอำนาจหน้าที่ของทรัสต์จึงต้องเป็นไปตามข้อกำหนดแห่งนิติกรรมหรือพินัยกรรมนั้น กับต้องปฏิบัติภายในขอบเขตแห่งข้อกำหนดและวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทรัสตีนั้นด้วยแม้ทรัสตีจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นทรัสต์ ก็จะนำอำนาจกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้โดยตลอดไปมิได้
ที่ดินและกุฎีเจ้าเซ็นหรือกุฎีเจริญพาศน์ซึ่งก่อตั้งเป็นทรัสต์โดยใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซีอ๊ะทั้งที่อยู่ในจังหวัดพระนครและต่างจังหวัดเป็นประจำทุกปีมาประมาณ 100 ปีแล้วไม่ปรากฏการกระทำเพื่อกิจการอื่นใดย่อมแสดงว่าผู้ก่อตั้งทรัสต์มีเจตนาในการก่อตั้งโดยเฉพาะให้ทรัสต์รายนี้เป็นสถานที่สำหรับประกอบกิจทางศาสนาของประชาชนผู้ถือศาสนาอิสลามนิกายซีอ๊ะเท่านั้น โจทก์ผู้เป็นทรัสตีแม้จะมีชื่อในโฉนดที่ดินรายนี้ก็ไม่มีอำนาจรื้อถอนกุฎีรายนี้ไปปลูกสร้างในที่อื่นได้เพราะเป็นการกระทำให้ทรัสต์รายนี้สิ้นสภาพหรือสลายไป
ที่ดินและกุฎีเจ้าเซ็นหรือกุฎีเจริญพาศน์ซึ่งก่อตั้งเป็นทรัสต์โดยใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซีอ๊ะทั้งที่อยู่ในจังหวัดพระนครและต่างจังหวัดเป็นประจำทุกปีมาประมาณ 100 ปีแล้วไม่ปรากฏการกระทำเพื่อกิจการอื่นใดย่อมแสดงว่าผู้ก่อตั้งทรัสต์มีเจตนาในการก่อตั้งโดยเฉพาะให้ทรัสต์รายนี้เป็นสถานที่สำหรับประกอบกิจทางศาสนาของประชาชนผู้ถือศาสนาอิสลามนิกายซีอ๊ะเท่านั้น โจทก์ผู้เป็นทรัสตีแม้จะมีชื่อในโฉนดที่ดินรายนี้ก็ไม่มีอำนาจรื้อถอนกุฎีรายนี้ไปปลูกสร้างในที่อื่นได้เพราะเป็นการกระทำให้ทรัสต์รายนี้สิ้นสภาพหรือสลายไป