คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนารมณ์กฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7750/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมปล้นทรัพย์เมื่อมีการใช้อาวุธปืน แม้ผู้กระทำเป็นเพียงคนเดียว
ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ ฯลฯ" แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่ามุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคน เพราะผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายอันเป็นเหตุฉกรรจ์ได้ ความในวรรคสี่ของมาตราเดียวกันบัญญัติว่า "ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดย ฯลฯ ใช้ปืนยิง ฯลฯ ผู้กระทำต้องระวางโทษ ฯลฯ แสดงให้เห็นต่อเนื่องกันไปว่าถ้าผู้กระทำคนหนึ่งคนใดใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์นั้น ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคนก็ยังคงต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในมาตราเดียวกัน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของมาตรา 340 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาด แม้ราคาต่ำกว่าครั้งก่อนได้ หากสมควรและไม่ขัดเจตนารมณ์กฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 309 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีความหมายแต่เพียงว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัด ๆ มานั้น หากมีผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้เลย โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า มิได้มีความหมายว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัด ๆ มาเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: ยื่นได้ครั้งเดียวตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 บังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษาหรือรอการพิพากษาหรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลัง เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้วตามมาตรา 63 การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการลูกจ้างต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนฐานะนายจ้าง การแต่งตั้งขัดเจตนารมณ์กฎหมาย
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 45 บัญญัติให้มีคณะกรรมการลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นตัวแทนของลูกจ้างในการเข้าร่วมประชุมกับนายจ้างเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงานพิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้างและหาทางปรองดอง รวมทั้งระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการตามมาตรา 50 โจทก์ตกลงทำงานให้บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อรับค่าจ้างอันมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 อันมีฐานะเป็นนายจ้างด้วยตามมาตรา 5 ซึ่งฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นจะมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงานพนักงานทีพีไอมีมติแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้าง และไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 ของบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชำระหนี้ขัดเจตนารมณ์กฎหมาย และประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 346
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23 และ 24 มีเจตนารมณ์ให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดคราวเดียวโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน 30 วัน เพื่อนำไปเลี้ยงดูชีวิตตนเองและครอบครัว โดยไม่ถูกโอนหรือถูกบังคับคดีหรือถูกบังคับชำระหนี้ การที่จำเลยที่ 2 จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งแม้เงินดังกล่าวจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์ จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ที่กำหนดว่าสิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนั้นจะนำไปหักกลบลบหนี้ไม่ได้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนที่หักไว้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบยาเสพติด แม้โจทก์มิได้ขอริบ โดยอาศัยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32 มีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลต้องสั่งริบยาเสพติดให้โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้นซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนของกลางมา แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบได้ กรณีเป็นการพิพากษาหรือสั่งตามที่โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องแล้ว ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: การพ้นโทษตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 113 มีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้ที่กลับมากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซ้ำอีกภายในกำหนดห้าปีนับแต่พ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนให้หนักขึ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าโทษที่ได้รับจากการกระทำผิดครั้งก่อนจะเป็นโทษชนิดใดเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดครั้งก่อนทั้งจำคุกและปรับ แต่มีการรอการลงโทษจำคุกไว้และจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วจึงถือได้ว่าจำเลยพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนในวันชำระค่าปรับแล้ว จำเลยกลับมากระทำความผิดอีกภายในกำหนดเวลาห้าปี จึงต้องวางโทษจำเลยเป็นทวีคูณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9501/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานในคดีแพ่ง: เจตนารมณ์กฎหมายเน้นให้ตรวจสอบเพื่อซักค้านพยาน แม้ไม่ปฏิบัติตามรูปแบบก็รับฟังได้
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์ได้แนบสำเนาเอกสารดังกล่าวมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะมิได้แสดงความจำนงขอถือเอาเอกสารท้ายคำฟ้องแทนการส่งสำเนาให้คู่ความ หรือโจทก์มิได้ขออนุญาตศาลขอถือเอาเอกสารท้ายคำฟ้องแทนการส่งสำเนาให้แก่คู่ความก็ตาม ไม่มีผลทำให้คดีโจทก์ต้องเสียไป
แม้โจทก์จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้แนบสำเนามาท้ายฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามนัยแห่งเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
เอกสารที่แม้จะเป็นเพียงสำเนา มิใช่ต้นฉบับ แต่จำเลยเป็นผู้ทำขึ้นเอง เมื่อไม่ปรากฎเหตุสงสัยว่าจะมีข้อความผิดไปจากความจริง การที่โจทก์มิได้อ้างไว้ในบัญชีระบุพยานซึ่งฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) แม้จำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้น คดีโจทก์ก็ไม่เสียไปเพราะเหตุดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนระงับจ่ายเงินทดแทนชั่วคราวขัดต่อเจตนารมณ์กฎหมายเงินทดแทน
ตามที่พระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา32(5)ระบุว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา52นั้นหมายความว่ามีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้จ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าหรือไม่แต่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวหาได้ไม่เพราะการมีคำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการทุเลาปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการขัดต่อมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537ที่บัญญัติเป็นใจความว่าการอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือของคณะกรรมการแล้วแต่กรณี แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานโดยจะเป็นผู้รวบรวมเองหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยรวบรวมก็เป็นการกระทำเพื่อนำมาพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์นั่นเองและเมื่อยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับอุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของพนักงานเงินทดแทนที่ให้จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าซึ่งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนยังต้องวินิจฉัยต่อไปแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานถ้าถือว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจที่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวแล้วก็จะมีผลเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของมาตรา54ด้วยย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมย์ของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
of 3