คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาหลีกเลี่ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดเบี้ยปรับภาษี กรณีผู้เสียภาษีให้ความร่วมมือและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี แม้ดอกเบี้ยจ่ายเป็นรายจ่ายต้องห้าม
การที่โจทก์ชำระภาษีไม่ถูกต้องเนื่องจากโจทก์นำดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมที่โจทก์กู้ยืมจากสถาบันการเงินมาซื้อที่ดินให้ผู้อื่นเช่าซึ่งเป็นรายจ่ายต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์คำนวณกำไรสุทธิและเสียภาษีไม่ถูกต้อง แต่ในชั้นตรวจสอบภาษีอากรโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีด้วยดีตลอดมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ ประกอบกับปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 375) พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไปมาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทั้งนี้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตามความประสงค์ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในคดีนี้ แม้ว่าพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะไม่มีผลให้โจทก์ได้รับผลประโยชน์นี้เนื่องจากออกบังคับใช้ในภายหลังก็ตาม แต่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่สมควรจะลดเบี้ยปรับลงได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาทำงานต่อเนื่องเพื่อคำนวณค่าชดเชย แม้มีการทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้นๆ หากมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย
การที่ศาลแรงงานกลางอาศัยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20 นำระยะเวลาตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์แต่ละฉบับมานับรวมกันเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยนั้น เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จำเลยมีเจตนาที่จะจ้างโจทก์ทำงานให้จำเลยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ติดต่อกันไปแต่มีการแบ่งเป็นสัญญาช่วงสั้น ๆ หลายช่วง มีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกันไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานติดต่อกัน โดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงเข้ากรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 20 ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน: การรวมสัญญาจ้างช่วงเพื่อคำนวณค่าชดเชย
ตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะจ้างโจทก์ทำงานให้จำเลยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2538ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ติดต่อกันไป แต่มีการแบ่งเป็นสัญญาช่วงสั้น ๆ หลายช่วงโดยมีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกันไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20ที่ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินฝากจากกิจการส่งเสริมการลงทุนไม่ใช่รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี, งดเบี้ยปรับเนื่องจากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 31 บัญญัติว่าผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามปีแต่ไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบการนั้นและรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการดังกล่าวให้รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร จากบทกฎหมายข้างต้น เงินได้ของโจทก์ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการนั้น จะต้องเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งรวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
เมื่อตามบัตรส่งเสริมการลงทุน โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่ และการถลุงแร่สังกะสี การผลิตแปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINCALLOY การผลิตโลหะ CADMIUMประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและมิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูปตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯและแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะไม่มีคำจำกัดความคำว่า "รายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม" ไว้โดยเฉพาะ แต่วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศสนองความต้องการของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงานการเพิ่มรายได้และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนโดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้นรายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็นรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ตามพฤติการณ์แห่งคดี กรณีเป็นเรื่องโจทก์แปลความหรือเข้าใจความหมายของรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีผิดไป เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางว่า ในชั้นเรียกตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมือมอบเอกสาร มอบบัญชี และหลักฐานต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วยดีตลอดมา แสดงถึงโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เบี้ยปรับเป็นบทลงโทษผู้ที่ชำระภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ อันเป็นพฤติการณ์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรเมื่อโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร โจทก์จึงสมควรได้รับการงดเบี้ยปรับทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลีกเลี่ยงคำพิพากษา: การกระทำโดยใช้วัสดุอื่นเพื่อรุกล้ำที่ดินหลังศาลสั่งรื้อถอน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงคอนกรีตที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยรับคำบังคับแล้วได้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกจากแนวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของฝ่ายโจทก์ แต่ได้ใช้แผ่นเหล็กหนา 15 เซนติเมตร และ50 เซนติเมตร สูง 1.50 เมตร ก่อกำแพงตามแนวเดิมอันทำให้เป็นไปตามสภาพเดิมอีก ถือเป็นการกระทำโดยวิธีการอันแยบคายของจำเลยที่อาศัยการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างอื่น ให้ผิดไปจากที่ระบุไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นที่เข้าใจ และประจักษ์ชัดว่าจำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะหลีกเลี่ยงไม่ถือปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้ก็โดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อไปนั่นเอง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนและขนย้ายวัสดุดังกล่าวออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและเจตนาหลีกเลี่ยงข้อบังคับ ศาลยกฟ้องละเมิด
การขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา26วรรคหนึ่งซึ่งตามมาตรา52บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยให้เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทันทีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้างถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดและต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่17851ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องกำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้(ฉบับที่2)พ.ศ.2502และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารฉบับลงวันที่5ตุลาคม2528ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479ตามประกาศดังกล่าวในข้อ2(2)กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน12เมตรให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดินทุกด้านตามสูตรร=2+เศษส่วนห้าและในเรื่องแนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479ข้อ8กำหนดว่าต้องไม่อยู่ในที่ที่เป็นทางร่วมหรือทางแยกและต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือชอบทางแยกสาธารณะมีระยะไม่น้อยกว่า20เมตรซึ่งอาคารที่โจทก์ขออนุญาตมีระยะร่นและแนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวการที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินที่จะปลูกสร้างออกเป็น2โฉนดโดยโฉนดเลขที่154651โจทก์ใช้เป็นโฉนดที่ดินที่ขออนุญาตปลูกสร้างส่วนโฉนดที่ดินเดิมซึ่งเหลือเนื้อที่7ตารางวาโจทก์โอนให้บุคคลอื่นเพื่อให้มีรอยตะเข็บกั้นมิให้ที่ดินตามโฉนดเลขที่154651มีอาณาเขตติดซอยวิทยุ1เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพประกาศกรุงเทพมหานครและกฎกระทรวงดังกล่าวการยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้จากการโอนทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด พฤติการณ์ส่อเจตนาหลีกเลี่ยงชำระหนี้
จำเลยโอนโทรศัพท์ภายหลังที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์บุคคลทั่วไปย่อมทราบดีว่าสามารถจะโอนขายเป็นเงินได้ ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนโทรศัพท์ก็เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้ว จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเรียกค่าภาษีอากร: เจตนาหลีกเลี่ยง vs. เหตุสุดวิสัย และการนับอายุความที่ถูกต้อง
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร ซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจริงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1)และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความคดีอาญาถึงที่สุดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: แม้มีหนี้ถึงที่สุด แต่ศาลพิจารณาเหตุไม่สมควรให้ล้มละลายได้ หากลูกหนี้มีโอกาสชำระหนี้และไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง
เมื่อศาลแพ่งมีคำพิพากษาคดีที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และคดีชั้นร้องขอพิจารณาใหม่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวย่อมต้องผูกพันคู่ความจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันและมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินให้พึงยึดมาชำระหนี้ได้อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 แต่จำเลยที่ 2เป็นนายทหารยศนาวาอากาศตรี อายุเพียง 40 ปีเศษ ยังมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไปอีก หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งอันเป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องล้มละลาย เป็นหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเข้าทำงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาจำเลยที่ 2 มิใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนเองโดยแท้ ประกอบกับจำเลยที่ 2มีรายได้จากเงินเดือนเดือนละ 10,500 บาท โดยไม่ปรากฏว่ามีหนี้สินอื่น และเหตุที่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ก็น่าเชื่อว่าเพราะจำเลยที่ 2 เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 100,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันเท่านั้นซึ่งจะเห็นได้จากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้มีการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวใหม่ และยืนยันตลอดมาตั้งแต่เมื่ออ้างตนเองเป็นพยานว่าพร้อมชำระเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่โจทก์ทันที เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสียเลยจึงมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการงด/ลดเงินเพิ่ม/เบี้ยปรับ กรณีผู้เสียภาษีมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
เงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินเพิ่มสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2525 และเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิสำหรับภาษีการค้าปี 2524 และ 2525 ซึ่งเป็นเงินเพิ่มเพราะโจทก์ไม่เสียภาษีภายในกำหนดนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอน โดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้ และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
of 3