พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่กระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้สิน และรู้ว่าเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ได้รับจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ม. อ. และโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดอยู่ได้รับความเสียหาย เมื่อ อ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1กับพวก จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีในขณะนั้นว่าหากโจทก์ต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ อ. โจทก์ย่อมมีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลัง ดังนั้นโจทก์จึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในความเสียหายที่จำเลยที่1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8905/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์แจ้งความฉ้อโกงถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้ว แม้จะยังไม่ได้ฟ้องแพ่ง โอนทรัพย์สินหลังแจ้งความมีเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกง ย่อมนำไปสู่การฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ ไม่ว่าโจทก์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหรือไม่ ก็มีผลเป็นการเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่โจทก์สูญเสียไปจากการกระทำความผิดคืนโดยพนักงานอัยการดำเนินการแทนแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 โจทก์ไม่ต้องทวงถามหรือฟ้องคดีแพ่งเพื่อบังคับจำเลยชำระหนี้อีก การร้องทุกข์ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2561)