พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาเจตนาเจ้ามรดกและความสัมพันธ์กับทายาท
กฎหมายบัญญัติเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง ว่า การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อได้ความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรคนโตของผู้ตายไม่ค่อยได้ติดต่อกับผู้ตาย รวมทั้งไม่ได้ไปร่วมในงานบำเพ็ญกุศลของผู้ตาย โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กและแต่งงานแยกครอบครัวไปตั้งแต่ปี 2509 แสดงว่าผู้ร้องค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับผู้ตาย การที่จะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกน่าจะไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ตาย กอปรกับผู้ร้องก็รับว่าทายาทผู้ตายมีความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย อีกทั้งผู้ร้องมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและไม่น่าไว้วางใจ ทำให้มีเหตุเชื่อว่าหากตั้งผู้ร้องให้ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว การจัดการมรดกน่าจะไม่ราบรื่นและไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก การตั้งผู้คัดค้านแต่ฝ่ายเดียวให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงน่าจะเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์กองมรดก, เจตนาเจ้ามรดก, และความเหมาะสมของผู้จัดการ
ในคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายยังแบ่งปันไม่เสร็จสิ้น ยังมีทรัพย์มรดกที่จะต้องจัดการต่อไป จึงเป็นเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร แม้ศาลอุทธรณ์จะยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้สืบพยานจนเสร็จสำนวนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ พฤติการณ์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับการแบ่งปันทรัพย์มรดก การจะให้จัดการมรดกร่วมกันไม่อาจทำได้ต้องตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่าเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกและความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียและเจตนาของเจ้ามรดก
การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นภริยาของเจ้ามรดกโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่อยู่กินด้วยกันและมีทรัพย์สินร่วมด้วยบางรายการ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยื่นคำคัดค้านการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากพินัยกรรมทำขึ้นขณะผู้ตายล้มป่วยหนักสติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ ดังคำคัดค้านผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ จึงจำต้องวินิจฉัยถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่ผู้คัดค้านไม่ได้รับมรดกตามพินัยกรรมเลย และตามพินัยกรรมเจ้ามรดกมีเจตนาที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเสมือนไร้ความสามารถและไม่เป็นบุคคลล้มละลาย จึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย. (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรมต้องคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกเป็นสำคัญ แม้ข้อความในพินัยกรรมไม่ชัดเจน
การตีความไนพินัยกัมต้องพยายามไห้ได้เจตนาอันไกล้เคียงของเจ้ามรดกเสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมและเจตนาเจ้ามรดก แม้มีข้อกำหนดในพินัยกรรม
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า ผู้ตายและผู้คัดค้านจะไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา หากผู้คัดค้านผิดสัญญาให้ถือเอาคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแทนการแสดงเจตนา ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว แม้ผู้ตายและผู้คัดค้านยังไม่ได้นำข้อตกลงดังกล่าวไปจดทะเบียน การเลิกรับบุตรบุญธรรมระหว่างผู้ตายและผู้คัดค้านย่อมมีผลแล้วนับแต่เวลาที่คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/36 ผู้คัดค้านจึงไม่ได้มีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายและไม่อยู่ในฐานะทายาทลำดับที่หนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/28, 1629 ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
บทบัญญัติในวรรคสองของ ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก โดยพิจารณาตามพฤติการณ์เท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือห้ามตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมแต่ประการใดไม่ การที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกหรือจะตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้นย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
บทบัญญัติในวรรคสองของ ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก โดยพิจารณาตามพฤติการณ์เท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือห้ามตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมแต่ประการใดไม่ การที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกหรือจะตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้นย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร