พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7441/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงมีหน้าที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานส่วนหนึ่ง คือหนี้เงินกู้ที่ผู้คัดค้านจ่ายให้ จำเลยรับไป ส่วนจำนองที่จำเลยทำสัญญาและจดทะเบียนให้แก่ผู้คัดค้านนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์แห่งหนี้อันเป็นประธาน ซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนแยกออกจากกันได้ การกู้เงินคดีนี้จำเลยได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปแล้วในวันทำสัญญาและเพื่อเป็นหลักประกันที่จำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทมาจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าวไว้แก่ผู้คัดค้านเช่นนี้ การที่จำเลยกู้เงินผู้คัดค้านและได้รับเงินกู้จากผู้คัดค้านไปแล้ว ในทันทีทันใดนั้น การกู้เงินระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นแม้จะเป็นวันเดียวกันจำเลยมาทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทกับผู้คัดค้านอีก กรณีถือได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการ ทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 5 รายรวมเป็นเงิน 157,572,672.38 บาทแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินได้เพียง31,000 บาท ที่ผู้คัดค้านนำมาชำระหนี้ตามคำสั่งศาลให้เพิกถอนการชำระหนี้เท่านั้น และไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ครบถ้วน การที่จำเลยได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยเจ้าหนี้อื่นไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพื่อชำระหนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเห็นได้ว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น แม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตไม่ทราบว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการจำนองเป็นนิติกรรมต่างตอบแทน ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจำนองรายนี้เสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-705/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนราคาต่ำกว่าจริง, เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง, และระยะเวลา 3 ปี
คำร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้จะบรรยายว่าจำเลยได้โอนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2501 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนถูกฟ้องล้มละลาย โดยมิได้ใช้คำว่า 'ก่อนล้มละลาย' แต่เมื่อได้บรรยายด้วยว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2502 ซึ่งเป็นวันที่การล้มละลายของจำเลยเริ่มต้น มีผลตามมาตรา 62 แล้ว ก็ถือได้ว่าการโอนที่ขอให้เพิกถอนคือการโอนที่ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายนั่นเอง คำร้องเช่นนี้ต้องด้วย มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้ ส. มีข้อสัญญาให้ส. ชำระราคาเป็นงวด ๆ จนกว่าจะหมดใน 3 ปี ชำระหมดแล้วจึงจะโอนกัน หลังจากทำสัญญาได้เพียง 4 เดือนและอยู่ในระหว่าง3 เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยก็โอนที่ดินและตึกแถวให้ส. ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ และจำเลยก็รู้ดีว่าตนเป็นหนี้คนอื่นอีก มากและการโอนทรัพย์รายนี้ จะทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ดังนี้ย่อมถือว่า ส. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้ ส. มีข้อสัญญาให้ส. ชำระราคาเป็นงวด ๆ จนกว่าจะหมดใน 3 ปี ชำระหมดแล้วจึงจะโอนกัน หลังจากทำสัญญาได้เพียง 4 เดือนและอยู่ในระหว่าง3 เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยก็โอนที่ดินและตึกแถวให้ส. ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ และจำเลยก็รู้ดีว่าตนเป็นหนี้คนอื่นอีก มากและการโอนทรัพย์รายนี้ จะทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ดังนี้ย่อมถือว่า ส. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483