คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจรจาข้อเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: การบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า 'เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือ การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้างกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง' การที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ โดยไม่เป็นธรรม ไร้เหตุผลในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งโจทก์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้น เป็นการบรรยายการกระทำผิดของจำเลยทั้งสอง ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนการกระทำ ของจำเลยทั้งสองเป็นกรณีไม่เป็นธรรมหรือไร้เหตุผลหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดนั้นฉะนั้นโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้มีการปรับโครงสร้างองค์กร
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกยานพาหนะและขนส่ง กองคลังพัสดุ ประจำทำงานในต่างจังหวัด กับเป็นสมาชิกและอนุกรรมการสหภาพแรงงานพนักงานของจำเลย สหภาพแรงงานดังกล่าวได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยและแต่งตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษา ต่อมาในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง จำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ไปทำงานตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกบริการและควบคุมยานพาหนะ กองยานพาหนะ ซึ่งต้องประจำทำงานที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งและการที่จำเลยปรับปรุงโครงสร้างงานใหม่ และจำเป็นต้องโยกย้ายลูกจ้างซึ่งล้นงานไปประจำหน่วยงานอื่นนั้นไม่ใช่เหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 31(1) ถึง (4) จำเลยจึงไม่มีอำนาจโยกย้ายหน้าที่การงานของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องทางแรงงานเป็นโมฆะ หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกยานพาหนะและขนส่งกองคลังพัสดุ ประจำทำงานในต่างจังหวัดกับเป็นสมาชิกและอนุกรรมการสหภาพแรงงานพนักงานของจำเลย สหภาพแรงงานดังกล่าวได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยและแต่งตั้งโจทก์ เป็นที่ปรึกษา ต่อมาในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องจำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ไปทำงานตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แผนกบริการและควบคุม ยานพาหนะกองยานพาหนะ ซึ่งต้องประจำทำงานที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งโยกย้ายโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งและการที่จำเลยปรับปรุงโครงสร้างงานใหม่ และจำเป็นต้อง โยกย้ายลูกจ้างซึ่งล้นงานไปประจำหน่วยงานอื่นนั้นไม่ใช่เหตุหนึ่งเหตุใด ตามมาตรา31(1) ถึง (4) จำเลยจึงไม่มีอำนาจโยกย้ายหน้าที่การงาน ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: สิทธิของลูกจ้างและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้น แม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: คุ้มครองลูกจ้างแม้มีเหตุเลิกจ้างตามข้อตกลง
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้นแม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม