คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจรจาต่อรอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าเสียหายจากการทำทองรูปพรรณชำรุด ผู้ประกอบการยึดหนี้เพื่อเจรจาต่อรอง ไม่ถือเป็นการยักยอก
ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยซึ่งเปิดร้านรับจ้างทำทองคำรูปพรรณ โดยนำพระแก้วสีเหลืองพร้อมตลับพระทองคำมาให้ทำกระจกปิดด้านหน้าและด้านหลังตลับพระทองคำ แต่จำเลยทำเศียรพระแก้วสีเหลืองบิ่น จึงตกลงจะใช้ค่าเสียหายด้วยการเลี่ยมพระองค์อื่นให้ ซึ่งผู้เสียหายได้นำพระองค์อื่นมาให้เลี่ยมอีก 2 องค์ จำเลยเลี่ยมพระให้ผู้เสียหายเป็นค่าเสียหายไปแล้ว 1 องค์ ภายหลังจำเลยเห็นว่าค่าเสียหายสูงไปต้องการตกลงค่าเสียหายกันใหม่ด้วยการยึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อหักหนี้กับค่าเลี่ยมพระองค์ที่ 2 ดังนี้แสดงว่าจำเลยมีเพียงเจตนายึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อเจรจาต่อรองกันใหม่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เศียรพระแก้วสีเหลืองบิ่น หาได้มีเจตนาจะเบียดบังไว้เป็นของตนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แม้มิลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง แต่ลงลายมือชื่อสนับสนุนภายหลัง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง และเพิ่งมาลงลายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวในภายหลัง ก่อนที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างซึ่งต่อมาก็ได้มีการเจรจาและตกลงกันได้ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มิได้ห้ามลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง ดังนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องย่อมมีผลผูกพันโจทก์ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง
นายจ้างและลูกจ้างต่างฝ่ายต่างก็ยื่นข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ละฝ่ายอาจจะได้สิทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามที่เจรจาต่อรองกัน ผู้แทนลูกจ้างในคดีนี้ได้รับเลือกตั้งให้เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องและได้ร่วมเจรจากับฝ่ายนายจ้างจนตกลงกันได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 19 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงใหม่ หรือยกเลิกข้อตกลงเดิม การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่าคดีไม่อาจเจรจาตกลงประนีประนอมยอมความกันได้และจำเป็นต้องสืบพยานของคู่ความ ศาลแรงงานจึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้นำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลัง แต่หากศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานของคู่ความแล้ว ศาลแรงงานก็ไม่จำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371-4451/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหภาพแรงงานเจรจาต่อรอง และผลผูกพันข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นนายจ้างขอให้พิจารณาจัดเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่พนักงานและจำเลยที่ 8ยืนยันความมั่นคงในเรื่องโบนัส เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงิน อัตรากำลังคนกับปรับปรุงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลด้วยที่ประชุมใหญ่สมาชิกสหภาพแรงงาน ท. ได้ให้การรับรองและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นตัวแทนเข้าร่วมเจรจากับจำเลยที่ 8 จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)มาตรา 13 วรรคสามและมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ได้เข้าร่วมเจรจากับจำเลยที่ 8 ตามมาตรา 16 จนทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ได้ โดยเฉพาะเงินโบนัส ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายให้ไปเจรจาย่อมทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงินโบนัสกับจำเลยที่ 8 ได้ตามมาตรา 18 โดยมิจำต้องให้ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานท. มีมติให้การรับรองอีกครั้ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท. ตามมาตรา 19 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาจะซื้อจะขายโดยปริยาย – สัญญาใหม่ไม่สมบูรณ์ – คืนเงินมัดจำ
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทตามเอกสารหมาย จ.4 แต่ตามเอกสารหมาย จ.7 มีข้อความว่า จำเลยขอรังวัดที่พิพาทในส่วนที่ถูกเขตชลประทาน แสดงว่าที่พิพาทที่จำเลยจะขายให้โจทก์จะต้องถูกทางราชการเวนคืนบางส่วน โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาเพิ่มเติมสัญญาจะซื้อขายว่า คู่สัญญาขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อขยายเวลาไปเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้ให้เหลือเป็นราคาที่พิพาทที่เหลือไว้จะโอนกรรมสิทธิ์ได้จริงโดยไม่ถูกเวนคืน แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าที่พิพาทที่จะซื้อขายต้องถูกเวนคืนให้กรมชลประทาน แต่โจทก์ไม่ได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญา จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่โดยไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่พิพาทและราคาตามเอกสารหมาย จ.4 แต่จะต้องเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้และเลื่อนกำหนดเวลาการโอนไป ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.4 โดยปริยาย และมุ่งประสงค์ที่จะซื้อขายที่พิพาทกันต่อไปตามจำนวนเนื้อที่ที่เหลือจากการถูกเวนคืน โดยให้เลื่อนการโอนไปเพื่อเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงกันไว้ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อครบกำหนดการโอนแล้ว ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้ไปที่สำนักงานที่ดิน แต่ก็ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ จึงไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.4 ยกเลิกโดยปริยาย และสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จำเลยจึงไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา และต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ และโจทก์จะกลับมาอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน: มติอนุมัติข้อเรียกร้องครอบคลุมการทำข้อตกลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานและรายชื่อผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาได้กระทำขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกของสหภาพแรงงานแล้ว ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาดังกล่าวย่อมมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้างได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นอีก มติของที่ประชุมใหญ่เช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้สหภาพแรงงานรับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นได้ด้วย ดังนั้น เมื่อต่อมาผู้แทนลูกจ้างได้เจรจาตกลงกับนายจ้าง และมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันขึ้น กรณีย่อมถือได้ว่าผู้แทนลูกจ้างได้กระทำภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นแล้วหาจำเป็นจะต้องได้รับอนุมัติเป็นการเฉพาะอีกไม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบาทผู้สนับสนุนความผิดฐานจำหน่ายอาวุธปืน: การกระทำที่มิได้ร่วมวางแผนหรือเจรจาต่อรองราคา
อาวุธปืนของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ติดต่อพาผู้ซื้อไปซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยตรง การเจรจาต่อรองราคาและการจะขายอาวุธปืนหรือไม่อยู่ที่การตัดสินใจของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2มิได้มีส่วนร่วมด้วยแม้ว่าจำเลยที่ 2 อาจจะได้ผลประโยชน์จากการขายอาวุธปืนของกลางก็ตาม ตามพฤติการณ์ยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายอาวุธปืนจำเลยที่ 2 คงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 จำหน่ายอาวุธปืนเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกชมรมรับขนสินค้าต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลักทรัพย์สินค้าตามระเบียบชมรม แม้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหาย
จำเลยเป็นสมาชิกชมรมสิบล้อพิษณุโลกซึ่งโจทก์กับพวกอีก5คนร่วมกันประกอบกิจการจำเลยรับขนสินค้าในนามและคำสั่งของชมรมฯระหว่างทางถูกคนร้ายลักสินค้าไปซึ่งจำเลยต้องรับผิดตามที่ตกลงไว้กับชมรมฯโจทก์กับพวกยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ส่งชอบที่จะได้รับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอากับจำเลยเมื่อพวกของโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้วก็ย่อมมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ฟ้องแทนได้ ฎีกาของจำเลยยกเหตุแห่งความเคลือบคลุมของคำฟ้องมาอ้างนอกเหนือไปจากที่ต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแต่ฎีกาของจำเลยที่ยกเหตุแห่งอำนาจฟ้องของโจทก์มาอ้างนอกเหนือไปจากที่ต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์ แม้มีเจรจาต่อรองโดยอ้างอิงถึงคดีอาญาที่ฟ้องร้อง
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยชำระเงินกับออกเช็คสั่งจ่ายเงินชำระราคาค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีที่ดินที่จะขายให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงแล้วโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ต่อกัน ในการทำสัญญาดังกล่าวแม้จะฟังตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยทั้งสองลงชื่อไปเพราะโจทก์พูดว่า "ต้องคืนเงิน (ที่จำเลยรับไป) ถ้าไม่คืนจะเอาเข้าตะราง" ก็ดี หรือทนายโจทก์พูดว่า "ขอให้คืนมัดจำและเช็คให้เสีย ถ้าไม่คืนเงินจะให้เอาเข้าตะราง" ก็ดี เป็นเรื่องที่โจทก์ขู่ว่า ถ้าจำเลยไม่คืนเงินและเช็คที่รับไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญาฐานฉ้อโกง อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลกรณีนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมหาจัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ และไม่ใช่เรื่องหลอกลวงสัญญาประนีประนอมยอมความจึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้