พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเจรจาหนี้และการชำระหนี้แทนตั๋วเงิน: สิทธิเรียกร้องระงับเมื่อชำระหนี้ตามตกลง
เดิมจำเลยมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 1,000,000 บาท กับรับผิดตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาท เพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. ต่อมามีการเจรจากันให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เฉพาะตามสัญญากู้ยืมเงิน ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาทโจทก์จะไปเรียกร้องจาก ส. เอง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เพราะไม่ใช่สัญญาระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างผ่อนผันให้แก่กัน แต่ถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1,000,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คแล้ว สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทจึงระงับไป กรณีดังกล่าวกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีได้ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ถือว่าเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเจรจาหนี้สินโดยไม่มีการข่มขู่ การลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงย่อมมีผลผูกพัน
โจทก์พาจำเลยที่ 1 ไปเจรจาในห้องของร้อยเวร โจทก์บอกว่าจำเลยที่ 2 ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท และลักเครื่องวีดีโอ ของโจทก์รวมแล้วเป็นหนี้โจทก์ 70,000 บาท ขอให้ผ่อนชำระเดือนละ 1,500 บาทและให้จำเลยที่ 1 ไปปรึกษากับจำเลยที่ 2 ที่ถูกขังอยู่ในห้องขังจำเลยที่ 1 จึงถามจำเลยที่ 2 ว่าจะผ่อนชำระหรือไม่ จำเลยที่ 2ตอบว่า แล้วแต่ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงได้ลงลายมือชื่อในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่70,000 บาท ยอมผ่อนชำระเดือนละ 1,500 บาท และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้พฤติการณ์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกข่มขู่ให้ลงชื่อ การที่โจทก์กล่าวกับจำเลยทั้งสองว่า หากจำเลยไม่ยอมลงชื่อในบันทึกข้อตกลง โจทก์จะดำเนินคดีอาญาจำเลยที่ 2เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 127 ไม่เป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกเป็นโมฆียะ ส่วนการที่โจทก์กล่าวอ้างกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีว่า ได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาว่า จำเลยที่ 2 ลักเครื่องวีดีโอ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวจำเลยที่ 2 และนำตัวจำเลย ที่ 2 ไปที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาเพื่อเจรจาตกลงดังกล่าวเป็นกรณีโจทก์ใช้อุบายพาจำเลยที่ 2 ไปไป สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาไม่เป็นการข่มขู่ให้จำเลยทั้งสองยอมตกลงกับโจทก์.