พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลเจ็บป่วยก่อนทำสัญญา
โจทก์กรอกคำตอบในใบคำขอเอาประกันชีวิตโจทก์ ว่าไม่เคยเป็นหรือทราบว่าเป็นหรือเคยได้รับคำแนะนำหรือการรักษาโรคมะเร็งเนื้องอกตุ่มเนื้อหรืออวัยวะใด ๆ ที่งอกหรือโตขึ้นผิดปกติ ไม่เคยมีอาการผิดปกติที่เต้านมมาก่อน แต่ปรากฏว่า โจทก์เคยเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดบริเวณเต้านม ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อที่เต้านมด้านซ้ายเมื่อโจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบอาจเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต การกระทำของโจทก์มีผลให้สัญญาประกันชีวิตและสัญญาพิเศษเพิ่มเติมตกเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ปกปิดไว้อันเป็นมูลที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 เมื่อโจทก์เรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลย จำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้เพราะโจทก์ปิดบังการป่วยเป็นโรคของโจทก์ก่อนที่จะทำสัญญาประกันภัย ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์ทำบันทึกต่อนายทะเบียนกรมการประกันภัย ระบุว่าโจทก์ไปยื่นเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลเป็นค่ารักษาการผ่าตัดแต่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต่อจากนั้นจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมลงวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2538 ไปยังจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตในส่วนสัญญาเพิ่มเติมพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต ในส่วนการรักษาก้อนเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ปกปิดไว้อันเป็นมูลที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 เมื่อโจทก์เรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลย จำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้เพราะโจทก์ปิดบังการป่วยเป็นโรคของโจทก์ก่อนที่จะทำสัญญาประกันภัย ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์ทำบันทึกต่อนายทะเบียนกรมการประกันภัย ระบุว่าโจทก์ไปยื่นเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลเป็นค่ารักษาการผ่าตัดแต่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต่อจากนั้นจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมลงวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2538 ไปยังจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตในส่วนสัญญาเพิ่มเติมพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต ในส่วนการรักษาก้อนเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค กรณีบริษัทประกันปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนโดยอ้างเหตุไม่เปิดเผยอาการเจ็บป่วย
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกับ พ. ทั้งจำเลยไม่ได้กำหนดเป็นระเบียบไว้ว่า อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคที่ต้องห้ามที่จำเลยจะไม่รับประกันภัย การที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงได้มอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9140/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุผลความประมาทเลินเล่อและเจ็บป่วยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 คำสั่งศาลชั้นต้นได้เขียน วันที่ไว้ชัดเจนแล้ว การที่ทนายจำเลยไม่มาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และการที่ทนายจำเลยเจ็บป่วยเป็นลมหน้ามืดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยื่นอุทธรณ์ ก็ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยเพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2544 ทนายจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ย่อมมีเวลาพอที่จะทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ทันตามกำหนดเวลา แม้ทนายจำเลยป่วยจำเลยก็สามารถตั้งทนายความคนใหม่เรียงอุทธรณ์ให้ได้ กรณีจึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตาม คำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งนี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตาม คำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งนี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยปกปิดเจ็บป่วยร้ายแรงก่อนทำสัญญา และจำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอาประกันชีวิต ส.พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนา ของ ท. และพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งพาท.ไปตรวจสุขภาพที่คลีนิคแพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพ ส. ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้ว ส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. และต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอดจึงได้รักษา ท.ต่อเนื่องกันประมาณ5เดือนแล้วท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้น ท.มาพบแพทย์อีกโดยท.มีอาการไอหอบ แพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดยไม่ปรากฏว่า ท. ได้แจ้งว่า เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยย่อมไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใดเมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตไม่ถือเป็นเหตุบอกล้างสัญญา หากไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคเฉพาะเจาะจง
แม้ตรวจพบว่ามีการอักเสบของตับ แต่ตามรายงานการตรวจของแพทย์ได้แนะนำให้รับการวินิจฉัยต่อไป แสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคตับอักเสบหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายทราบว่าตนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น การที่ผู้ตายมิได้แจ้งผลการตรวจโรคดังกล่าวในแบบสอบถามของจำเลย จึงมิใช่กรณีผู้ตายรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจจำเลยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า ผู้ตายประสบอุบัติเหตุหกล้มศีรษะกระแทกพื้นและเสียชีวิตจำเลยให้การเพียงว่า ผู้ตายปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนทราบมาก่อนว่าเป็นโรคตับ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ โดยไม่ได้ให้การปฏิเสธหรือโต้แย้งเรื่องผู้ตายประสบอุบัติเหตุแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรง ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกจนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งสุดท้ายเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ ทั้งที่พยานจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยเพียงปากเดียวเท่านั้น และมีการส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ศาลอื่นมาก่อน และศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสเต็มที่แก่จำเลยตลอดมา จนครั้งสุดท้ายทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยกะทันหัน ปวดศีรษะมีอาการมึนงง และแน่นหน้าอกอันเนื่องมาจากรับประทานทุเรียนมาก แม้ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วยเจ็บก็ตามแต่เมื่อศาลเชื่อได้ว่าอาการของผู้ที่อ้างว่าป่วยนั้นไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ ซึ่งให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของ บุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้นแล้วแต่กรณี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆที่จำเลยโต้แย้งว่า การเจ็บป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่อาจก้าวล่วงเสียได้นั้น จำเลยก็หาได้คัดค้านแสดงให้เห็นว่าอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลยรุนแรงจนไม่สามารถมาศาลได้แต่อย่างใดไม่ พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วส่อแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ไม่ถือเป็นการตายจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน
เดิม อ.ลูกจ้างของบริษัท ร. เป็นคนแข็งแรงไม่เคยป่วยเจ็บก่อนถึงแก่ความตาย 5 - 6 เดือน ตอนเช้า อ.ไปทำงานตามปกติ ตอนสาย อ.ได้กลับไปที่บ้านและบอกให้โจทก์ซึ่งเป็นภรรยา อ. พาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะ แล้วเป็นลมล้มฟุบลงที่โต๊ะอาหาร โจทก์พาไปส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจแล้วแจ้งโจทก์ว่า อ.ถึงแก่ความตายเนื่องจากหัวใจหยุดทำงานโดยเฉียบพลันก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาล การตายของ อ. ยังถือไม่ได้ว่าถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ถือเป็นการเจ็บป่วยจากการทำงาน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
เดิม อ.ลูกจ้างของบริษัทร. เป็นคนแข็งแรงไม่เคยป่วยเจ็บก่อนถึงแก่ความตาย 5-6 เดือน ตอนเช้า อ. ไปทำงานตามปกติตอนสาย อ.ได้กลับไปที่บ้านและบอกให้โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาอ.พาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะ แล้วเป็นลมล้มฟุบลงที่โต๊ะอาหารโจทก์พาไปส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจแล้วแจ้งโจทก์ว่า อ.ถึงแก่ความตายเนื่องจากหัวใจหยุดทำงานโดยเฉียบพลันก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาล การตายของ อ. ยังถือไม่ได้ว่าถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ซื้อขายที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจเจ็บป่วยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ข้อที่โจทก์อ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เจ็บป่วยกะทันหันจนไม่อาจไปรับโอนและชำระราคาที่ดินในวันนัดได้นั้น ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เจ็บป่วยขนาดไหนและการป่วยเป็นลมพิษอย่างฉับพลันตามที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาในกรณีปกติก็เดินทางกันได้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดโจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจอนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย ต้องพิจารณาเหตุผลและสามารถตรวจสอบความจริงได้
การอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แต่ศาลก็ต้องใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผล ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดที่ 2 ทนายผู้ร้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่า ว. กรรมการผู้จัดการของผู้ร้องป่วยปรากฏตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้องการขอเลื่อนคดีนัดที่ 2 จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่า ว. จะป่วยจริงตามใบรับรองแพทย์หรือไม่ ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยเห็นว่าผู้ร้องไม่เตรียมพยานปากอื่นมาศาลโดยมิได้แถลงว่าพยานที่เหลือมีข้อขัดข้องอย่างไรถึงไม่มาศาล ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับพยานปากอื่นของผู้ร้องมาหรือไม่มาศาลเท่านั้นหาใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะคู่ความอ้างว่าเจ็บป่วยตามมาตรา 40 ไม่