คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก: ไม่ต้องใช้บทบัญญัติเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
พ.เป็นผู้จัดการมรดกของส. จึงมีอำนาจขายบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเอาเงินมาแบ่งให้ทายาทได้ มิใช่เป็นเรื่องตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745ซึ่งต้องนำมาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 ในเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินร่วม: ผลผูกพันต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม & สัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่า จำเลยทั้งสี่แบ่งขายที่พิพาทเนื้อที่ 3 งาน 45.6 ตารางวา ด้านทิศตะวันตก อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่โจทก์ในราคา 43,125 บาท และมอบที่ดินส่วนนี้ให้โจทก์ในวันทำสัญญาโดยโจทก์ชำระราคาให้ 20,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 9 เดือน ดังนี้ เห็นได้ว่าการซื้อขายที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและมีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว แต่ยังมีหนี้ที่โจทก์จำเลยจะปฏิบัติต่อกันอีกคือ โจทก์ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ และจำเลยต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ในสัญญาและจดทะเบียนโอนให้โจทก์อีก สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์นำสืบว่าการชำระราคาส่วนที่เหลือจะกระทำเมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้ อันเป็นการนำสืบเงื่อนไขรายละเอียดข้อตกลงในการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ โจทก์จึงนำสืบได้ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่จำเลยทั้งสี่ทำสัญญาแบ่งขายให้โจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นด้วย แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินดังกล่าวมิได้บรรยายส่วนของตนไว้ และมิได้แบ่งแยกว่าส่วนของใครอยู่ตอนใด แต่ละคนจึงมีส่วนเท่า ๆ กัน กรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือที่ดินดังกล่าวทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งแยก การที่จำเลยทั้งสี่ตกลงขายที่ดินโดยระบุเจาะจงตรงส่วนด้านตะวันตกของที่ดินเป็นการขายตัวทรัพย์ ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสี่ จึงต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคนก่อน มิฉะนั้นสัญญาจะซื้อขายไม่มีผลผูกพันเจ้าของรวมซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย
เมื่อเจ้าของรวมที่มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ มิได้ถูกฟ้องหรือเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ทั้งไม่ยอมขายที่ดินส่วนที่จำเลยทั้งสี่ตกลงขายให้โจทก์ด้วย หากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนที่ขายให้โจทก์ตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพันเจ้าของรวมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลศาลจึงไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสี่ตามคำขอของโจทก์ได้
ปัญหาว่า ศาลจะบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินร่วม: ผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา & ความยินยอมเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่า จำเลยทั้งสี่แบ่งขายที่พิพาทเนื้อที่ 3 งาน45.6 ตารางวา ด้านทิศตะวันตก อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่โจทก์ในราคา 43,125 บาทและมอบที่ดินส่วนนี้ให้โจทก์ในวันทำสัญญาโดยโจทก์ชำระราคาให้ 20,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 9 เดือนดังนี้ เห็นได้ว่าการซื้อขายที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและมีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว แต่ยังมีหนี้ที่โจทก์จำเลยจะปฏิบัติต่อกันอีกคือ โจทก์ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือ และจำเลยต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ในสัญญาและจดทะเบียนโอนให้โจทก์อีก สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์นำสืบว่าการชำระราคาส่วนที่เหลือจะกระทำเมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้ อันเป็นการนำสืบเงื่อนไขรายละเอียดข้อตกลงในการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือโจทก์จึงนำสืบได้ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่จำเลยทั้งสี่ทำสัญญาแบ่งขายให้โจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นด้วย แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินดังกล่าวมิได้บรรยายส่วนของตนไว้ และมิได้แบ่งแยกว่าส่วนของใครอยู่ตอนใด แต่ละคนจึงมีส่วนเท่า ๆ กัน กรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือที่ดินดังกล่าวทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งแยก การที่จำเลยทั้งสี่ตกลงขายที่ดินโดยระบุเจาะจงตรงส่วนด้านตะวันตกของที่ดินเป็นการขายตัวทรัพย์ ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสี่ จึงต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคนก่อน มิฉะนั้นสัญญาจะซื้อขายไม่มีผลผูกพันเจ้าของรวมซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย
เมื่อเจ้าของรวมที่มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ มิได้ถูกฟ้องหรือเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ทั้งไม่ยอมขายที่ดินส่วนที่จำเลยทั้งสี่ตกลงขายให้โจทก์ด้วย หากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนที่ขายให้โจทก์ตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพันเจ้าของรวมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลศาลจึงไม่อาจบังคับจำเลยทั้งสี่ตามคำขอของโจทก์ได้
ปัญหาว่า ศาลจะบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมกับ ย. หลังจากทำสัญญากันแล้ว ย. ไม่ยอมรังวัดแบ่งแยกจำเลยก็ฟ้อง ย.และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ย. ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกทั้งได้ไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินในวันเดียวกันนั้น และได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการปฏิบัติตามสัญญาเป็นระยะ ๆ การที่จำเลยไม่สามารถรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จเรียบร้อยภายในกำหนดสามเดือนตามสัญญาเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดเมื่อการรังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว จำเลยได้นัดวันเวลาที่จะทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ให้เสร็จสิ้น แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดเพราะเลยกำหนดสามเดือนตามสัญญา จึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้เช่นเดียวกันจำเลยจะริบมัดจำโจทก์ไม่ได้
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 750/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ทำให้จำเลยไม่ผิดสัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมกับ ย.หลังจากทำสัญญากันแล้วย. ไม่ยอมรังวัดแบ่งแยก จำเลยก็ฟ้อง ย.และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันย. ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกทั้งได้ไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินในวันเดียวกันนั้น และได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการปฏิบัติตามสัญญาเป็นระยะ ๆ การที่จำเลยไม่สามารถรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จเรียบร้อยภายในกำหนดสามเดือนตามสัญญา เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดเมื่อการรังวัดแบ่งแยกเสร็จแล้ว จำเลยได้นัดวันเวลาที่จะทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ให้เสร็จสิ้น แต่โจทก์ไม่ไปตามนัดเพราะเลยกำหนดสามเดือนตามสัญญา จึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้เช่นเดียวกันจำเลยจะริบมัดจำโจทก์ไม่ได้
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 750/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลทรัพย์สินระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม: ข้อตกลงการวางเงินประมูลและการรับผิดชอบเมื่อไม่วางเงิน
เงื่อนไขและข้อตกลงในการประมูลที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตกลงกันตามรายงานเจ้าหน้าที่ เป็นข้อตกลงให้ผู้ประมูลได้วางเงินร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์ที่ประมูลได้ หากผู้ประมูลได้ไม่วางเงินส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินที่วางไว้จำนวนร้อยละ 5 แล้วนำเงินมาแบ่งกันระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยผู้ประมูลได้ไม่มีสิทธิได้รับเงินในส่วนนี้เท่านั้น ข้อตกลงในการประมูลตามรายงานเจ้าหน้าที่ถือได้ว่าเป็นความประสงค์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมที่ตกลงร่วมกัน อันเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นเพื่อให้การประมูลขายทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์รวมในระหว่างกันเองเป็นไปโดยราบรื่น ทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงมีผลใช้บังคับกันได้โดยชอบ อย่างไรก็ดี แม้ข้อตกลงดังกล่าวผูกพันโจทก์และจำเลยรวมทั้งเจ้าของรวมคนอื่น แต่ไม่ปรากฏข้อตกลงว่าหากผู้ประมูลได้ไม่วางเงินก้อนแรกจำนวนร้อยละ 5 แล้ว จะมีสภาพบังคับให้ผู้ประมูลได้ต้องมีความรับผิดชำระเงินจำนวนร้อยละ 5 ดังกล่าวให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ในเรื่องการประมูลระหว่างเจ้าของรวมนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอันได้แก่บทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 1 หมวด 4 ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด ซึ่งก็มิได้วางบทบัญญัติให้ผู้สู้ราคามีความรับผิดเกี่ยวกับเงินที่จะต้องวางก้อนแรกนี้ คงมีเพียงมาตรา 516 ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้ ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด" แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในเงินที่ต้องวางก้อนแรกตามข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งไม่มีสภาพบังคับ โดยมิได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในเงินส่วนที่ขาดเมื่อมีการประมูลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง คำขอท้ายฟ้องโจทก์จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจบังคับได้ จำเลยหาจำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องไม่
คดีนี้แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลจะมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้" ในคดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แล้วว่า กรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นรับฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั่นเอง โดยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14291/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และประเด็นการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องห้าม
ปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก..." โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมแต่ผู้เดียวย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมรายอื่นอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่นั้นไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยย่อมไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้
จำเลยให้การโดยบรรยายมาในคำให้การข้อ 3 ว่า จำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ก็โดยที่ดินพิพาทและบริเวณใกล้เคียงที่ดินพิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สภาพของที่ดินเป็นที่ลุ่ม มีน้ำฝนขังในหน้าฝนและแห้งแล้งในหน้าแล้ง มีต้นหญ้ากกต้นวัชพืชขึ้นรกเต็มพื้นที่ ไม่มีการทำประโยชน์ในที่ดินแต่ประการใด จำเลยได้สอบถามชาวบ้านใกล้เคียงต่างบอกว่าไม่เห็นมีใครทำประโยชน์และไม่ทราบว่าเป็นที่มีเจ้าของ จำเลยเห็นว่าสภาพของที่ดินพอเป็นที่เลี้ยงสัตว์ได้ถ้าได้ถากถางต้นหญ้าต้นไม้ที่ขึ้นรกออก จำเลยจึงได้เข้าไปทำประโยชน์ โดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ใดและไม่มีผู้ใดขัดขวางห้ามปราม ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้แผ้วถางที่ดินพิพาทซึ่งในขณะนั้นยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่า แล้วเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2529 การที่จำเลยให้การในตอนหลังว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์จึงขัดกับคำให้การในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของจำเลยในประเด็นการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม)
จำเลยให้การในตอนหนึ่งว่า โจทก์ได้แสดงความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาท เมื่อปี 2542 พร้อมกับแจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ตามคำให้การดังกล่าว แม้จะถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แต่เมื่อนับตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันฟ้องก็ยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง