คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกา: เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์รวมของที่ดินที่ถูกเวนคืน หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิไม่รับฎีกา
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ทั้งสี่เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของแต่ละคนเพิ่มภายใน10 วัน แม้โจทก์ทั้งสี่เห็นว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน ในการจ่ายค่าทดแทนของจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ร่วมกัน ในการคำนวณทุนทรัพย์เสียค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจึงต้องคำนวณ จากทุนทรัพย์ที่เป็นข้อโต้แย้งของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในแต่ละคนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ตาม โจทก์ทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก่อน หากโจทก์ทั้งสี่ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งในภายหลังได้เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาชดเชยตามกฎหมายและผลกระทบจากประกาศคสช. รวมถึงการคำนวณค่าขึ้นศาลสำหรับเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ (3) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้ การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2)และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินที่มีเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม การครอบครองแทนกัน และผลของการโอนสิทธิ
ที่ดินเดิมมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดรวมกัน15 คน เมื่อผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานใดแสดงให้เห็นว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์คนใดครอบครองอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว กรณีจึงถือว่าทุกคนได้ครอบครองร่วมกัน แม้ผู้ใดจะไม่ได้เข้าอยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดิน ก็ถือว่าคนที่อยู่อาศัยหรือทำกินครอบครองแทนผู้อื่นด้วย การที่ผู้ร้องทั้งสิบเอ็ดได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในอันดับ 1-8 ถือว่าผู้ร้องทั้งสิบเอ็ดได้ครอบครองสืบสิทธิจากผู้โอนในอันดับ 1-8 อันเป็นการครอบครองแทนผู้มีชื่อในโฉนดอันดับ 9-15 ด้วย ประกอบกับการครอบครองของผู้ร้องทั้งสิบเอ็ด ต่อมาก็มิได้มีพฤติการณ์ใดที่จะถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินมาเป็นของผู้ร้องแต่ละคนการครอบครองร่วมกันเช่นนี้จึงมิใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์อันจะได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีกคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในทรัพย์สินโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์ บุตรโจทก์และ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทกับ น. โดย จำเลยอาศัยสิทธิของ น. ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีกคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: โอกาสอันควรและผลกระทบต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมอื่น
โจทก์จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงพิพาทร่วมกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินแปลงพิพาทได้ เว้นแต่ในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ในการที่โจทก์จะให้เช่าที่ดินแปลงพิพาทถือได้ว่าเป็นโอกาสอันควรที่โจทก์จะขอแบ่งแยก ส่วนการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนเดิมร้องขอที่ดินคืนจากโจทก์ ก็เป็นเรื่องระหว่างเจ้าของเดิมกับโจทก์เท่านั้น ไม่กระทบกระเทือนถึงจำเลย จำเลยจะอ้างว่าไม่เป็นโอกาสอันควรหาได้ไม่