คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากเนื่องจากเจ้าของทรัพย์ติดตามคืนทรัพย์สิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อฝาก
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนอง จำนองและขายฝากให้ที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงไม่มีกำหนดอายุความ
การที่จำเลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำนวนเงินถึง 2,500,000 บาท โดยรู้เห็นอยู่แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ทำสิ่งใดและรู้เห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 4 เอง ที่หลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการที่โจทก์เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลาง: เจ้าของต้องพิสูจน์ตนเองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนของกลางไม่ได้
ป.อ. มาตรา 36 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของทรัพย์แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบ แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดทราบก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวก็เริ่มนับแล้ว
การขอให้ศาลสั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการยึดทรัพย์จากคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และสิทธิในการขอคืนทรัพย์สินเฉพาะเจ้าของทรัพย์
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงมีผลให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านและจำเลยที่ 3 สิ้นสุดลง แต่เมื่อพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านและของจำเลยที่ 3 คงมีแต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงผู้เดียวโดยจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 28, 29 แม้ผู้คัดค้านจะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจขอคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคดีอาญา แม้เจ้าของทรัพย์สินไม่ตรงตามฟ้อง แต่มีผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์แล้ว ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นเจ้าของทรัพย์
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยยักยอกเงินของร้าน ท. ซึ่งเป็นของ ส. จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้จะปรากฏต่อมาว่าร้าน ท. ไม่ใช่เป็นของ ส. แต่เป็นของ ต. แต่ ต. ได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยแล้ว ฉะนั้นประเด็นที่ว่าร้าน ท. เป็นของ ต. หรือ ส. จึงเป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์ขณะทำสัญญา หากสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อชำระหนี้ครบ
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าหากจำเลยชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา ก็อยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทให้จำเลยได้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบรูณ์บังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้คำร้องขอคืนของกลางไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ประเภทบริษัทจำกัด ช.เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง และผู้ร้องโดย ช.มอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้องตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 แต่หนังสือรับรองของสาธารณรัฐปานามาที่ผู้ร้องอ้างส่งต่อศาล กลับมีข้อความระบุว่าบริษัทผู้ร้องก่อตั้งเป็นบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฉบับที่ 32 ค.ศ. 1927 ของสาธารณรัฐปานามา ไม่ใช่ประเทศสิงคโปร์ดังที่ ส.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความ นอกจากนี้จากหนังสือดังกล่าวกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งมีอำนาจทำการแทนผู้ร้องตามกฎหมายคือ อ.ไม่ใช่ ช. การที่ช.ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 1998มีนายเตียว เอง เหลียง (TEO ENG LEONG) โนตารีปับลิก (NOTARY PUBLIC)ประเทศสิงคโปร์รับรองว่าบุคคลที่มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยความสมัครใจ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 1998 (พ.ศ.2541)ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าได้ทำการมอบอำนาจกันที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ แม้หนังสือรับรองของโนตารีปับลิกจะมีตราสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ประทับอยู่ ก็เป็นการประทับรับรองว่านายเตียว เอง เหลียง เป็นโนตารีปับลิกเท่านั้น ไม่ได้รับรองหนังสือมอบอำนาจว่าถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่
ช.ลงลายมือในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้อง โดยช.ไม่มีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง ส.ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งทนายความยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้อง ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คดีนี้เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีหลัก ประเด็นในคดีจึงมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของที่แท้จริงหรือไม่เท่านั้น สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลสั่งริบของกลางไม่ได้นั้น ได้ยุติไปแล้วตามคำสั่งของศาลในคดีหลัก ผู้ร้องจึงฎีกาในประเด็นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์ต้องมีผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของทรัพย์โดยตรง คดีนี้เงินค่าเช่ายังไม่ตกเป็นของโจทก์
++ เรื่อง ยักยอก (ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลในข้อหาละเมิดและเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณา ศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยให้จำเลยจัดการเก็บเงินค่าเช่าอาคาร ร้านค้าและแผงลอยในตลาดของโจทก์แล้วนำเงินมาวางศาลทุกเดือนจำเลยได้เก็บเงินค่าเช่าแผงลอยในตลาดแล้วไม่นำไปวางศาล แต่เงินค่าเช่าที่จำเลยรับไว้ดังกล่าวยังไม่เป็นเงินของโจทก์ ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะได้เบียดบังเอาเงินที่ได้รับไว้นั้นเป็นของตนโดยทุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ได้โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4972/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์และเจตนาในการกระทำผิดกรณีการพนัน ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่าง
ผู้ร้องคงมีแต่ฟ.กรรมการบริษัทผู้ร้องเป็นพยานเบิกความลอยๆว่าบริษัทผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้ปาเป้าไฟฟ้าซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ทั้งพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีคำแปลภาษาไทยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้ปาเป้าของกลางนอกจากนั้นการที่ผู้ร้องมอบให้ส. เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งตู้ปาเป้าก็ขึ้นอยู่กับส. ว่าจะนำไปติดตั้งที่ใดก็ได้ ผู้ร้องไม่สนใจขอเพียงได้รับเงินเดือน เดือนละ 2,000 บาท เท่านั้น ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้ เห็นว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดการฎีกาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยค่าเสียหายที่ต่ำกว่า และผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง กับให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 50,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าอาจนำห้องพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ10,500 บาท ต่อห้องแต่โจทก์ขอคิดค่าขาดประโยชน์จากจำเลยเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง ซึ่งหมายถึงห้องพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 10,000 บาท หรือมากกว่านี้ต่อห้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท ต่อห้อง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริงจึงยุติว่าห้องพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าเพราะวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่ามีเพียงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์สัญญาเช่าย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทหรือได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินและขาดการแจ้งเจ้าของทรัพย์
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินพิพาทขณะยึดเพียง 404,000 บาท และผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด 430,000 บาท ก็ตาม แต่ก่อนมีการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามราคาที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือตอบมาว่าที่ดินพิพาทราคา 808,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลเกือบเท่าตัว ประกอบกับการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายครั้งแรก และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มาระวังการขายเนื่องจากไม่ทราบวันขายทอดตลาด ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในขณะนั้นมีเพียง 100,000 บาทเศษ เท่านั้น พฤติการณ์ในการขายทอดตลาดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการรวบรัดและกดราคาจึงเป็นการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบ
of 14