พบผลลัพธ์ทั้งหมด 335 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983-984/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับผู้จะซื้อ สิทธิเช่าย่อมไม่ผูกพันเจ้าของที่ดินเดิม
จำเลยที่ 19 ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ส. แต่ขณะนั้น ส. เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ในสำนวนหลัง) โดยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับโจทก์ที่ 1 มีข้อตกลงว่าในระหว่างการผ่อนชำระเงินค่าที่ดิน ส. จะต้องไม่ทำนิติกรรมใด ๆ ก่อให้เกิดภาระผูกพันที่ดินพิพาทด้วย ดังนั้น สัญญาเช่านาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ไม่
ส. มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาเช่า ดังนั้น แม้ ส. จะให้จำเลยที่ 19 เช่าที่ดินพิพาททำนาก็หาใช่เป็นการที่ผู้เช่านำทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นไปให้เช่าช่วง อันจะมีผลทำให้การเช่าที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เข้าลักษณะเป็นการเช่าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 ทั้งโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 19 ใช้ที่ดินพิพาทเพื่องานเกษตรกรรมทำนาโดยได้รับค่าเช่า และมิได้กระทำนิติกรรมอื่นใดต่อกันอันจะเป็นการอำพรางการเช่านาด้วย ดังนั้น การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทำนาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงมิได้มีผลถือว่าเป็นการเช่านาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 19 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 จำเลยที่ 19 จึงมิได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
ส. มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาเช่า ดังนั้น แม้ ส. จะให้จำเลยที่ 19 เช่าที่ดินพิพาททำนาก็หาใช่เป็นการที่ผู้เช่านำทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นไปให้เช่าช่วง อันจะมีผลทำให้การเช่าที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เข้าลักษณะเป็นการเช่าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 ทั้งโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 19 ใช้ที่ดินพิพาทเพื่องานเกษตรกรรมทำนาโดยได้รับค่าเช่า และมิได้กระทำนิติกรรมอื่นใดต่อกันอันจะเป็นการอำพรางการเช่านาด้วย ดังนั้น การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทำนาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงมิได้มีผลถือว่าเป็นการเช่านาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 19 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 จำเลยที่ 19 จึงมิได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่และบดบังทัศนียภาพ ทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 60,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา ส่วนจำเลยฎีกาโต้แย้งว่าค่าเสียหายควรต่ำกว่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่อาจให้เช่าได้ขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์ตอนท้ายได้บรรยายแล้วว่า โจทก์ประสงค์จะนำที่ดินไปทำประโยชน์โดยทำเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า จึงให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งบังหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งหมดออกไป และบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนแม้จะปลูกนอกเขตที่ดินโจทก์ แต่บังหน้าที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำประโยชน์ได้ ขอให้รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนออกไปจากหน้าที่ดินพิพาทด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า การที่จำเลยใช้สิทธิปลูกบ้านในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือควรคาดหมายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกบังหน้าที่ดินโจทก์ทั้งยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้อีก จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำฟ้องโจทก์ตอนท้ายได้บรรยายแล้วว่า โจทก์ประสงค์จะนำที่ดินไปทำประโยชน์โดยทำเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า จึงให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งบังหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งหมดออกไป และบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนแม้จะปลูกนอกเขตที่ดินโจทก์ แต่บังหน้าที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำประโยชน์ได้ ขอให้รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนออกไปจากหน้าที่ดินพิพาทด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า การที่จำเลยใช้สิทธิปลูกบ้านในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือควรคาดหมายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกบังหน้าที่ดินโจทก์ทั้งยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้อีก จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเจ้าของที่ดินพิพาทเป็นหลัก: คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยปักเสาและทำกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แม้จะมีคำขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกไปและทำให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิม อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การว่า จำเลยกั้นรั้วล้อมรอบที่ดินของจำเลยเอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นโต้เถียงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลักดังนั้น ตามคำฟ้องที่ขอให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกไปและทำให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิม จึงเป็นผลอันเนื่องมาจากว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เพราะศาลจะบังคับตามคำขอนี้ได้ก็ต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5927/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยมิชอบ เจ้าของที่ดินมีสิทธิเพิกถอนได้ แม้ผู้รับจำนองจะสุจริต
จำเลยที่ 1 ลักลอบปลอมหนังสือมอบอำนาจและนำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้ประมาทเลินเล่อ แม้จำเลยที่ 2 จะรับจำนองไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ก็เป็นการรับจำนองอันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยมิชอบ นิติกรรมจำนองดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ เพราะการจำนองทรัพย์สินนั้นนอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะนั้นแล้วท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 705
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของที่ดินประมาทเลินเล่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นนำเอกสารไปจดจำนอง ศาลยกฟ้องเพิกถอนจำนอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ธ. ได้ขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยให้ ม. เป็นนายหน้า ต่อมา ม. นำเอกสารให้โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความ และโจทก์ยังได้มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ ม. ไปจนกระทั่งมีการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทได้ เป็นการกระทำที่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำหนังสือมอบอำนาจไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามพฤติการณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกระทำดังกล่าว ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่อาจอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเป็นมูลเหตุฟ้องร้องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพื่อให้ตนพ้นความรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากจำเลยอ้างเป็นเจ้าของแต่แรก
จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยที่ 3 จึงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเรียกคืนทางผ่านเดิมเมื่อทางผ่านใหม่สร้างความเสียหายและเป็นเพียงอัธยาศัย
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยและที่ดินของบุคคลอื่นปิดล้อมอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะร่วมกับจำเลยตั้งแต่ปี 2521 จนกระทั่งปี 2536 จำเลยก็ยินยอมให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางใหม่ตามที่โจทก์ขอ แต่พอถึงปี 2541 จำเลยนำท่อนเหล็กไปปิดกั้นทางดังกล่าวมิให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะแต่ก็ยังยินยอมให้โจทก์ใช้เส้นทางเดิมอยู่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม ได้กำหนดวิธีทำทางผ่านที่ต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้จะผ่าน และให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินจึงมีสิทธิเรียกให้โจทก์ย้ายทางใหม่กลับไปใช้เส้นทางเดิมได้ เพราะการที่จำเลยยอมให้โจทก์ทำทางใหม่ซึ่งเป็นทางพิพาทใช้เป็นทางสัญจรไปมานั้นเป็นอัธยาศัยที่จำเลยมีต่อโจทก์ มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายลดลงทั้งเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่จำเลยเนื่องจากมีบุคคลภายนอกเข้ามาในที่ดินและอาจเป็นช่องทางให้คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทางใหม่ ถมดิน รื้อและปลูกสร้างเล้าหมูให้จำเลยใหม่ รวมทั้งขุดถอนกอไผ่นั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นค่าทดแทนที่โจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านใช้ให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685-3686/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รั้วและสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของที่ดินมีสิทธิให้รื้อถอนได้
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ด. ซึ่งบริษัท ด. ได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหา ด้านหลังอาคารมีกำแพงรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กสูงประมาณ 2 เมตร กั้นยาวตลอดทั้ง 11 คูหา ลงบนที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซื้ออาคารมาเมื่อปี 2525 และ 2536 ตามลำดับ แล้วต่อเติมรั้วคอนกรีตเดิมซึ่งอยู่นอกโฉนดที่ดินอาคารที่ซื้อมาให้สูงขึ้นและมุงหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2537 ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมรั้วคอนกรีตทั้งหมด ในการที่รั้วคอนกรีตที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้วเดิมไม่มีกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับแก่คดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. และบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับกับข้อเท็จจริงในคดีนี้คือ ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วคอนกรีต โจทก์จึงเป็นเจ้าของรั้วคอนกรีตเดิม ส่วนรั้วคอนกรีตที่ต่อเติมให้สูงขึ้นและสิ่งปลูกสร้างที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่ต่อเติมขึ้นภายหลังนั้น ก็ไม่ใช่การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หรือสร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในที่ดินของผู้อื่น แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะกระทำไปโดยสุจริต จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ที่ดินของโจทก์ได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1312 และมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงต้องรื้อส่วนที่ต่อเติมดังกล่าวออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524-3525/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยชายคา/กันสาด: ประเด็นความไม่ชัดเจนของฟ้อง และอายุความสิทธิเจ้าของที่ดิน
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งถึงลักษณะสภาพและขนาดของอาคาร ที่จำเลยฎีกาว่าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 ให้ความหมายของคำว่า ชายคาและกันสาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การที่โจทก์ทั้งสี่บรรยายคำฟ้องยืนยันว่าจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเฉพาะชายคาชั้นสองจึงเป็นคำบรรยายฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะสิ่งที่โจทก์ทั้งสี่กล่าวอ้างนั้นโดยแท้จริงมีสภาพเป็นกันสาดคอนกรีตที่ยื่นออกไปกันน้ำฝนไหลย้อนผนังอาคารด้านหลัง ไม่ใช่ชายคาหรือหลังคาตามฟ้องนั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีครอบครองที่ดิน: ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิครอบครองก่อนตัดสินความเป็นเจ้าของ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย โดยที่ดินพิพาทเป็นเพียงที่ดินที่มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองทำประโยชน์ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยได้นำชี้ทับกันอยู่จึงยังไม่แน่ชัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของฝ่ายใด ดังนั้น การวินิจฉัยว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงจำต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลย แล้วพิพากษาคดีไปตามที่พิจารณาได้ความ จึงไม่ใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น