พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880-4881/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า การโอนสิทธิ และการละเมิดเครื่องหมายการค้า
จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้มีการดำเนินการจดทะเบียนเสร็จสิ้นแล้ว การที่โจทก์ที่ 1 ผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนจำน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องว่ากล่าวเอาจากอีกฝ่ายหนึ่งต่อไปฐานะที่เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงนั้น ไม่มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงเรื่องการเข้าร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าเสียไป
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฟังว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ร่วมกันเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาท ย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) และไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฟังว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ร่วมกันเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาท ย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) และไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880-4881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมเครื่องหมายการค้า: ศาลพิพากษาชอบธรรมตามอำนาจและข้อตกลง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวร่วมกัน เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 358909, 365222 และ 365223 และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 437187, 437188 และ 437189 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่โอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 50
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 358909, 365222 และ 365223 และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 437187, 437188 และ 437189 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่โอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: สิทธิของเจ้าของร่วมและการดำเนินการหากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจจัดการและดูแลรักษาห้องน้ำชายและหญิงซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ตั้งอยู่บนชั้นที่ 6 ได้ปิดกั้นประตูห้องน้ำไม่ให้โจทก์และเจ้าของห้องชุดคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมใช้ประโยชน์ หากเป็นการจัดการทรัพย์ส่วนกลางที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุดฯ หรือข้อบังคับประการใด โจทก์และเจ้าของห้องชุดดังกล่าวต้องดำเนินการแก่จำเลยทางมติที่ประชุมของเจ้าของห้องชุดหรือทางคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: สิทธิเจ้าของร่วมและการดำเนินการตามกฎหมาย
ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเป็นทรัพย์สินซึ่งเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน การจัดการทรัพย์ส่วนกลางต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 17, 33, 35, 36 และ 37 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจจัดการและดูแลรักษาห้องน้ำชายและหญิงซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ได้ปิดกั้นประตูห้องน้ำไม่ให้โจทก์และเจ้าของห้องชุดคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมใช้ประโยชน์ หากเป็นการจัดการทรัพย์ส่วนกลางที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หรือข้อบังคับ โจทก์และเจ้าของห้องชุดต้องดำเนินการแก่จำเลยทางมติที่ประชุมของเจ้าของห้องชุดหรือทางคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม: การใช้ประโยชน์ที่ดินต้องไม่ขัดสิทธิเจ้าของร่วมอื่น
จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในที่ดินพิพาทโดยยังไม่ได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นการใช้ที่ไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารโดยเลือกบริเวณติดถนนสุขุมวิทโดยไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมคนอื่น จึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส: เจ้าของร่วมทรัพย์สินมีสิทธิยื่นคำร้อง
ผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แต่ผู้ตายได้ที่ดินมาหลังจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับผู้ร้องและไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการให้โดยเสน่หา ที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมกัน ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในรถยนต์ที่ใช้กระทำผิด: การริบเฉพาะส่วนและสิทธิของเจ้าของร่วม
ผู้ร้องเป็นภริยาของจำเลยร่วมกับจำเลยซื้อรถยนต์บรรทุกของกลางมา ดังนั้น การที่ผู้ร้องขอให้คืนรถยนต์บรรทุกของกลางให้แก่ผู้ร้องทั้งคันนั้น ไม่อาจคืนได้เพราะผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกของกลางอยู่เพียงกึ่งเดียว เมื่อจำเลยซึ่งมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยอีกกึ่งหนึ่งนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปใช้กระทำความผิดแต่โดยลำพัง รถยนต์บรรทุกของกลางจึงเป็นของต้องริบเพียงกึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งต้องตกได้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8992/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของร่วมที่ดินในการขอเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิเมื่อถูกโต้แย้งจากการจดทะเบียนโอนที่ดิน
จำเลยร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจไปเป็นหลักฐานการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทได้รับความเสียหายในผลแห่งคดีหากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ท้ายคำร้องขอจะระบุว่า ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ก็ต้องถือว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) โดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องสอด หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(2) ไม่และศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6885/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีเจ้าของร่วม หากมีการแบ่งแยกครอบครองเป็นสัดส่วน ย่อมสามารถอ้างสิทธิได้ตามกฎหมาย
แม้ที่ดินตามโฉนดที่พิพาทจะมีชื่อบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่ามีการแบ่งแยกที่ดินให้เจ้าของรวมแต่ละคนครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว ย่อมมีการครอบครองโดยปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วม ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 และ 218
จำเลยซึ่งเป็นผู้จุดไฟจนเกิดไฟไหม้บ้านเป็นเจ้าของ บ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วยและเนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 218 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217 โดย มาตรา 218 บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ ในมาตรา 218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้น ดังนั้น การกระทำอันมิได้เป็นความผิดตามมาตรา 217 แม้กระทำต่อ ทรัพย์ที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน เมื่อมาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า การวางเพลิงเผาทรัพย์ ของผู้อื่นเป็นความผิดโดยไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" ก็เป็นความผิดแล้ว จึงต้อง ตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" โดยเคร่งครัด เพราะเป็น การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา มิอาจตีความขยายความ ออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วย การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 217 และย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 218(1) เช่นเดียวกัน การที่โจทก์ฎีกาว่าหากศาลฎีกาฟังว่าจำเลยไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ก็เป็นความผิดตาม มาตรา 220 วรรคสอง แต่เมื่อพิจารณาความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 แล้ว กรณีจะต้องเป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของผู้กระทำเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้พิพากษาลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง