พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: โอนสิทธิโดยไม่ชอบ เจ้าของสิทธิที่แท้จริงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้จนกว่าจะมีสิทธิบัตร
ส. เป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐ สิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ซึ่งได้ประดิษฐ์ขึ้นในฐานะข้าราชการมหาวิทยาลัยดังกล่าวจึงมิใช่ของตน เมื่อ ส. โอนสิทธิไปให้โจทก์ โจทก์นั้นจึงไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรได้ ประกอบกับยังมีกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับผู้มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์พิพาทที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายการละเมิดสิทธิบัตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว
การฟ้องเรียกค่าเสียหายการละเมิดสิทธิบัตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - สัญญาเช่าที่ไม่มีผลต่อเจ้าของสิทธิ - การละเมิดสิทธิครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์โดยจำเลยไปเช่าที่พิพาทจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิให้เช่า จำเลยย่อมไม่อาจอ้างสัญญาเช่ามาใช้ยันโจทก์ได้ การอยู่ในที่ดินของจำเลยจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทาง ฎีกาชี้ว่าการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของสิทธิ ทำให้เกิดภารจำยอมได้ แม้มีการย้ายทาง
ทางที่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงอื่นโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบมาตรา 1382 แล้ว ต่อมามีการย้ายทาง ไปยังส่วนอื่นของที่ดินแปลงนั้น ก็ต้องถือว่าทางนั้นตกเป็นภารจำยอมแทนทางภารจำยอมเดิมตามมาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้แทนตามกฎหมาย: เมื่อเจ้าของสิทธิถอนฟ้อง ผู้แทนย่อมขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลโจทก์ที่ 2 มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักใบตราส่งของโจทก์ที่ 1 เพื่อนำไปรับสินค้าที่มากับเรือแล้วปลอมแปลงเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งสอง โดยแก้ชื่อผู้รับสินค้าจากโจทก์ที่ 1 เป็นจำเลยที่ 1 อันเป็นความเท็จแล้วแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่ง สินค้าดังกล่าวของโจทก์ทั้งสอง เป็นคำฟ้องที่ฟังได้ว่าผู้รับสินค้าตามใบตราส่งคือโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวโจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของสินค้าตามใบตราส่งหรือร่วมเป็นเจ้าของสินค้าตามใบตราส่ง ทั้งโจทก์ที่ 2 ฟ้องในฐานะผู้แทนของโจทก์ที่ 1 มิใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัว เมื่อโจทก์ที่ 1ถอนฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เป็นผู้ที่ได้รับ ความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งตามคำฟ้องที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: จำเลยไม่ใช่เจ้าของสิทธิโดยตรง โจทก์ฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปดูแล เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทโดยตรง ทั้งกฎหมายได้ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุและมีหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้ทำการแทนหรือตัวแทนกระทรวงการคลังเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกระทรวงการคลังเป็นจำเลยด้วยคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจผูกพันกระทรวงการคลังผู้เป็นเจ้าของสิทธิในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการกระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิโดยชัดแจ้ง การมอบแบบพิมพ์โอนสิทธิไม่ถือเป็นความยินยอม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 และผู้ร้องได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์คันนั้น แม้โจทก์ยินยอมมอบแบบพิมพ์โอนสิทธิการเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 และผู้ร้องพร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ร้องเรียกคู่สัญญาเช่าซื้อจากจำเลยมาเก็บไว้ แต่การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นของคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ผู้ร้องและจำเลยจะโอนให้แก่กันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ หรือมิฉะนั้นผู้ร้องและจำเลยต้องทำสัญญากับโจทก์โดยตรงเพียงแต่โจทก์มอบแบบพิมพ์โอนการเช่าซื้อให้จำเลยและผู้ร้องจะถือว่าโจทก์ยินยอมเป็นหนังสือยังไม่ได้ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินชั่วคราวและการส่งมอบเงินให้เจ้าของสิทธิ: จำเลยไม่ต้องรับผิดอากร หากมีการออกใบรับเงินตัวจริงและปิดอากรถูกต้อง
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับในการรับเงินไว้มีข้อความว่า "ใบรับเงินชั่วคราว วันที่ 28 ตุลาคม 2507 ข้าพเจ้านายจิง แซ่โค้ว(จำเลย)ผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท สามแยก กรุงเทพฯ ได้รับเงินที่นำมาลงทุนซื้อยาเบอร์เล่ย์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 959,890 บาท 10 สตางค์ คืนจากกรรมการผู้จัดการบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัดไว้เป็นที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้วส่วนใบรับตัวจริงจะส่งมาให้ภายหลัง ลงชื่อนายจิงแซ่โค้วผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท" เป็นแต่เพียงเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้รับเงินลงทุนซื้อยาของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทคืนมาจากบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัด ไว้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทเป็นการชั่วคราว จำเลยมิได้รับเงินไว้เป็นของตนเอง เมื่อจำเลยเอาเงินรายนี้ไปส่งมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับเงินตัวจริงส่งมาให้บริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์จำกัดอีกฉบับหนึ่งใน3 วันต่อมาและได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่รับแทนมาเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทผู้รับเงินแท้จริงไม่ได้ปฏิบัติการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินอากรและเงินเพิ่มอากรสำหรับใบรับเงินชั่วคราวอีก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2765/2515) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาหลังเจ้าของสิทธิเสียชีวิต: ผู้รับมรดกไม่มีอำนาจฟ้องแทน หากการกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนได้รับมรดก
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดินในขณะที่มารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดนั้นยังมีชีวิตอยู่มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากที่มารดาโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ผู้สั่งซื้อสินค้าติดเครื่องหมายการค้าไม่ใช่เจ้าของสิทธิ ไม่ถือว่าละเมิด
โจทก์จำเลยสั่งสินค้าชนิดเดียวกันจากบริษัทในต่างประเทศแห่งเดียวกันและบริษัทติดเครื่องหมาย "ฮิท"(HIT) ในสินค้านั้นมา แต่เครื่องหมายไม่เหมือนกับที่จำเลยจดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและสินค้าที่จำเลยสั่งมา จำเลยให้บริษัททำเครื่องหมายแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย ดังนี้การที่โจทก์สั่งสินค้าเครื่องหมาย "ฮิท"(HIT) ตามธรรมดา (ซึ่งไม่เหมือนกับที่จำเลยสั่ง) เข้ามาจำหน่ายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4675/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การพิสูจน์ฐานะผู้เสียหายและหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของสิทธิ
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ชัดเจนพอที่จะฟังได้ว่า สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยในการยับยั้งและจัดเก็บสิทธิในภาพยนตร์หมายถึงอะไร เจ้าของสิทธิ ในต่างประเทศยังคงสงวนสิทธิในการใช้ดุลพินิจพิจารณาข้อดีข้อเสียในการร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยด้วยตนเองเพียงผู้เดียวหรือไม่หากเจ้าของสิทธิในต่างประเทศยังคงสงวนสิทธิดังกล่าว การร้องทุกข์โดยบริษัท บ. จะทำได้ต้องทำในฐานะตัวแทนเจ้าของสิทธิในต่างประเทศซึ่งก็ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของสิทธิในต่างประเทศให้ทำเช่นนั้นได้ด้วย และไม่เป็นการยากที่เจ้าของสิทธิในต่างประเทศจะทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือทำหนังสือมอบอำนาจให้ชัดเจนหากมีความประสงค์เช่นนั้นจริง และหากมีข้อเท็จจริงเช่นนั้นก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องระบุไว้ในคำบรรยายฟ้องให้ชัดเจน เพื่อมิให้กระทบถึงเสรีภาพของจำเลยทั้งห้าในการที่อาจถูกดำเนินคดีซ้ำสอง เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ยังไม่มีความชัดเจนในข้อนี้ กรณียังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าบริษัท บ. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งห้าในความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต การแจ้งความร้องทุกข์โดยบริษัท บ. จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง โดยให้มีผลถึงจำเลยที่ไม่อุทธรณ์ด้วย