คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการเป็นเจ้าของเงินในเช็ค กรณีผู้กู้เป็นหนี้ผู้ให้กู้
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กันครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป. ในราคา 1,200,000 บาทต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป. ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาท ในนามจำเลยเป็นผู้รับเงินเพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิจำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลย เป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืมจำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วยเมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้วเงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลง ให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหาย กล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหาย เป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือ ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด - เจ้าของเงินที่แท้จริง - การโอนเงินเข้าบัญชี - ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิด ของผู้ร้องสอด การที่จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริง และโจทก์ตกลงให้กระทำได้เช่นนี้แม้เช็คพิพาทจะระบุชื่อโจทก์ เป็นผู้รับเงิน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารใช้เงินฝากผิดวัตถุประสงค์เป็นละเมิดต่อเจ้าของเงิน
ส.ม.ฝากเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์แก่ธนาคารในชื่อส. ม. ตั้งแต่ก่อนจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วธนาคารเอาเงินในบัญชีนี้ใช้หนี้ส่วนตัว ส. โดยโจทก์ไม่ยินยอมและธนาคารทราบแล้วว่าเป็นเงินของโจทก์ เป็นเหตุให้ธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็คของโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงดังนี้เป็นละเมิด ธนาคารต้องใช้เงินคืนกับดอกเบี้ยและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย
ประเด็นเรื่องโจทก์ควรฟ้องหรือร้องขัดทรัพย์ แม้ศาลยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งประเด็นไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) แต่ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจดังกล่าวต่อเมื่อมีเหตุอันควร จึงไม่วินิจฉัยในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเงินที่แท้จริงมีสิทธิฟ้องร้องยักยอกทรัพย์ ผู้รับมอบเงินแต่ยังไม่ได้ส่งมอบให้เจ้าของเดิมไม่มีสิทธิมอบคดี
ผู้ซื้อนามอบเงินราคาค่านาที่ซื้อขายกันให้แก่จำเลยนำไปมอบแก่ผู้ขาย จำเลยกลับยักยอกเอาเงินนั้นเอาไว้เป็นประโยชน์ของจำเลยเสียเช่นนี้ เจ้าของเงินผู้เสียหายก็คือผู้ซื้อ ไม่ใช่ผู้ขาย ฉะนั้น ผู้ขายจะร้องทุกข์มอบคดีในความผิดฐานยักยอกนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้สิน: เจ้าหนี้ที่แท้จริง และการต่อสู้เรื่องเจ้าของเงินกู้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้กู้จากโจทก์ เป็นแต่เคยเซ็นชื่อในหนังสือกู้ให้จำเลยที่ 3 ไว้ และจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของเงิน ภายหลังหนังสือกู้ไปตกอยู่ที่โจทก์โดยภรรยาจำเลยเอาไปให้โจทก์ดังนี้ จำเลยนำพะยานมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071-1072/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนองแทนเจ้าของเงินโดยไม่ใช้ใบมอบฉันทะ และการแบ่งเงินจำนองเป็นมรดก
ที่ดิน จำนอง เจ้าของเงินวานผู้อื่นนำเงินไปรับจำนองที่ดินและลงชื่อแทน ไม่จำเปนต้องมีใบมอบฉันทะ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 ประกาศรัชกาลที่ 4 ว่าด้วยทาษลูกหนี้ที่ 1-2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966-6967/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงและรับของโจร: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของเงินจริงเท่านั้น
จำเลยทั้งสองนำใบถอนเงินซึ่งประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมที่เป็นตราประทับปลอมไปหลอกลวงจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ธนาคารหลงเชื่อ เงินที่จำเลยทั้งสองกับพวกได้รับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร มิใช่เงินของโจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจร เมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารซึ่งเป็นเจ้าของเงินได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองกับพวก พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจร แม้ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีการร้องทุกข์ก็ตาม แต่โจทก์ร่วมไม่ใช่เจ้าของเงินและไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจรเป็นฟ้องที่ขัดกัน เป็นฟ้องเคลือบคลุมและจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานร่วมกันยักยอก ดังนั้นเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจรและฐานยักยอก เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่ฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับเงินผิดพลาด: เจ้าของเงินมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ แม้มีปัญหาการรับฝาก
สัญญาฝากเงินและเบิกถอนเงินระหว่างโจทก์กับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ จำกัด เป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ดังนั้นเงินฝากของสหกรณ์ที่ฝากไว้กับโจทก์ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ที่มีการฝากเงิน สหกรณ์ฯ มีสิทธิที่จะเบิกถอนเงินได้ โจทก์เพียงแต่มีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่พนักงานของโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดและนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็ดที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชี จึงเป็นการเอาเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เองเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย ไม่ใช่เป็นการเอาเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ฯ เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย แม้บัญชีเงินฝากของสหกรณ์ฯ จะมียอดแสดงการหักเงินจากบัญชี แต่บัญชีเงินฝากของสหกรณ์ฯ เป็นเพียงหลักฐานและการตรวจสอบการรับฝากและถอนเงินระหว่างโจทก์กับสหกรณ์ฯ เท่านั้น เมื่อสหกรณ์ฯ ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินที่จำเลยเบิกถอนไปจากโจทก์ สหกรณ์ฯ จึงย่อมไม่มีสิทธิติดตามและเอาเงินคืนจากจำเลยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1336 การที่โจทก์ชดใช้เงินคืนให้แก่สหกรณ์ฯ เป็นความรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับสหกรณ์ไม่มีสิทธิใดที่โจทก์จะรับช่วงจากสหกรณ์ฯ ในการฟ้องร้องเรียกให้จำเลยชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 226, 227 และ 229
เมื่อจำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ การที่พนักงานโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดโดยนำเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็ดที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชีโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิรับเงินตามเช็คและจำเลยได้เบิกถอนเงินจำนวนตามเช็คไปจากบัญชีเงินฝากของจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์เก็บบรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนให้แก่สหกรณ์ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทกฎหมายขึ้นปรับใช้บังคับแก่คดีเป็นหน้าที่ของศาล เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว เมื่อจำเลยได้เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลย ซึ่งมีจำนวนเงินตามเช็ค 4 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งหมด 219,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 227 วรรคหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงแม้หลอกลวงบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของเงินกู้ ย่อมเป็นผู้เสียหายในคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเพื่อขอกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องหลอกลวงมารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงิน ซึ่งจำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวง เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ดังนั้น ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว จึงเป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงด้วยคนหนึ่ง ข้อแตกต่างดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงฟังลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม