คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องมีลักษณะเปิดเผย ถาวร และห้ามมิให้ถือวิสาสะจากเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทได้แบ่งแยกมาจากที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งต้องมีการรังวัดโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวและเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็จะต้องรับรองแนวเขต หากจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยจะต้องรู้เห็นและโต้แย้งหรือคัดค้าน แม้จำเลยจะอ้างว่าทำรั้วล้อมที่ดินก็เป็นรั้วไม้รวกตีปักในแนวตั้ง มีประตูรั้วทำด้วยสังกะสีและเลี้ยงโคนมกับเลี้ยงไก่ ก็ล้วนมีลักษณะเป็นการครอบครองชั่วคราวเพราะไม่มีลักษณะแน่นหนาและถาวร การที่จำเลยเข้าไปครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการถือวิสาสะจากเจ้าของที่ดินเดิมตลอดมา แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมาช้านานเพียงใด จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนรั้วเพื่อสร้างรั้วใหม่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของเดิมยังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์เดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ.มาตรา 83, 84,91, 358, 363, 365 และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ว่า การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้ทำให้รั้วลวดหนามเสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์จากการใช้สอยสำหรับโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วม การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ถูกต้องก่อนว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเสารั้วและลวดหนามนั้นหรือไม่
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนรั้วเพื่อสร้างรั้วใหม่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของเดิมยังสามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,91,358,363,365 และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ว่า การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 222 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้ทำให้รั้วลวดหนามเสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์จากการใช้สอยสำหรับโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วม การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ถูกต้องก่อนว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเสารั้วและลวดหนามนั้นหรือไม่
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งเปลี่ยนเจตนา ยึดถือแทนเจ้าของเดิม ไม่ครบ 10 ปี ไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน จึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ตราบใดที่จำเลยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของที่ดินว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 แม้จำเลยได้เข้าครอบครองที่พิพาทในช่วงเวลานับแต่ปี 2510 ถึงปี 2530ที่โจทก์จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทมาจากเจ้าของเดิม กรณีก็ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382ทั้งการครอบครองที่พิพาทหลังจากโจทก์จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องหรือวันที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งก็ยังไม่ครบสิบปี จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
จำเลยฎีกาอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริงตามคำฟ้องและที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายว่าโจทก์เสียหายไม่เกินเดือนละ 200 บาท ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองต้องมีเจ้าของเดิม การอ้างสิทธิของตนเองขัดแย้งกับประเด็นการแย่งการครอบครอง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยจำเลยไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น
เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองหรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยได้ให้การและฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกโดยไม่ชอบ สิทธิในที่ดินของผู้รับโอนตกเป็นของเจ้าของเดิม
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่า โจทก์ยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ฉะนั้นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกไว้ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6 ในที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6ซึ่งเป็นผู้โอน การได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทนจะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ไม่ได้เช่นกัน ชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้องศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ถูกริบ: สิทธิของเจ้าของเดิมก่อนคดีถึงที่สุด
ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบจะตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่เมื่อมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในข้อดังกล่าวและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าว จึงยังหาตกเป็นของแผ่นดินไม่ ดังนั้น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางย่อมโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริง และมีสิทธิยื่นคำร้อง ขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วภายในกำหนด 1 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กรรมสิทธิ์ยังอยู่เจ้าของเดิมจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยในสัญญาซื้อขายระบุว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่ยังไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากโจทก์ที่ 2 และที่ 5ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะโอนทันทีแสดงว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้นเพราะยังมีข้อตกลงจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันตามข้อตกลงในสัญญากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงอยู่แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ถึงจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ทั้งห้า จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ยันกับโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะขับไล่โจทก์ทั้งห้าออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4416/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางจำเป็นและผลผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิม
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทางจำเป็นจึงเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป
ทางจำเป็นรายพิพาทเจ้าของเดิมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5853 ซึ่งล้อมอยู่ได้รับเงินค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางจำเป็นไปแล้วโดยโจทก์ตกลงจะไม่เรียกร้องค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินเดิมหรือจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านซึ่งปลูกในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 อีกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว กรณีเช่นนี้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 ย่อมได้มาซึ่งทรัพยสิทธิทางจำเป็น จึงรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่จากเจ้าของที่ดินเดิม แม้จำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มาจากจำเลยในคดีเดิม จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอก โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันโดยคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าใช้ทางจำเป็นจากจำเลยอีก
ข้อบังคับของอาคารชุดโจทก์ระบุให้เจ้าของบ้านและบริวารหรือผู้มีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ทางเข้าออกซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางร่วมกับเจ้าของรวม แต่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าวด้วย แม้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 แต่จำเลยเป็นบุคคลภายนอก มิใช่เจ้าของรวมในอาคารชุดโจทก์ ทั้งการใช้ทางจำเป็นของจำเลยก็เป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่เป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม หากเจ้าของเดิมให้ความยินยอม
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดย ป.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาต จึงเป็นการที่จำเลยยึดถือครอบครองแทน ป.เมื่อมิใช่ ป.ได้ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้จำเลยยึดถือครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 ดังนั้นไม่ว่า ว.และโจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ จำเลยก็ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
of 12